โครงการพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษา (Re-inventing University) เป็นโครงการที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ได้เริ่มดำเนินการนำร่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน เพื่อต้องการให้สถาบันอุดมศึกษามีการปฏิรูประบบการบริหาร ปรับเปลี่ยนหลักสูตรและ การเรียนการสอนให้ทันสมัย เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม การผลิตกำลังคนคุณภาพสูง โดยการส่งเสริมสนับสนุนและจัดสรรงบประมาณให้สถาบันอุดมศึกษามีความเป็นเลิศตามจุดแข็งของสถาบันอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศ สร้างจุดต่างตามความถนัดและมีความหลากหลายตามพันธกิจและความเชี่ยวชาญ ภายใต้กลไก 5 แพลตฟอร์ม ได้แก่ 1) การพัฒนาคุณภาพ การเรียนการสอน 2) การพัฒนาและแสวงหาบุคลากร 3) ความเป็นนานาชาติ 4) การบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม 5) การสร้างแพลทฟอร์มความร่วมมือ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานเป็นสถาบันการอุดมศึกษา ที่อยู่ภายใต้กำกับของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงมีการดำเนินโครงการพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษา ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นต้นมา มีการจัดโครงการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชิงพื้นที่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพัฒนากำลังคนรองรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์
โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2567 มีการจัดกิจกรรมพัฒนากำลังคนและผู้ประกอบการเพื่อสังคมด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยถ่ายทอดฐานองค์ความรู้ทางธุรกิจ Smart Farming การตลาดสำหรับธุรกิจผลิตภัณฑ์ชุมชนและเทคนิคการค้าออนไลน์ การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว เสริมสร้างการพัฒนาผลิตภัณฑ์และวิสาหกิจชุมชน โดยเน้นฐานทุนวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พัฒนาบรรจุภัณฑ์ สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน และพัฒนานวัตกรรมและแอพพลิเคชั่นฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยสร้างสรรค์อัตลักษณ์ของชุมชนผ่านมิติของศิลปะการแสดงแขนง| ดุริยางคศิลป์ และนาฏศิลป์ พัฒนาแผนที่นำเที่ยวทางวัฒนธรรม (Cultural Mapping) และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชน
Impact
1. ตําบลบ้านขวาง อําเภอมหาราช จังหวดพระนครศรอยธยา รับผิดชอบโดยคณะบรหารธรกจเพื่อ สังคม มีผลการประเมิน SROI อยู่ที่ 1 : 2.07 เท่า สามารถอธิบายผลกระทบที่สําคัญ (Impact Dimension) คือ 1) ประชาชนในพื้นที่มีทักษะที่เพิ่มขึ้น ในด้านการประสานงาน/การทำงานในชุมชนเครือข่าย/การเมือง/ประชาธิปไตย ด้านการประกอบธุรกิจ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการ ด้านการตลาด และด้านนวัตกรรมเพื่อผลิตหรือบริโภคอย่างยั่งยืน 2) ประชาชนในพื้นที่มีการต่อยอดเป็นอาชีพ 3) วิสาหกิจชุมชน/กลุ่มอาชีพเกิดการพัฒนา/ยกระดับนวัตกรรม-ผลิตภัณฑ์ 4) วิสาหกิจชุมชน/กลุ่มอาชีพเกิดการนำไปสู่การขยายผล ส่งผลให้เกิดการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก นำไปสู่การมีเครือข่ายภาคี/โอกาสต่อยอดความร่วมมือ/ทุนสนับสนุน/ทรัพยากรต่อยอด และ 5) เกิดการพัฒนาโครงสร้างการทำงานร่วมกันในชุมชน ปรับปรุงกระบวนการ พฤติกรรม ระบบการทำงาน ส่งผลให้เกิดต้นแบบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในชุมชน
2. ตำบลพุทเลา อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รับผิดชอบโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มีผลการประเมิน SROI อยู่ที่ 1 : 1.87 เท่า สามารถอธิบายผลกระทบที่สำคัญ (Impact Dimension) คือ 1) ประชาชนในพื้นที่มีทักษะที่เพิ่มขึ้น ในด้านการประสานงาน/การทำงานในชุมชนเครือข่าย/การเมือง/ประชาธิปไตย ด้านการประกอบธุรกิจ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการ ด้านการตลาด และด้านนวัตกรรมเพื่อผลิตหรือบริโภคอย่างยั่งยืน 2) ประชาชนในพื้นที่ได้รับค่าจ้างในการดำเนินงาน 3) วิสาหกิจชุมชน/กลุ่มอาชีพเกิดการพัฒนา/ยกระดับนวัตกรรม-ผลิตภัณฑ์ 4) วิสาหกิจชุมชน/กลุ่มอาชีพเกิดการนำไปสู่การขยายผล ส่งผลให้เกิดการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก นำไปสู่การมีเครือข่ายภาคี/โอกาสต่อยอดความร่วมมือ/ทุนสนับสนุน/ทรัพยากรต่อยอด และ 5) เกิดการพัฒนาโครงสร้างการทำงานร่วมกันในชุมชน ปรับปรุงกระบวนการ พฤติกรรม ระบบการทำงาน ส่งผลให้เกิดต้นแบบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในชุมชน
