Target | Indicator | Result |
---|---|---|
SDG 4
QUALITY EDUCATION
|
การบริการทางวิชาการแก่สังคม เป็นหนึ่งในภารกิจของภาควิชาฟิสิกส์ที่ได้ดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีหลากหลายกิจกรรม เช่น โครงการการอบรมครูของ สสวท. โครงการอบรมและสัมมนาทางวิชาการโดยผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ และโครงการฟิสิกส์สัญจร เป็นต้น สำหรับโครงการ ฟิสิกส์สัญจรเป็นโครงการบริการวิชาการที่แตกต่างจากโครงการบริการวิชาการอื่น ๆ ของภาควิชาฟิสิกส์ คือ โครงการนี้มุ่งเน้นเสริมสร้างศักยภาพนิสิตด้านวิชาการ โดยนิสิตเป็นผู้ดำเนินงานหลักภายใต้การกำกับดูแลของอาจารย์ ซึ่งในปีนี้จะมีการจัดโครงการฟิสิกส์สัญจร ครั้งที่ 17 ณ โรงเรียนภายนอกเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 17 - 19 มกราคม 2563 ณ โรงเรียนบ้านบึงอุตสาหกรรมนุเคราะห์ จังหวัดชลบุรี โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 148 คน โครงการในครั้งนี้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับประสบการณ์ที่มีค่า และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาฟิสิกส์มากขึ้นและเป็นการเพิ่มทักษะความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ในด้านปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ของนิสิตภาควิชาฟิสิกส์ทั้งสองหลักสูตร (วท.บ. และ กศ.บ. )
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1. เพื่อเผยแพร่ความรู้พื้นฐานทางวิชาฟิสิกส์และสร้างทัศนคติทางบวกต่อวิชาฟิสิกส์ให้แก่ ผู้เข้าร่วมโครงการ
2. เพื่อให้นิสิตที่เรียนรายวิชาต่าง ๆในสาขาวิชาเอก เช่น PY211 PY221 PY351 PYE431 เป็นต้น ได้นำความรู้ที่ได้จากการเรียนมาใช้ในการถ่ายทอดความรู้แก่นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ
จากการจัดโครงฟิสิกส์สัญจร ครั้งที่ 17 นิสิตได้ฝึกประสบการณ์การถ่ายทอดความรู้ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยแบ่งเป็น กิจกรรมทั้งหมด 5 กิจกรรม ได้แก่
1. กิจกรรมดาราศาสตร์ 5 ฐาน
2. กิจกรรมการทดลองหรรษา
3. กิจกรรมห้องเรียนสุขสันต์ PYE
4. กิจกรรม SCI in movie
5. กิจกรรมแนะแนวการศึกษา
ซึ่งในแต่ละกิจกรรม ได้มีนำสื่อสารที่ทันสมัยมาการประยุกต์ในการจัดกิจกรรม เช่น กิจกรรมดาราศาสตร์ 5 ฐาน และกิจกรรมห้องเรียนสุขสันต์ PYE ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคประเทศไทย 4.0 นอกจากนี้ ยงั มีกิจกรรมที่เน้นใช้อุปกรณ์ที่จัดหาได้ง่าย เพอื่ ให้นักเรียนสามารถเข้าใจ และเข้าถึงความรู้ฟิสิกส์ได้โดยง่าย นิสิตระดับปริญญาตรี จำนวน 148 คน คณาจารย์ และกรรมการดำเนินงาน จำนวน 2 คน โดยหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม นิสิตได้ทำการประเมิน ซึ่งแสดงให้เห็นว่านิสิตสามารถนำสิ่งที่ศึกษาไปใช้ได้อยู่ในเกณฑ์ 4.51 (จาก 5.00 ระดับ) และนิสิตสามารถนำประสบการณ์ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อยู่ในเกณฑ์ 4.51 จาก 5.00 ระดับ นอกจากนี้ นิสิตยังนิสิตสามารถแก้ปัญหา อุปสรรค ที่เกิดขึ้นได้อยู่ในเกณฑ์ 4.15 (จาก 5.00 ระดับ)