Target | Indicator | Result |
---|---|---|
SDG 4
QUALITY EDUCATION
|
วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างโรงเรียนแกนนำในการพัฒนาและใช้หลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมคุณลักษณและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
2) เพื่อพัฒนาครูในโรงเรียนแกนนำให้สามารถพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมคุณลักษณและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
3) เพื่อส่งเสริมเจตคติที่ดีต่อการเรียนสะเต็มและพัฒนาคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักเรียน
ผลการดำเนินงาน
1. ผู้เข้าร้วมโครงการเห็นว่าการจัดกิจรรมมีประโยชน์และสารมารถนำไปปรับใช้กับทางโรงเรียนได้เป็นอย่างมาก ค่าเฉลี่ย 91.7%
2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถร่างหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรในแต่ละระดับชั้น จำนวน 5 ระดับชั้น ได้แก่ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
3. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในเกณฑ์ดีและดีมาก ค่าเฉี่ย 91.60%
สรุป
โครงการการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชนด้วยแนวทางการจัดการเรียนรู้ STEM + STEM2 แบ่งออกเป็นจำนวน 2 กิจกรรม ดังนี้
1) กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1.1 การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฯ
1.2 การติดตามผลการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ฯ
2) กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้สะเต็มศึกษาสำหรับเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล
กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 วันที่ 7-11 เมษายน 2562 ณ โรงแรมสเตชั่นวัน อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
สำหรับกิจกรรมนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างคณาจารย์และนิสิตศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 จังหวัดสระแก้ว และโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 เพื่อจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ของจังหวัดสระแก้วพร้อมกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน โดยใช้นวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการสะเต็มกำลังสอง (STEM2) ที่นักเรียนจะได้เรียนรู้บูรณาการตัวชี้วัดของทั้ง 8 สาระวิชา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) โดยมีผู้บริหารและครูที่สนใจเป็นโรงเรียนต้นแบบเข้าร่วมพัฒนาหลักสูตรและใช้หลักสูตรจำนวน 7 โรง ได้แก่ โรงเรียนบ้านท่าเกวียน โรงเรียนบ้านโคกสามัคคี โรงเรียนอนุบาลศรีวัฒนาวิทยาลัย โรงเรียนบ้านวังรี โรงเรียนบ้านเนินสะอาด โรงเรียนบ้านหนองปรือ โรงเรียนบ้านโคคลาน ซึ่งได้กำหนดข้อตกลงร่วมกันระหว่างศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ และโรงเรียนในการพัฒนาและนำหลักสูตรไปใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 ปี กิจกรรมนี้ มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 74 คน ประกอบไปด้วย คณาจารย์เจ้าหน้าที่ และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ ผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาจากเขตพื้นที่การศึกษา และจากโรงเรียนจำนวน 7 โรง รู้และให้เหมาะสมกับบริบทของทางพื้นที่เพื่อทีจะนำไปใช้กับทางโรงเรียน โดยแบ่งเป็นจำนวน 2 ครั้ง
- ครั้งที่ 1 วันที่ 1-2 มิถุนายน 2562 ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 2 มีผู้เข้าร่วมจำนวน 47 คน
- ครั้งที่ 2 วันที่ 14-15 มิถุนายน 2562 ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 2 มีผู้เข้าร่วมจำนวน 26 คน
จากผลการดำเนินการในกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมคุณลักษณและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทำให้ได้หลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ของท้องถิ่นและพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน ชุด“ของดีเมืองสระแก้ว” จำนวน 5 หลักสูตร ดังนี้
1) ดอกไม้ข้าวโพดของฉันกับวันสำคัญทางศาสนา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
2) มรดกโลกทางธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติปางสีดา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
3) ฤ ปางสีดา มีที่มาจากชื่อนางในวรรณคดีไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
4) ข้าวหลามวัฒนา ปลอดภัย ได้คุณค่า สดุดตา สดุดใจ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
5) เที่ยวสุขใจ ไปตลาดโรงเกลือ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ซึ่งในปีงบประมาณ 2562 ทางเขตพื้นที่การศึกษา ฯ และทางโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีความต้องการที่จะพัฒนาหลักสูตรให้ครบทุกระดับชั้น
กิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียรู้สะเต็มศึกษาสำหรับเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล วันที่ 12-16 ธันวาคม 2561 ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
ศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ ได้ดำเนินการร่วมกับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 และโรงเรียนสาธิตชุมชนการเรียนรู้สมเด็จย่า วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มศว แม่แจ่ม จัดฐานกิจกรรมสะเต็มศึกษา โดยใช้ชื่อกิจกรรมว่า "สะเต็มหรรษา" ลักษณะของการจัดกิจกรรมเป็นการเน้นการออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่ประยุกต์ใช้องค์ควารู้ทางด้านสะเต็มเพื่อเสริมสร้างและส่งเสริมศักยภาพและความรู้ทางด้านสะเต็มและคุณลักษณธและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจัดกิจกรรมเป็นฐานการเรียนรู้ ผู้นำกิจกรรมของแต่ละฐาน คือ อาจารย์ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 619 คน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย 95.39% ทั้งนี้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ STEM มีส่วนให้นักเรียนเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มากขึ้น แล้วยังเสริมสร้างให้ครูได้รับการพัฒนาตนเอง โดยสามารถนำรูปแบบการจัดกิจกรรมไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
สามารถสร้างหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนรู้สำหรับหลักสูตรในแต่ละระดับชั้น จำนวน 5 ระดับชั้น ได้แก่ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
โดยหลักสูตรที่ได้รับการพัฒนานั้นส่งเสริมคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21