bg

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนการสอนดนตรีไทยสำหรับครูและนักเรียน

Target Indicator Result
การศึกษาที่เท่าเทียม
SDG 4 QUALITY EDUCATION
4.2 By 2030, ensure that all girls and boys have access to quality early childhood development, care and pre?primary education so that they are ready for primary education 4.2.1 Proportion of children under 5 years of age who are developmentally on track in health, learning and psychosocial well-being, by sex
4.3 By 2030, ensure equal access for all women and men to affordable and quality technical, vocational and tertiary education, including university 4.3.1 Participation rate of youth and adults in formal and non-formal education and training in the previous 12 months, by sex
4.c By 2030, substantially increase the supply of qualified teachers, including through international cooperation for teacher training in developing countries, especially least developed countries and small island developing States 4.c.1 Proportion of teachers in: (a) pre-primary; (b) primary; (c) lower secondary; and (d) upper secondary education who have received at least the minimum organized teacher training (e.g. pedagogical training) pre-service or in-service required for teaching at the relevant level in a given country
Caveat

เพื่อเป็นการต่อยอดกระบวนการจิตอาสาของเยาวชนรุ่นใหม่ และเพื่อเป็นอีกหนึ่งต้นแบบของโครงการศิลปกรรมสร้างสุขให้เยาวชน ครอบครัว และชุมชน ได้มีพื้นที่สาธารณะเพื่อทำกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืนต่อไป โดยมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นโรงเรียนในจังหวัดสระแก้ว ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การบริการวิชาการแก่ชุมชนของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1 จังหวัด 1 มหาวิทยาลัย เพื่อให้คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การสร้างองค์ความรู้ และนวัตกรรมสร้างสรรค์ทางศิลปะแก่ชุมชนพื้นที่เป้าหมาย อันจะนำมาซึ่งคุณภาพของการศึกษาและการเรียนรู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ตามแผนการยกระดับคุณภาพการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดสระแก้ว ด้วยเหตุผลดังกล่าว คณะศิลปกรรมศาสตร์ จึงขอเสนอโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการเรียนการสอนดนตรีไทยสำหรับครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปกรรมด้านดนตรีไทย เชื่อมโยงความสัมพันธ์เครือข่ายชุมชนชุมชน เพื่อส่งเสริมศักยภาพทางวิชาการ โดยบูรณาการกับการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม โดยใช้กิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ทางด้านศิลปกรรมเป็นสื่อกลาง รวมทั้งการจัดกิจกรรมศิลปะด้านดนตรีไทยแบบมีส่วนร่วมสำหรับเยาวชนทั่วไป ในระหว่างวันที่ 4 – 6 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงเรียนบ้านหนองหว้า ตำบลหนองหว้า อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องนับแต่ปีงบประมาณ 2561

Impact Level
Impact

1.ด้านเศรษฐกิจ
เกิดผลกระทบด้านเศรษฐอันเป็นผลสืบเนื่องจากการอบรมเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้นการก่อให้เกิดรายได้เช่น การบรรเลงดนตรี การจัดการแสดงทางวัฒนธรรม
2.ด้านสังคม
เกิดผลกระทบต่อสังคมในส่งเสริมการจัดกิจกรรมทางด้านศิลปกรรมเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์เครือข่ายชุมชน มุ่งให้เกิดการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน และในระดับชุมชน โดยยึดหลักการเรียนรู้ด้านศิลปกรรมอย่างสร้างสรรค์ เป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เรียนรู้ตามความต้องการและตอบสนองความต้องการของชุมชนที่แท้จริง เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน ด้วยบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมในระดับสูง นำมาสู่การยกระดับทางการศึกษาและการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
ตอบสนองต่อเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในการบริการวิชาการอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้ชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืน และยังส่งเสริมภาพลักษณ์การเป็นผู้นำในด้านการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย ตอบสนองนโยบายการยกระดับการศึกษาของกระทรวงศึกษาและสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดสระแก้วในด้านการศึกษาและการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
3.ด้านสิ่งแวดล้อม
เกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมทางสังคม เกิดบรรยากาศทางวัฒนธรรมไทยโดยเฉพาะการเรียนดนตรีไทยที่มีจำนวนประชากรที่สามารถบรรเลงดนตรีไทยเพิ่มขึ้น
4. มีผู้นำหรือบุคคลในชุมชนที่นำความรู้ไปดำเนินการอย่างต่อเนื่องหรือไม่ (อธิบายว่าคือใคร ทำกิจกรรมต่อเนื่องอย่างไร พร้อมแนบหลักฐานประกอบ)
มีการบริจาคเครื่องดนตรีไทย อังกะลุง ขลุ่ยเพียงออ และอุปกรณ์ด้านศิลปะ พร้อมทั้งสื่อการเรียนการสอนอื่นๆ ให้แก่โรงเรียน ทั้งนี้ทางโรงเรียนจะได้มีการนำสื่อการเรียนการสอนดังกล่าวไปใช้สำหรับการเรียนการสอนหรือกิจกรรมของโรงเรียนต่อไป
5. ชุมชนมีการจัดโครงสร้างองค์กร (เช่น จัดตั้งกลุ่ม ชมรม ฯลฯ) หรือจัดสรรทรัพยากร (คน เงิน วัสดุ สถานที่ อุปกรณ์) เพื่อดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร
ทางโรงเรียนมีองค์ความรู้และสื่อด้านดนตรีไทย นาฏศิลป์ไทย ที่ได้รับจากการอบรมนำไปประยุกต์ใช้ ส่งนักเรียนเข้าประกวดศิลปวัฒนธรรมด้านดนตรีไทย และนาฏศิลป์ไทย รวมถึงจัดกลุ่มรับงานการแสดงศิลปวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดสระแก้วต่อไป

Faculty of Fine Arts
Ms. Aporn Poombunchu
17 Dec 19 09:47