Target | Indicator | Result |
---|---|---|
SDG 1
NO POVERTY
|
||
1.2 By 2030, reduce at least by half the proportion of men, women and children of all ages living in poverty in all its dimensions according to national definitions | 1.2.2 Proportion of men, women and children of all ages living in poverty in all its dimensions according to national definitions | มีการส่งเสริมการสร้างรายได้ในเยาวชนในชุมชนสอดคล้องกับเป้าหมายที่ 1 ขจัดความยากจนทุกรูปแบบในทุกพื้นที่ ผ่านกิจกรรมอบรมยุวมัคคุเทศก์เพื่อส่งเสริมการสร้างรายได้ในเยาวชนในชุมชน |
SDG 4
QUALITY EDUCATION
|
||
4.3 By 2030, ensure equal access for all women and men to affordable and quality technical, vocational and tertiary education, including university | 4.3.1 Participation rate of youth and adults in formal and non-formal education and training in the previous 12 months, by sex | สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต |
SDG 8
DECENT WORK AND ECONOMIC GROWTH
|
||
8.2 Achieve higher levels of economic productivity through diversification, technological upgrading and innovation, including through a focus on high-value added and labour-intensive sectors | 8.2.1 Annual growth rate of real GDP per employed person | มีการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน ผ่านกิจกรรมการอบรม และฝึกปฎิบัติการภาคสนาม ผ่านการถ่ายทอดทักษะการเป็นมัคคุเทศก์ จากวิทยากรผู้มีความรู้มีความสามารถ และมีประสบการณ์ |
SDG 15
LIFE ON LAND
|
||
15.1 By 2020, ensure the conservation, restoration and sustainable use of terrestrial and inland freshwater ecosystems and their services, in particular forests, wetlands, mountains and drylands, in line with obligations under international agreements | 15.1.2 Proportion of important sites for terrestrial and freshwater biodiversity that are covered by protected areas, by ecosystem type | มีการปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านกิจกรรมฝึกปฏิบัติงานด้านมัคคุเทศก์ภายในสถานที่ท่องเที่ยวจริง โดยตระหนักในคุณค่า ความสำคัญของศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรม |
โครงการฝึกอบรมการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน : อบรมเชิงปฏิบัติการยุวมัคคุเทศก์และเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมชุมชนบางลำพู ดำเนินการฝึกอบรมในวันที่ 25 – 29 เมษายน 2566 และวันที่ 20 พฤษภาคม 2566 ณ ชุมชนบางลำพู เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร, ห้องประชุมสถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย ชั้น 19 อาคารนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และสวนนงนุช จังหวัดชลบุรี เพื่อสร้างยุวอาสาสำหรับเผยแพร่อัตลักษณ์ชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการถ่ายทอดทักษะการเป็นมัคคุเทศก์ จากวิทยากรผู้มีความรู้มีความสามารถ และมีประสบการณ์ เยาวชนได้เข้าร่วมศึกษาเรียนรู้ และฝึกปฎิบัติการภาคสนามในแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบของประเทศไทย อีกทั้งนิสิตได้เรียนรู้กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้และสร้างโอกาสให้แก่ชุมชนจากการเชื่อมโยงกับรายวิชา หลักการมัคคุเทศ
ได้ดำเนินกิจกรรมบริการวิชาการต่อยอดองค์ความรู้ด้านการเป็นยุวมัคคุเทศก์ของเยาวชนในชุมชนบางลำพู กรุงเทพมหานคร โดยเยาวชนในชุมชนได้ศึกษาทรัพยากรทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ ของท้องถิ่นตนเอง และชุมชนใกล้เคียง ในรูปแบบของการจัดค่ายฝึกอบรมกระบวนการนำเที่ยว และหลักการนำเที่ยว เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ ถ่ายทอดความรู้เชิงนิเวศและการฝึกปฏิบัติการนำชมแหล่งท่องเที่ยวจริง ได้ความรู้ด้านยุวมัคคุเทศก์และเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ เป็นโอกาศให้หน่วยงานและชุมชนมีความเข้าใจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บนพื้นฐานของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการอบรม อีกทั้งนิสิตเรียนรู้และมีประสบการณ์กระบวนการถ่ายทอดและสร้างโอกาสให้แก่ชุมชนเชื่อมโยงกับรายวิชาในหลักสูตร