Log In
bg

โครงการพัฒนาศักยภาพนิสิต คณะวิทยาศาสตร์ กิจกรรมที่ 1 โครงการนิสิตวิทยาฯ จิตอาสาร่วมใจ รับใช้สังคม ประจำปีการศึกษา 2562

Target Indicator Result
การศึกษาที่เท่าเทียม
SDG 4 QUALITY EDUCATION
Caveat

จากผลการสำรวจนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศที่กำลังจะก้าวเข้าสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษาพบว่าร้อยละ 60 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศไม่ทราบว่าตนเอง อยากเรียนต่อในสาขาหรือคณะใด เพราะไม่รู้ความถนัดหรือความต้องการที่แท้จริงของตัวเอง ทำให้เกิดปัญหาในการเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และผลสารวจของกรุงเทพโพลล์ (Bangkok poll) พบว่า มีนักเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพียงร้อยละ 55 เท่านั้นที่เลือกเรียนสาขาวิชาหรือคณะที่ตนเองชอบ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 45 เลือกเรียนต่อโดยพิจารณาคณะหรือมหาวิทยาลัยที่คะแนนถึงหรือพิจารณาจากชื่อเสียงของสถาบันซึ่งถึงแม้ว่าจะได้เข้าศึกษาในคณะหรือมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงแต่ถ้าคณะนั้นไม่ตรงกับความถนัดและความต้องการอย่างแท้จริงแล้ว ก็จะเกิดปัญหาบัณฑิตที่จบมาไม่สามารถทำงานตรงกับคณะที่เรียน สะท้อนถึงการศึกษาที่ไม่ตรงตามศักยภาพของผู้เรียน การแก้ไขปัญหานี้คนส่วนใหญ่มักจะมุ่งประเด็นไปที่การแนะแนวการศึกษาสำหรับนักเรียนมัธยมปลายว่าไม่สามารถหาคำตอบให้นักเรียนได้ว่าอยากศึกษาต่อในด้านใด แต่เมื่อพิจารณาปัญหาดังกล่าวอย่างรอบด้านแล้วจะพบว่าปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับนักเรียนในชั้นมัธยมปลายเท่านั้น แต่เกิดขึ้นกับนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมต้น บางส่วนเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพจึงเลือกที่จะไปเรียนต่อในสายอาชีพ แต่บางส่วนที่ยังไม่รู้ความต้องการของตนก็จะเลือกเรียนสายสามัญ เนื่องจากคิดว่าถ้าเรียนต่อในระดับมัธยมปลายจะมีทางเลือกในการประกอบอาชีพตามที่ตนต้องการได้มากกว่า แต่จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นก็จะเห็นได้ว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้น ดังนั้นการแก้ไขปัญหานี้ควรจะเริ่มตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น โดยการจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับอาชีพในฝันให้นักเรียน ให้นักเรียนได้ทราบว่าปัจจุบันมีอาชีพมากมายที่จะนาความสำเร็จมาสู่ชีวิตได้ ไม่ใช่เพียงแค่อาชีพแพทย์ ครู ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เท่านั้นที่จะทำให้ชีวิตมั่นคง ยิ่งนักเรียนค้นพบความต้องการที่แท้จริงของตนเองได้เร็วเท่าไหร่ การศึกษาไทยก็จะสามารถพัฒนาพวกเขาให้เต็มศักยภาพได้มากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันประเทศไทยมีกระแสการทำความดีเพื่อขับเคลื่อนสังคมหรือการทำงานจิตอาสาที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เช่น งานอาสาเกี่ยวกับเยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ด้านการศึกษาและด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น การทำงานจิตอาสาแสดงให้เห็นถึงพลังความสามัคคีและความมีน้ำใจของคนในองค์กรหรือสังคมไทยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการเป็นการทำงานที่มุ่งเน้นประโยชน์ส่วนรวม อีกทั้งยังต้องเสียสละแรงกาย เวลา รวมถึงกำลังทรัพย์ แต่นับว่าเป็นสิ่งที่ดีที่องค์กร หน่วยงาน หรือประเทศชาติต้องการ การจัดโครงการอาสาเพื่อสังคมในองค์กร เป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรในองค์กรได้มีส่วนร่วม เป็นสิ่งสำคัญที่จะปลูกฝังการมีจิตอาสาให้กับบุคลากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเป็นหน่วยงานทางการศึกษาหนึ่งที่มีการสนับสนุนกิจกรรมอาสาอย่างต่อเนื่องดังคากล่าวที่ว่า “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยรับใช้สังคม” สโมสรนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้เห็นความสำคัญของการให้นิสิตนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการบริการวิชาการให้กับนักเรียนและโรงเรียนที่ห่างไกล โดยใช้ความรู้ ความสามารถทางวิทยาศาสตร์ สร้างแรงบันดาลใจในการตั้งเป้าหมายในการศึกษาต่อตลอดจนการวางแผนในการประกอบอาชีพและดำเนินชีวิตในอนาคต ให้กับนักเรียนโรงเรียนที่ห่างไกลและขาดโอกาสทางการศึกษา อีกทั้งเป็นโอกาสให้นิสิตได้ร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสาเพื่อส่งเสริมนิสิตตามอัตลักษณ์นิสิต 9 ประการของมหาวิทยาลัย ด้านเปี่ยมจิตสาธารณะ คือ นิสิตเกิดจิตสาธารณะจากการร่วมทำกิจกรรมจิตอาสา ด้านคิดเป็นทำเป็น คือ นิสิตสามารถคิดรูปแบบกิจกรรมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการและสามารถลงมือทำให้เกิดผลตามที่คาดหวังได้จริง ด้านหนักเบาเอาสู้ คือ นิสิตสามารถทำงานร่วมกันและผ่านอุปสรรคที่พบในกิจกรรมได้ ด้านพร้อมด้วยศาสตร์และศิลป์ คือ นิสิตสามารถนาความรู้ที่มีมาถ่ายทอดและประยุกต์ใช้ในการดาเนินชีวิตประจำวันและสามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมและสังคมได้
ดังนั้น สโมสรนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้เห็นความสำคัญดังกล่าวจึงจัดโครงการนิสิตวิทยาฯ จิตอาสาร่วมใจ รับใช้สังคม ณ โรงเรียนวัดบ้านพริก จังหวัดนครนายก โดยมีการจัดกิจกรรม 2 รูปแบบได้แก่ กิจกรรมเชิงวิชาการสร้างแรงบัลดาลใจในการประกอบอาชีพและกิจกรรมจิตอาสาปรับปรุงแหล่งเรียนรู้และทัศนียภาพโรงเรียน
โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้
1. เพื่อให้นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการได้รับแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพและกลับมาพัฒนา ท้องถิ่น
2. เพื่อให้นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และทัศนคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์
3. เพื่อให้นิสิตผู้เข้าร่วมโครงการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้สร้างประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคมได้
4. เพื่อให้นิสิตผู้เข้าร่วมโครงการมีจิตสาธารณะในการสร้างประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม

