Log In
bg

โครงการบูรณาการการเรียนการสอนกับพันธกิจด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมภาควิชาประวัติศาสตร์ การพัฒนาระบบการเรียนรู้ตอดชีวิต "วิถีชีวิตไทยพวน" ครั้งที่ 1 ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดระบบฐานข้อมูลดิจิตอลพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน" ครั้งที่ 2 : การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี Or Code ในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน วัดฝั่งคลอง ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี

Target Indicator Result
การศึกษาที่เท่าเทียม
SDG 4 QUALITY EDUCATION
4.7 By 2030, ensure that all learners acquire the knowledge and skills needed to promote sustainable development, including, among others, through education for sustainable development and sustainable lifestyles, human rights, gender equality, promotion of a culture of peace and non-violence, global citizenship and appreciation of cultural diversity and of culture's contribution to sustainable development 4.7.1 Extent to which (i) global citizenship education and (ii) education for sustainable development, including gender equality and human rights, are mainstreamed at all levels in (a) national education policies; (b) curricula; (c) teacher education; and (d) student assessment
Caveat

ด้วยการศึกษาเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนที่สำคัญและมีประสิทธิภาพสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งพิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญในชุมชน การสร้างฐานข้อมูลออนไลน์จะช่วยส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาแก่คนทุกระดับอันส่งผลให้เกิดการศึกษาที่เท่าเทียมและยั่งยืนเพื่อการศึกษาที่ทั่วถึงและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน

การบูรณาการการเรียนการสอนเป็นกระบวนส่งเสริมการเรียนรู้ที่สำคัญและเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยบูรณาการกับรายวิชา ปศ 402 พิพิธภัณฑสถานวิทยา และ ปศ 414 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย การจัดทำระบบฐานข้อมูลดิจิตอลพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน ณ ศูนย์วัฒนาธรรมเฉลิมราช วัดฝั่งคลอง เริ่มจากการสำรวจความต้องการของชุมชน ซึ่งได้รับเสียงสะท้อนอยากให้มีการจัดทำรายละเอียดวัตถุในพิพิธภัณฑ์สู่รูปแบบ QR Code เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ง่ายต่อการศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเองผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน เป็นการรวบรวมข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลเพื่อให้การเรียนรู้สามารถเข้าถึงได้จากทุกที่ และเป็นการป้องกันไม่ให้ข้อมูลที่มีคุณค่าทางด้านวัฒนธรรมของชุมชนไทยพวนสูญหายในอนาคต

โดยในปี พ.ศ.2560-2561 นิสิตได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลและศึกษาทะเบียนวัตถุพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน จำนวน 275 ชิ้น และในปี พ.ศ.2562 ได้นำรายละเอียดทะเบียนวัตถุดังกล่าวที่ศึกษาจำนวนประมาณ 200 ชิ้น (ด้วยข้อจำกัดของระยะเวลาจัดทำจึงไม่สามารถจัดทำทะเบียนวัตถุได้ครบทุกชิ้น) มาจัดทำระบบฐานข้อมูลดิจิตอล โดยนำเทคโนโลยี QR Code มาใช้เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาเรียนรู้ของผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ซึ่งเป็นการตอบสนองเป้าหมายการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง รวมทั้งเป็นการส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตของทุกเพศทุกวัยได้ด้วยตัวเองแบบยั่งยืน ผ่านระบบการเรียนรู้ที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อการศึกษาแบบไทยแลนด์ 4.0

ทั้งนี้ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) ยังได้นำข้อมูลทะเบียนวัตถุพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนที่นิสิตได้ลงพื้นที่ศึกษาและเก็บข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาวิจัยข้อมูลและองค์ความรู้การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ภูมิภาคเพื่อการเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวตะวันออก พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวน วัดฝั่งคลองอีกด้วย

Impact Level
Impact

1. นิสิตได้ค้นคว้าและศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลชาติพันธุ์ไทยพวนในประเทศไทย ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของนิสิตและได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมกับปราชญ์ชาวบ้านไทยพวนในชุมชน

2. เกิดการจัดทำรายละเอียดวัตถุในพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนให้อยู่ในรูปแบบระบบฐานข้อมูลดิจิตอล สามารถสแกน QR Code ของวัตถุแต่ละชิ้นได้

3. เกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานด้านศิลปวัฒนธรรม เช่น ศูนย์มานุษวิทยาสิรินธร สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) กรมศิลปากร

4. นักเรียน ชาวบ้านในพื้นที่ และบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยพวนมากขึ้น ซึ่งเป็นการส่งเสริมการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึงอันก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน

5. เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และการอนุรักษ์วิถีชุมชนไทยพวนให้คงอยู่อย่างยั่งยืน