Log In
bg

SDG 5: (5.6.3) Maternity and paternity policies

ประกาศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการลาของพนักงานมหาวิทยาลัย

อาศัยอำนาจตามความในข้อ 10 (1) ข้อ 22 (2) และข้อ 43 ของข้อบังคับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2559 ประกอบกับมติคณะกรรมการบริหารงานบุคค มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการประชุมครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 จึงออกประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการลาให้ได้รับเงินเดือน ได้รับเงินเดือนบางส่วน หรือไม่ได้รับเงินเดือนระหว่างลาของพนักงานมหาวิทยาลัย ไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการลาของพนักงานมหาวิทยาลัย"

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

ข้อ 3 ในประกาศนี้
"มหาวิทยาลัย หมายความว่า มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
"ส่วนงาน" หมายความว่า ส่วนงานของมหาวิทยาลัย ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2559
"อธิการบดี" หมายความว่า อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
"พนักงานมหาวิทยาลัย" หมายความว่า พนักงานมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวีโรต ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล
"รอบการประเมิน" หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม ของปีหนึ่งถึงวันที่ 31 กรกฎาคมของปีถัดไป

ข้อ 4 พนักงานมหาวิทยาลัยลาหยุดงานได้ตามประเภทการลาที่กำหนดไว้ในประกาศนี้และโดยอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา ดังต่อไปนี้
(1) การลาป่วย
(2) การลาคลอดบุตร และการลาเลี้ยงดูบุตร
(3) การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
(4) การลากิจส่วนตัว
(5) การลาพักผ่อนประจำปี
(6) การลาอุปสมบทหรือลาเพื่อประกอบพิธีฮัจย์ หรือลาไปปฏิบัติธรรมตามมติคณะรัฐมนตรี
(7) การลาเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล

ข้อ 5 การนับวันลาตามประกาศฉบับนี้ ให้นับตามรอบการประเมิน และให้คำนวณ 1 ปี เท่ากับ 365 วัน

ข้อ 6 การลาป่วย พนักงานมหาวิทยาลัยมีสิทธิลาป่วยได้รอบการประเมินปีละไม่เกิน 15 วันทำการโดยได้รับค่าจ้าง กรณีลาป่วยเนื่องจากต้องพักรักษาตัวเป็นเวลานานตามความเห็นของแพทย์ เมื่อรวมกับลาป่วยปกติ ต้องไม่เกิน 120 วัน โดยได้รับค่าจ้าง ผู้ที่ได้รับการบรรจุถึงวันที่ 31 กรกฎาคม มีเวลาปฏิบัติงานไม่ถึง 1 ปีรอบการประเมินเต็ม ให้มีสิทธิลาป่วยได้ตามสัดส่วน ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(1) ให้จัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลา เว้นแต่ในกรณีจำเป็นจะเสนอใบลาในวันแรกที่มาปฏิบัติงานก็ได้ กรณีที่มีอาการป่วยจนไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้จะให้ผู้อื่นเสนอใบลาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้ ให้ส่งใบลาโดยเร็ว
(2) การลาป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแนบกับใบลา ในกรณีจำเป็นหรือเห็นสมควรผู้มีอำนาจอนุญาตจะสั่งให้ใช้ใบรับรองของแพทย์ซึ่งผู้มีอำนาจอนุญาตเห็นชอบแทนก็ได้

ข้อ 7 การลาคลอดบุตร และการลาเลี้ยงดูบุตร พนักงานมหาวิทยาลัยลาคลอดได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน 90 วัน โดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างลา ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(1) ให้จัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต ก่อนคลอดหรือวันที่คลอดหรือหลังคลอด (ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 90 วัน) เว้นแต่ไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้จะให้ผู้อื่นเสนอใบลาก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้ให้ส่งใบลาโดยเร็ว
(2) การลาคลอดบุตรที่คาบเกี่ยวกับการลาประเภทใด ซึ่งยังไม่ครบกำหนดวันลาของการลาประเภทนั้น ให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลง และให้นับเป็นการลาคลอดบุตรตั้งแต่วันเริ่มคลอดบุตร
(3) เมื่อได้รับอนุญาตให้ลาคลอดบุตรและได้หยุดงานไปแล้ว แต่ไม่ได้คลอดตามกำหนดให้ถอนวันลาคลอดบุตรที่หยุดไปได้ โดยให้ถือเป็นการลากิจส่วนตัว
(4) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ลาคลอดบุตรแล้ว ประสงค์จะลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้อีกไม่เกิน 90 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้างระหว่างลา

ข้อ 8 การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(1) พนักงานมหาวิทยาลัยมีสิทธิลาไปช่วยเหลือภริยาตามกฎหมายที่คลอดบุตรครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 15 วันทำการ สำหรับบุตรหนึ่งคน โดยได้รับค่าจ้างระหว่างลา
(2) ให้จัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต ก่อนหรือในวันที่ลาภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ภริยาคลอดบุตร
(3) อาจให้ผู้ลาต้องยื่นแสดงหลักฐานพร้อมใบลาเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตด้วยก็ได้

