Target | Indicator | Result |
---|---|---|
![]()
SDG 4
QUALITY EDUCATION
|
||
4.4 By 2030, substantially increase the number of youth and adults who have relevant skills, including technical and vocational skills, for employment, decent jobs and entrepreneurship | 4.4.1 Proportion of youth and adults with information and communications technology (ICT) skills, by type of skill | นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยการอาชีพมหาราช อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 60 ราย โดยมีหลักสูตรการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการและการเป็นนักประเมินผลกระทบทางสังคม โดยการนำหลักสูตรการประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment: SIA) และการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment: SROI) มาใช้ในการพัฒนาทักษะให้แก่นักเรียน ผลการประเมิน SROI ของกิจกรรมอยู่ที่ 1:1.23 เท่า |
4.7 By 2030, ensure that all learners acquire the knowledge and skills needed to promote sustainable development, including, among others, through education for sustainable development and sustainable lifestyles, human rights, gender equality, promotion of a culture of peace and non-violence, global citizenship and appreciation of cultural diversity and of culture's contribution to sustainable development | 4.7.1 Extent to which (i) global citizenship education and (ii) education for sustainable development, including gender equality and human rights, are mainstreamed at all levels in (a) national education policies; (b) curricula; (c) teacher education; and (d) student assessment | นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยการอาชีพมหาราช อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 60 ราย โดยมีหลักสูตรการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการและการเป็นนักประเมินผลกระทบทางสังคม โดยการนำหลักสูตรการประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment: SIA) และการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment: SROI) มาใช้ในการพัฒนาทักษะให้แก่นักเรียน ผลการประเมิน SROI ของกิจกรรมอยู่ที่ 1:1.23 เท่า |
โครงการพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษา (Re-inventing University) เป็นโครงการที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ได้เริ่มดำเนินการนำร่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน เพื่อต้องการให้สถาบันอุดมศึกษามีการปฏิรูประบบการบริหาร ปรับเปลี่ยนหลักสูตรและ การเรียนการสอนให้ทันสมัย เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม การผลิตกำลังคนคุณภาพสูง โดยการส่งเสริมสนับสนุนและจัดสรรงบประมาณให้สถาบันอุดมศึกษามีความเป็นเลิศตามจุดแข็งของสถาบันอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศ สร้างจุดต่างตามความถนัดและมีความหลากหลายตามพันธกิจและความเชี่ยวชาญ ภายใต้กลไก 5 แพลตฟอร์ม ได้แก่ 1) การพัฒนาคุณภาพ การเรียนการสอน 2) การพัฒนาและแสวงหาบุคลากร 3) ความเป็นนานาชาติ 4) การบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม 5) การสร้างแพลทฟอร์มความร่วมมือ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในฐานเป็นสถาบันการอุดมศึกษา ที่อยู่ภายใต้กำกับของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงมีการดำเนินโครงการพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษา ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นต้นมา มีการจัดโครงการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชิงพื้นที่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และพัฒนากำลังคนรองรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์
โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2567 มีการจัดกิจกรรมพัฒนากำลังคนและผู้ประกอบการเพื่อสังคมด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยถ่ายทอดฐานองค์ความรู้ทางธุรกิจ Smart Farming การตลาดสำหรับธุรกิจผลิตภัณฑ์ชุมชนและเทคนิคการค้าออนไลน์ การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว เสริมสร้างการพัฒนาผลิตภัณฑ์และวิสาหกิจชุมชน โดยเน้นฐานทุนวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พัฒนาบรรจุภัณฑ์ สร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน และพัฒนานวัตกรรมและแอพพลิเคชั่นฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน เสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยสร้างสรรค์อัตลักษณ์ของชุมชนผ่านมิติของศิลปะการแสดงแขนง| ดุริยางคศิลป์ และนาฏศิลป์ พัฒนาแผนที่นำเที่ยวทางวัฒนธรรม (Cultural Mapping) และจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชน
คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการ โดยมีการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะ (Upskill) ให้แก่นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยการอาชีพมหาราช อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 60 ราย โดยมีหลักสูตรการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการและการเป็นนักประเมินผลกระทบทางสังคม โดยการนำหลักสูตรการประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment: SIA) และการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment: SROI) มาใช้ในการพัฒนาทักษะให้แก่นักเรียน
นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยการอาชีพมหาราช อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 60 ราย ได้รับการพัฒนาทักษะ (Upskill) หลักสูตรการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการและการเป็นนักประเมินผลกระทบทางสังคม โดยการนำหลักสูตรการประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment: SIA) และการประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment: SROI) ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง