Log In
bg

1. โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมผลิตภัณฑ์การเกษตร

Target Indicator Result
การศึกษาที่เท่าเทียม
SDG 4 QUALITY EDUCATION
4.6 By 2030, ensure that all youth and a substantial proportion of adults, both men and women, achieve literacy and numeracy 4.6.1 Proportion of population in a given age group achieving at least a fixed level of proficiency in functional (a) literacy and (b) numeracy skills, by sex
Caveat

1.1 กิจกรรมการเสวนา และเผยแพร่งานวิจัยตามความต้องการชุมชน เพื่อการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์
การจัดเสวนาและเผยแพร่งานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการชุมชน ร่วมกับหน่วยงานจังหวัดนครนายก จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2562 ได้แก่ เกษตรจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด และบริษัทประชารัฐรักสามัคคี (นครนายก) จำกัด และร่วมกับกลุ่มเกษตรที่มีศักยภาพในจังหวัดนครนายก เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแนวทางการพัฒนาความร่วมมือกับจังหวัดนครนายกเพื่อต่อยอดงานวิจัย และการทำงานร่วมกันอย่างยั่งยืนได้ดังนี้คือ ผลิตภัณฑ์จากข้าว จัดทำข้อสรุปเรื่องชนิด และปริมาณการปลูก เพื่อวางแผนในการพัฒนาและแปรรูปข้าวแบบครบวงจร โดยเน้นที่ข้าวที่มีศักยภาพสูงก่อน ผลิตภัณฑ์มะดัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีอัตลักษณ์ มีรสชาติที่ดี ตอบสนองกลุ่มเป้าหมาย (เช่นนักท่องเที่ยว หรือของฝาก) และสะท้อนภาพของจังหวัด
ผู้เข้าร่วมโครงการ: ทุกเพศ ทุกวัย รวม 30 คน

1.2 กิจกรรมคลีนิคเทคโนโลยีอาหารแปรรูปเพื่อเกษตรกร
จัดอบรมและให้คำปรึกษาในการจัดทำมาตรฐานหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Manufacturing Practice, GMP) และการขึ้นทะเบียนอาหารและฉลากอาหาร รวมถึงการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วของชุมชน เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย
ผู้เข้าร่วมโครงการ: ทุกเพศ ทุกวัย รวม 30 คน

1.3 กิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ในการทำการผลิตภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตรให้กับกลุ่มเกษตรกร
ทำการอบรมให้ความรู้แก่แม่บ้านหนองจิกพัฒนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก เมื่อวันที่ 19 มิ.ย.62 โดยเนื้อหาในการถ่ายทอดความรู้ประกอบด้วย 1.การคัดเลือกและการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ 2.บรรจุภัณฑ์และการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่ดี 3.กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบจากข้าวโพด
ผู้เข้าร่วมโครงการ: ทุกเพศ ทุกวัย รวม 30 คน

Impact Level
Impact

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ:
1. ชุมชนได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตนเอง และมีความตระหนักในคุณภาพของผลิตภัณฑ์มากขึ้น
2. หลังจากที่ทางกลุ่มสามารถจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน ได้แล้วนั้นก็ได้มีการเริ่มมีการพัฒนาปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้มีความสวยงาม ทันสมัยและมีความเป็นเอกลักษณ์ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่น่าสนใจและสร้างยอดขายได้มากยิ่งขึ้น
3. เกิดการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และสถานที่ท่องเที่ยว ทั้งนี้อาจเป็นรายได้ที่เกิดจากการเยี่ยมชมสถานที่ หรือการซื้อสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนและเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณภาพ

ผลกระทบด้านสังคม:
1. ชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับคุณภาพทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น
2. เกิดการสร้างความเข้าใจตรงกันของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในจังหวัดนครนายก ถึงทัศนคติหรือมุมมองที่นักท่องเที่ยวมีต่อจังหวัดนครนายก
3. เป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น

Faculty of Agricultural Product Innovation and Technology
Asst.prof. Phisut Naknean
14 Jan 21 09:16