ข้อ 9 การลากิจส่วนตัว พนักงานมหาวิทยาลัยลากิจส่วนตัวได้รอบการประเมินปีละไม่เกิน 15 วันทำการ โดยได้รับค่าจ้าง ผู้ที่ได้รับการบรรจุถึงวันที่ 31 กรกฎาคม มีเวลาปฏิบัติงานไม่ถึง 1 ปีรอบการประเมินเต็ม ให้มีสิทธิลากิจส่วนตัวได้ตามสัดส่วน ให้ถือปฏิบัติดังนี้
(1) ให้จัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำคับ จนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต และเมื่อได้รับอนุญาตจึงจะหยุดงานได้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่อาจรอรับอนุญาตได้ทัน ให้ส่งบลาพร้อมชี้แจงเหตุผลระบุความจำเป็นไว้ แล้วให้หยุดงานไปก่อนได้ในกรณีที่มีเหตุพิเศษไม่สามารถดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้ให้จัดส่งใบลาพร้อมชี้แจงเหตุผลระบุความจำเป็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตทันทีในวันแรกที่มาปฏิบัติงาน
(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัวด้วยเหตุอื่นๆ ซึ่งหยุดงานไปยังไม่ครบกำหนดถ้ามีงานจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้น ผู้บังคับบัญซาหรือผู้มีอำนาจจะเรียกตัวมาปฏิบัติงานก็ได้

ข้อ 10 การลาพักผ่อน ได้แก่การลาหยุดงานเพื่อพักผ่อนประจำปี โดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างลาดังนี้
(1) การลาพักผ่อนประจำปี พนักงานมหาวิทยาลัยลาได้รอบการประเมินปีละ 10 วันทำการ เว้นแต่ผู้ได้รับการบรรจุเข้าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยในปีรอบการประเมินนั้นไม่ถึง 6 เดือน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปี
(2) ถ้าในรอบการประเมินใดพนักงานมหาวิทยาลัยผู้ใดมิได้ลาพักผ่อนหรือลาพักผ่อนแล้ว แต่ไม่ครบ 10 วันทำการ ให้นำวันลาที่ยังเหลืออยู่มาสะสมในปีต่อไปได้ แต่วันลาพักผ่อนสะสมรวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันจะต้องไม่เกิน 20 วันทำการสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้ปฏิบัติงานติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ให้มีสิทธินำวันลาพักผ่อนสะสมรวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันได้ไม่เกิน 30 วันทำการพนักงานมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการ ให้มีสิทธินำวันลาพักผ่อนสะสมและนับวันมาปฏิบัติงานต่อจากข้าราชการ

ข้อ 11 การลาอุปสมบทหรือลาเพื่อประกอบพิธีฮัจย์ หรือลาไปปฏิบัติธรรมตามมติคณะรัฐมนตรี
ดังนี้
- การลาอุปสมบท เป็นการลาหยุดงานของพนักงานมหาวิทยาลัยที่เป็นชายซึ่งนับถือศาสนาพุทธ เพื่อไปอุปสมบท มีสิทธิลาได้ไม่เกิน 120 วัน ตลอดอายุงานลาได้เพียงครั้งเดียว โดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างลา
- การลาไปประกอบพิธีฮัจย์ เป็นการลาหยุดงานของพนักงานมหาวิทยาลัยซึ่งนับถือศาสนาอิสลามและประสงค์จะไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศชซาอุดิอาระเบีย มีสิทธิลาได้ไม่เกิน 120วัน ตลอดอายุงานลาได้เพียงครั้งเดียว โดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างลา
- การลาไปปฏิบัติธรรมตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2550 เป็นการลาหยุดงานของพนักงานมหาวิทยาลัยที่เป็นสตรีซึ่งนับถือศาสนาพุทธ เพื่อไปถือศีลและปฏิบัติธรรม ในสำนักปฏิบัติธรรมที่สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติรับรอง มีสิทธิลาได้ตลอดอายุงานเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 30 วัน แต่ไม่เกิน 90 วัน ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาก่อน โดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างลา
ชั้นตอนการลาให้ถือปฏิบัติดังนี้
(1) การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ให้ลาได้เฉพาะผู้ที่ไม่เคยอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หรือผู้ที่ยังไม่เคยไปปะกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุติอาระเบีย โดผู้ลายื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดวันที่จะลาไม่น้อยกว่า 60 วัน และการลาไปปฏิบัติธรรมตามมติคณะรัฐมนตรี ผู้ลาต้องยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดวันที่จะลา ไม่น้อยกว่า 30 วัน
(2) กรณีที่มีเหตุพิเศษที่ไม่สามารถดำเนินการตาม (1) ได้ ให้จัดส่งใบลาพร้อมขี้แจงเหตุผลระบุความจำเป็นต่อผู้บังคับบัญชา และให้เป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาจะพิจารณาให้ลาหรือไม่ก็ได้
(3) ผู้ได้รับอนุญาตให้ลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ จะต้องอุปสมบทหรือออกเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ แล้วแต่กรณีภายใน 10 วัน นับแต่วันที่เริ่มลาและจะต้องกลับมารายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติงานภายใน 5 วัน นับแต่วันลาสิกขาหรือวันเดินทางกลับถึงประเทศไทย ทั้งนี้ จะต้องนับรวมอยู่ภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตการลา
(4) การลาอุปสมบท หรือการลาไปถือศีลปฏิบัติธรรม เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการลา ผู้ลาจะต้องขอรับวุฒิบัตรหรือหนังสือรับรองจากวัดหรือสำนักปฏิบัติธรรมที่สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติรับรอง มาแสดงต่อผู้บังคับบัญชาด้วย
(5) ในกรณีที่ผู้ลาได้รับอนุญาตให้หยุดงานไปแล้ว หากมีปัญหาอุปสรรคทำให้ไม่สามารถอุปสมบทหรือไม่สามารถเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ หรือไม่สามารถเดินทางไปถือศีลปฏิบัติธรรมได้ ให้รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติงานและถอนวันลา โดยถือวันที่หยุดงานไปแล้วเป็นวันลากิจส่วนตัวพนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้รับการบรรจุในปีรอบการประเมินนั้น ไม่ถึง 6 เดือน ไม่ให้มีสิทธิลาตามประเภทที่กำหนดในข้อ 11

ข้อ 12 การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล นักงานมหาวิทยาลัยมีสิทธิลาได้ตลอดระยะเวลาที่ทางราชการทหารกำหนด
- การลาเข้ารับการตรวจเลือก เป็นการลาหยุดงานเพื่อเข้ารับการตรวจเลือกเพื่อรับราชการเป็นทหารกองประจำการ
- การลาเข้ารับการเตรียมพล เป็นการลาหยุดงานเพื่อเข้ารับการระดมพลเข้ารับการตรวจสอบพลเข้ารับการฝึกวิชาทหาร หรือเข้ารับการทดลองความพรั่งพร้อมตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร
ขั้นตอนการลาให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
(1) เมื่อได้รับหมายเรียกเข้ารับการตรวจเลือกหรือหมายเรียกเข้ารับการเตรียมพล ให้รายงานพร้อมยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันเข้ารับการตรวจเลือกไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง นับแต่เวลารับหมายเรียกและให้ไปรับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ดามวัน เวลา ในหมายเรียกนั้น โดยไม่ต้องรออนุญาต และให้ผู้บังคับบัญชารายงานตามลำดับต่อผู้มีอำนาจอนุญาต
(2) เมื่อพ้นจากการเข้ารับการตรวจเลือกหรือพ้นจากการเข้ารับเตรียมพล ให้ผู้ลารายงานตัวต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อขอกลับเข้าปฏิบัติงานตามปกติภายใน 7 วัน นับแต่วันพ้นจากการดังกล่าว เว้นแต่มีเหตุจำเป็นให้รายงานตัวเพื่อขอกลับเข้าปฏิบัติงานได้หลัง 7 วัน แต่ต้องไม่เกิน 15 วันนับแต่วันพ้นจากการดังกล่าว

ข้อ 13 การลาของพนักงานมหาวิทยาลัย นอกจากที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ให้หัวหน้าส่วนงานกำหนดและจัดทำเป็นประกาศเมื่อได้คำนวณเวลาทำงานรวมกันในสัปดาห์หนึ่ง ๆ แล้วต้องไม่น้อยกว่า 35 ชั่วโมง

ข้อ 14 การอนุญาตการลาในประเภทต่างๆ ตามประกาศนี้ ให้เป็นอำนาจของอธิการบดีหรือตามที่อธิการบดีมอบหมาย สำหรับการลาที่มิได้มีกำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้เป็นอำนาจของอธิการบดี

ข้อ 15 การลาที่ไม่ได้กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยตามที่คณะกรรมการบริหารงานบุคคลมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กำหนดให้เป็นอำนาจของอธิการบดีที่จะวินิจฉัยหรือพิจารณาสั่งการ และให้การวินิจฉัยสั่งการนั้นเป็นที่สุด

ข้อ 16 ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้ หรือการใดที่มิได้กำหนดไว้ในประกาศนี้ให้เป็นอำนาจของอธิการบดีที่จะวินิจฉัยหรือพิจารณาสั่งการ และให้การวินิจฉัยสั่งการนั้นเป็นที่สุด

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
(Update: วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2560)