Impact Level
Impact

นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการได้รับแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพและกลับมาพัฒนา ท้องถิ่น ได้รับความรู้และทัศนคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้สร้างประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคมได้ นอกจากนี้ยังมีจิตสาธารณะในการสร้างประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม
เป้าหมายเชิงคุณภาพ
1. นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการได้รับแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพและกลับมาพัฒนาท้องถิ่น คิดค่าเฉลี่ยเป็น 4.59 อยู่ในเกณฑ์ดี
2. นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์สามารถตอบคำถามในใบกิจกรรมได้ และได้รับทัศนคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์ คิดค่าเฉลี่ยเป็น 4.86 อยู่ในเกณฑ์ดี
3. นิสิตผู้เข้าร่วมโครงการสามารถใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียนได้ คิดค่าเฉลี่ยเป็น 4.53 อยู่ในเกณฑ์ดี
4. นิสิตผู้เข้าร่วมโครงการมีจิตสาธารณะในการสร้างประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม คิดค่าเฉลี่ยเป็น 4.79 อยู่ในเกณฑ์ดี
เป้าหมายเชิงปริมาณ
1. นิสิตนิสิตชั้นปีที่ 1 และ 2 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เข้าร่วมโครงการ จำนวน 132 คน จากกลุ่มเป้าหมายที่ระบุไว้ จำนวน 150 คน คิดเป็นร้อยละ 88 (เกิน 80% ของตัวชี้วัดเชิงปริมาณถือว่าบรรลุเป้าหมาย) ถือว่าบรรลุเป้าหมายการจัดโครงการ
2. นักเรียนโรงเรียนวัดบ้านพริก จำนวน 100 คน เข้าร่วมโครงการ จำนวน 121 คน จากกลุ่มเป้าหมายที่ระบุไว้ จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 121 (เกิน 80% ของตัวชี้วัดเชิงปริมาณถือว่าบรรลุเป้าหมาย) ถือว่าบรรลุเป้าหมายการจัดโครงการ
3. นิสิตนิสิตชั้นปีที่ 3 และ 4 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เข้าร่วมโครงการ จำนวน 51 คน จากกลุ่มเป้าหมายที่ระบุไว้ จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 102 (เกิน 80% ของตัวชี้วัดเชิงปริมาณถือว่าบรรลุเป้าหมาย) ถือว่าบรรลุเป้าหมายการจัดโครงการ

การร่วมกันระหว่างนักเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดโครงการ
การร่วมกันระหว่างนักเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดโครงการ
กิจกรรมฐานวิชาการในวันที่ 1
กิจกรรมฐานวิชาการในวันที่ 1
ปรับปรุงทัศนียภาพโรงเรียน
ปรับปรุงทัศนียภาพโรงเรียน
ลานรวมใจ แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับจังหวัดนครนายก
ลานรวมใจ แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับจังหวัดนครนายก
ภาพหมู่ของนักเรียนและชาวค่าย ผู้เข้าร่วมโครงการฯ
ภาพหมู่ของนักเรียนและชาวค่าย ผู้เข้าร่วมโครงการฯ
Faculty of Science
Mr. Sanya Palun
12 Oct 20 12:43