Target | Indicator | Result |
---|---|---|
SDG 4
QUALITY EDUCATION
|
||
4.1 By 2030, ensure that all girls and boys complete free, equitable and quality primary and secondary education leading to relevant and effective learning outcomes | 4.1.1 Proportion of children and young people (a) in grades 2/3; (b) at the end of primary; and (c) at the end of lower secondary achieving at least a minimum proficiency level in (i) reading and (ii) mathematics, by sex | เสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านการทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่มีการบูรณาการสะเต็มศึกษาให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ และทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งหมด 308 คน (คิดเป็นร้อยละ 99.03 ของจานวนที่ตั้งไว้) |
การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโลกปัจจุบัน เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมอปฏิบัติด้วยตนเอง (Hand-on activity) ส่งเสริมสมรรถนะการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 ในด้านการคิด การทำงานเป็นทีม การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดวิเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์ โดยเฉพาะมัธยมศึกษาตอนต้น ควรได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการทำกิจกรรมการทดลองที่ออกแบบให้เหมาะสม ควรได้ฝึกการทำปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในการเรียนเนื้อหาวิทยาศาสตร์มากขึ้น และมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ส่งเสริมเจตคติที่ดีทางวิทยาศาสตร์ให้ผู้เรียน รักวิทยาศาสตร์ และเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์นำไปใช้ในชีวิตประจำวันรวมถึงมีแรงบันดาลใจในการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น
เนื่องจกภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีกลุ่มคณาจารย์ร่วมกันจัดโครงการบริการวิชาการในลักษณะอบรมวิชาการในลักษณะของกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ทั้งในสถานที่ภายในมหาวิทยาลัย หรือตามสถานที่ตามผู้สนใจต้องการให้จัดกิจกรรม ให้กับผู้ที่สนใจในกลุ่มเยาวชนระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา ใช้ชื่อกลุ่มกิจกรรม Kids Academy of Science มีกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายที่ให้การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบสะเต็มศึกษา การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) และการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และสร้างแรงบันดาลใจวิทยาศาสตร์ให้กับผู้เรียนให้สนใจวิทยาศาสตร์
ในการนี้ทางโรงเรียนเทพศิรินทร์ ได้ขอความอนุเคราะห์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดำเนินการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “กิจกรรมวิทยาศาสตร์บูรณาการสะเต็มศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนห้องพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทพศิรินทร์” ซึ่งเป็นการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านการทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่มีการบูรณาการสะเต็มศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านการทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่มีการบูรณาการสะเต็มศึกษาให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
2. เพื่อให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์
1. จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ รวมทั้งหมด 232 คน (คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนที่ตั้งไว้)
2. รูปแบบกิจกรรมมีการจัดกิจกรรมสันทนาการเพื่อละลายพฤติกรรม และแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมแบบสุ่ม โดยมีการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์บูรณาการสะเต็มศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะวิทยาศาสตร์ในรูปแบบฐานกิจกรรม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เข้าทำกิจกรรมตามรอบเวลาที่กำหนด โดยแบ่งเป็น 4 ฐาน ฐานละ 2 กลุ่มย่อย ใช้เวลากลุ่มย่อยละ 30 นาที และทำการเวียนฐาน 4 รอบ โดยเมีรูแบบเป็นกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (hands-on activity) โดยมีการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบสะเต็มศึกษา การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) และ การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และสร้างแรงบันดาลใจวิทยาศาสตร์ให้กับผู้เรียนให้สนใจวิทยาศาสตร์มีการถอดบทเรียนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และมอบประกาศนียบัตรให้ผู้เข้าร่วมโครงการ
ประโยชน์ที่ได้รับ
เสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านการทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่มีการบูรณาการสะเต็มศึกษาให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ และทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์