bg

20Th International Junior Science Olympiad (Ijso)

Target Indicator Result
การศึกษาที่เท่าเทียม
SDG 4 QUALITY EDUCATION
Caveat

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดการแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครั้งที่ 20 พ.ศ. 2566 (20th International Junior Science Olympiad) โดยมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ซึ่งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานกรรมการมูลนิธิฯ เพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณูประการ และสำนึกในพระกรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ที่ทรงมีต่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของประเทศนานัปการ เนื่องในโอกาสครบ 100 ปี วันประสูติ ในปี พ.ศ. 2566 ซึ่งองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) มีมติเห็นชอบอย่างเป็นทางการในการประกาศยกย่องให้ท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลกที่มีผลงานดีเด่นและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ การจัดการแข่งขันฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้แสดงความสามารถด้านปัญญา พัฒนาศักยภาพของตนเองให้สูงขึ้นทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ และมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกับผู้แทนเยาวชน และอาจารย์ผู้สอน รวมทั้งเผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของประเทศไทยให้เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ และกระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศด้านวิชาการ และทำให้การเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์เป็นที่สนใจของเยาวชนและนักวิชาการซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตร ระบบการเรียนการสอน และการวิจัยที่จะช่วยในการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการของประเทศ โดยการแข่งขันฯ ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน - 9 ธันวาคม 2566 โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการแข่งขันวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครั้งที่ 20

ในวันที่ 1 ธันวาคม 2566 ในการแข่งขันประกอบด้วยการสอบ Multiple Choice Questions (MCQ) ภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติการ มีผู้เข้าร่วมแข่งขันจาก 55 ประเทศทั่วโลก แบ่งเป็น นักเรียนผู้เข้าร่วมแข่งขัน 311 คน อาจารย์ผู้นำทีม 152 คน อาจารย์ผู้สังเกตการณ์ 26 คน และมีคณะทำงานในฝ่ายต่าง ๆ โดยมีรายละเอียดการจัดการแข่งขันฯ ดังนี้
1. สถานที่จัดพิธีเปิด คือ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิด)
2. สถานที่จัดการแข่งขันภาคปฏิบัติการ คือ อาคาร 19 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
3. สถานที่จัดการแข่งขันภาคทฤษฎี สถานที่พักของนักเรียนผู้เข้าแข่งขัน และ สถานที่จัดพิธีปิด คือ โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพฯ
4. สถานที่พักและประชุมข้อสอบของอาจารย์ผู้คุมทีม คือ โรงแรมอโนมา แกรนด์

Impact Level
Impact

Faculty of Science
Mr. Sanya Palun
4 Nov 24 11:08