Log In
bg

การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลของการส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในชุมชน (Cost-Effectiveness Analysis Of A Community Health Promotion And Nutrition Program For An Aging Society)

Target Indicator Result
มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
SDG 3 GOOD HEALTH AND WELL-BEING
3.c Substantially increase health financing and the recruitment, development, training and retention of the health workforce in developing countries, especially in least developed countries and small island developing States 3.c.1 Health worker density and distribution
Caveat

คณะเศรษฐศาสตร์ ได้มีความร่วมมือระหว่างคณะพลศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรหมเพชร โดยประชากรที่ใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของการส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในชุมชน และผลจากการสำรวจในพื้นที่ ตำบลโคกกรวด อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก พบว่า จำนวนประชากรที่พักอาศัยอยู่จริงทุกช่วงอายุ มีจำนวน 1,961 คน ประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีจำนวน 1,188 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60.58 ของประชากรทั้งหมดในพื้นที่ ดังนั้น กลุ่ม 40 ปีขึ้นไปที่จึงนับว่า เป็นกลุ่มตัวแทนในชุมชนได้เป็นอย่างดี การวิจัยในครั้งนี้ได้คัดเลือกตัวแทนทั้งสิ้น จำนวน 90 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.5 ของประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มส่งเสริมสุขภาพฯ 30 คน กลุ่มโภชนาการ 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน ผ่านโปรแกรม “ส่งเสริมสุขภาพโดยการออกกำลังกายเหมาะสมวัย” และโปรแกรม “โภชนาการดีสมวัยห่างไกลโรค” โดยมีการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับกลุ่มทดลองในแต่ละกลุ่ม ระยะเวลา 12 สัปดาห์ๆ ละ 1 ครั้ง โดยสัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 12 กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการประเมินภาวะสุขภาพก่อนและหลังการเข้าร่วมตามลำดับ กลุ่มทดลองได้รับการประเมินภาวะสุขภาพ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และวัดความดันโลหิต และแจ้งกลุ่มตัวอย่างให้มาเจาะเลือดตามนัด ก่อนและหลังเข้าร่วม เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ 5 รายการ ได้แก่ เจาะเลือดเพื่อหาค่าระดับน้ำตาลในเลือด คอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอร์ไรด์ ไขมันดี และไขมันเลว ผู้วิจัยนำผลการเปลี่ยนแปลงทางภาวะสุขภาพมาหาค่าความแตกต่าง ก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการของกลุ่มทดลองแต่ละกลุ่ม โดยเปรียบเทียบค่าความแตกต่างในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทั้งนี้ เพื่อศึกษาหาแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพฯและโภชนาการที่เหมาะสมกับคนในชุมชน

Impact Level
Impact

“การวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลของการส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในชุมชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจภาวะสุขภาพและโภชนาการของคนในชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย วิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลของแต่ละวิธีการในการส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการ และศึกษาหาแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการที่เหมาะสมกับคนในชุมชน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษารวม 78 ราย เป็นกลุ่มผู้สูงอายุและกำลังจะเข้าสู่ผู้สูงอายุในตำบลโคกกรวด อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก และแบ่งกลุ่มที่ศึกษาออก 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย กลุ่มที่ดูแลทางด้านอาหารและโภชนาการ และกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มที่เข้าร่วมการทดลองทั้งการส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการนั้นจะเข้าร่วมกิจกรรมรวม 12 ครั้ง และประเมินผลของภาวะสุขภาพก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม และประเมินผลเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม และการวัดประสิทธิผลของการส่งเสริมสุขภาพ และโภชนาการจะพิจารณาจากการวัดน้ำหนักตัว เส้นรอบเอว ค่าดัชนีมวลกาย และผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบตัวแปรสองกลุ่มที่มีความเป็นอิสระต่อกันและไม่เป็นอิสระต่อกัน และต้นทุน-ประสิทธิผล
ผลการศึกษาพบว่าภาวะโรคอ้วนจะเป็นปัญหาที่ประสบมาเป็นอันดับหนึ่งในชุมชน รองลงมาคือโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคข้อเสื่อม โรคไขมันในเลือดสูง โรคภาวะสมองเสื่อม และโรคหลอดลมอักเสบ ส่วนความรู้ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุนั้น คนในชุมชนส่วนใหญ่มีความรู้ และพฤติกรรมในระดับดีมาก หลังสิ้นสุดโครงการพบว่าเครื่องชี้วัดภาวะสุขภาพอันเกิดจากการส่งเสริมสุขภาพจะส่งผลต่อการลดน้ำหนักตัว การลดเส้นรอบเอว การลดค่าดัชนีมวลกาย การลดระดับความดันโลหิต การลดคอเลสเตอรอล และการเพิ่มไขมันดี ในทำนองเดียวกันเครื่องชี้วัดภาวะสุขภาพอันเกิดจากการดูแลด้านโภชนาการจะเหมือนกับการส่งเสริมสุขภาพ ยกเว้นการเพิ่มไขมันดีเท่านั้น โดยต้นทุน-ประสิทธิผลของการส่งเสริมสุขภาพต่อหน่วยของเครื่องชี้วัดสุขภาพเท่ากับ 48,960.50 บาท และของโภชนาการเท่ากับ 63,711.02 บาท ขณะที่ต้นทุน-ประสิทธิผลของการส่งเสริมสุขภาพต่อหน่วยของจำนวนผู้เข้ารับการอบรมเท่ากับ 24,480.25 บาท และของโภชนาการเท่ากับ 24,504.31 บาท ทั้งนี้เห็นว่าแนวทางที่บรรลุผลและเสียต้นทุนต่ำกว่าคือการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย อย่างไรก็ตามหากทำควบคู่กันไปทั้งสองแนวทาง คือ ทั้งออกกำลังกาย และดูแลด้านโภชนาการจะยิ่งเป็นตัวส่งเสริมให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงดีมากยิ่งขึ้น

The study “Cost-effectiveness Analysis of Health and Nutrition promotion for Aging society Preparedness in Community” aims to investigate health and nutrition status of community members in a target area. Next, cost-effectiveness analysis for each method of health and nutrition promotion are experimentally emphasized. Finally, the recommending practices for promoting health and nutrition suitable for the community members are proposed. The total of 78 representative samples consist of both elderly group and a group approaching aging society in Khok Kruat sub-districts, Pak Phli districts, Nakhon Nayok province. The subjects in the research are divided into 3 groups: 1) health promotion using aerobic exercise 2) food and nutrition promotion and 3) the controlled group. The experimental participants in 1) and 2) attend 12 activities, while before-and-after health status are evaluated and compared against the controlled group. The effectiveness in health and nutrition promotion is calculated from weight, waist circumference, Body Mass Index (BMI), and laboratory examination results. This study also presents numerical results in percentage, mean, standard deviation, and compares two groups of dependent and independent variables as well as cost-effectiveness.
The results indicate that Obesity is the top health problem in the community, followed by Hypertension, Diabetes Mellitus (DM), Osteoarthritis, Dyslipidemia, Dementia, and Bronchitis. Most elderly persons in the community have very good level of knowledge regarding food consumption behavior. At the end of project, it indicate that health indicators resulted from the health promotion significantly reduced weight, waist circumference, BMI, high blood pressure, and cholesterol, while increase High Density Lipoprotein (HDL). Furthermore, health indicators resulted from food and nutrition promotion also provided the similar findings as in the case of health promotion, excepted for an increase of HDL. The cost-effectiveness in health promotion and nutrition promotion per unit of health indicators are 48,960.50 bath, and 63,711.02 bath, respectively. Meanwhile, the cost-effectiveness of the participants in health promotion and nutrition promotion are 24,480.25 bath, and 24,504.31 bath, respectively. The policy implication from the study suggests that it is more cost-effective to conduct health promotion using physical exercise. Nevertheless, it should be complementary to implement both exercise and nutrition promotion since they would ultimately reinforce each other and have a significantly positive effect on health and body outcomes.

ผู้เข้าร่วมโครงการรับการตรวจเลือด
ผู้เข้าร่วมโครงการรับการตรวจเลือด
ผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายเข้ารับฟังรายละเอียดการเข้าร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายเข้ารับฟังรายละเอียดการเข้าร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มควบคุมเข้ารับฟังรายละเอียดการเข้าร่วมโครงการ 1
ผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มควบคุมเข้ารับฟังรายละเอียดการเข้าร่วมโครงการ 1
ผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มควบคุมเข้ารับฟังรายละเอียดการเข้าร่วมโครงการ 2
ผู้เข้าร่วมโครงการกลุ่มควบคุมเข้ารับฟังรายละเอียดการเข้าร่วมโครงการ 2