3. ตำบลบ้านช้าง ตำบลโพสาวหาญ ตำบลหนองไม้ซุง อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รับผิดชอบโดยคณะเภสัชศาสตร์ มีผลการประเมิน SROI อยู่ที่ 1 : 2.71 เท่า สามารถอธิบายผลกระทบที่สำคัญ (Impact Dimension) คือ 1) ประชาชนในพื้นที่มีทักษะที่เพิ่มขึ้น ในด้านการประสานงาน/การทำงานในชุมชนเครือข่าย/การเมือง/ประชาธิปไตย ด้านการประกอบธุรกิจ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการ ด้านการตลาด และด้านนวัตกรรมเพื่อผลิตหรือบริโภคอย่างยั่งยืน 2) ประชาชนในพื้นที่ได้รับค่าจ้างในการดำเนินงาน 3) วิสาหกิจชุมชน/กลุ่มอาชีพเกิดการพัฒนา/ยกระดับนวัตกรรม-ผลิตภัณฑ์ 4) วิสาหกิจชุมชน/กลุ่มอาชีพเกิดการนำไปสู่การขยายผล ส่งผลให้เกิดการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก นำไปสู่การมีเครือข่ายภาคี/โอกาสต่อยอดความร่วมมือ/ทุนสนับสนุน/ทรัพยากรต่อยอด และ 5) เกิดการพัฒนาโครงสร้างการทำงานร่วมกันในชุมชน ปรับปรุงกระบวนการ พฤติกรรม ระบบการทำงาน ส่งผลให้เกิดต้นแบบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในชุมชน
4. ตำบลกระทุ่ม ตำบลบางนา ตำบลโรงช้าง ตำบลน้ำเต้า อำเภอมหาราช รับผิดชอบโดยคณะสังคมศาสตร์ มีผลการประเมิน SROI อยู่ที่ 1 : 2.21 เท่า สามารถอธิบายผลกระทบที่สำคัญ (Impact Dimension) คือ 1) ประชาชนในพื้นที่มีทักษะที่เพิ่มขึ้น ในด้านการประสานงาน/การทำงานในชุมชนเครือข่าย/การเมือง/ประชาธิปไตย ด้านการประกอบธุรกิจ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการ ด้านการตลาด และด้านนวัตกรรมเพื่อผลิตหรือบริโภคอย่างยั่งยืน 2) ประชาชนในพื้นที่ได้รับค่าจ้างในการดำเนินงาน 3) วิสาหกิจชุมชน/กลุ่มอาชีพเกิดการพัฒนา/ยกระดับนวัตกรรม-ผลิตภัณฑ์ 4) วิสาหกิจชุมชน/กลุ่มอาชีพเกิดการนำไปสู่การขยายผล ส่งผลให้เกิดการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก นำไปสู่การมีเครือข่ายภาคี/โอกาสต่อยอดความร่วมมือ/ทุนสนับสนุน/ทรัพยากรต่อยอด และ 5) เกิดการพัฒนาโครงสร้างการทำงานร่วมกันในชุมชน ปรับปรุงกระบวนการ พฤติกรรม ระบบการทำงาน ส่งผลให้เกิดต้นแบบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในชุมชน
5. ตำบลชายนา ตำบลมารวิชัย ตำบลบ้านแถว ตำบลสามตุ่ม อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รับผิดชอบโดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ มีผลการประเมิน SROI อยู่ที่ 1: 1.92 เท่า สามารถอธิบายผลกระทบที่สำคัญ (Impact Dimension) คือ 1) ประชาชนในพื้นที่มีทักษะที่เพิ่มขึ้น ในด้านการประสานงาน/การทำงานในชุมชนเครือข่าย/การเมือง/ประชาธิปไตย ด้านการประกอบธุรกิจ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการ ด้านการตลาด และด้านนวัตกรรมเพื่อผลิตหรือบริโภคอย่างยั่งยืน 2) ประชาชนในพื้นที่ได้รับค่าจ้างในการดำเนินงาน 3) วิสาหกิจชุมชน/กลุ่มอาชีพเกิดการพัฒนา/ยกระดับนวัตกรรม-ผลิตภัณฑ์ 4) วิสาหกิจชุมชน/กลุ่มอาชีพเกิดการนำไปสู่การขยายผล ส่งผลให้เกิดการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก นำไปสู่การมีเครือข่ายภาคี/โอกาสต่อยอดความร่วมมือ/ทุนสนับสนุน/ทรัพยากรต่อยอด และ 5) เกิดการพัฒนาโครงสร้างการทำงานร่วมกันในชุมชน ปรับปรุงกระบวนการ พฤติกรรม ระบบการทำงาน ส่งผลให้เกิดต้นแบบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในชุมชน
6. ตำบลหัวเวียง ตำบลหัวไผ่ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รับผิดชอบโดยวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มีผลการประเมิน SROI อยู่ที่ 1: 2.50 เท่า สามารถอธิบายผลกระทบที่สำคัญ (Impact Dimension) คือ 1) ประชาชนในพื้นที่มีทักษะที่เพิ่มขึ้น ในด้านการประสานงาน/การทำงานในชุมชนเครือข่าย/การเมือง/ประชาธิปไตย ด้านการประกอบธุรกิจ ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการ ด้านการตลาด และด้านนวัตกรรมเพื่อผลิตหรือบริโภคอย่างยั่งยืน 2) ประชาชนในพื้นที่ได้รับค่าจ้างในการดำเนินงาน 3) วิสาหกิจชุมชน/กลุ่มอาชีพเกิดการพัฒนา/ยกระดับนวัตกรรม-ผลิตภัณฑ์ 4) วิสาหกิจชุมชน/กลุ่มอาชีพเกิดการนำไปสู่การขยายผล ส่งผลให้เกิดการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จัก นำไปสู่การมีเครือข่ายภาคี/โอกาสต่อยอดความร่วมมือ/ทุนสนับสนุน/ทรัพยากรต่อยอด และ 5) เกิดการพัฒนาโครงสร้างการทำงานร่วมกันในชุมชน ปรับปรุงกระบวนการ พฤติกรรม ระบบการทำงาน ส่งผลให้เกิดต้นแบบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในชุมชน
BY Social Service Office, Srinakharinwirot
University
Related articles: