bg

โครงการ ประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 13

Target Indicator Result
การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
SDG 8 DECENT WORK AND ECONOMIC GROWTH
8.2 Achieve higher levels of economic productivity through diversification, technological upgrading and innovation, including through a focus on high-value added and labour-intensive sectors 8.2.1 Annual growth rate of real GDP per employed person การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับโลก และสร้างโอกาสในการจ้างงานที่เหมาะสม ดังนั้นกิจกรรมต่างๆ ในการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน เมื่อเกิดกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชน จึงเกิดการจ้างงานเกิดอาชีพ และสมาชิกในชุมชนนำมาซึ่งการกระจายรายได้ในคนในชุมชนอย่างทั่วถึง
8.3 Promote development-oriented policies that support productive activities, decent job creation, entrepreneurship, creativity and innovation, and encourage the formalization and growth of micro-, small- and medium-sized enterprises, including through access to financial services 8.3.1 Proportion of informal employment in non?agriculture employment, by sex เนื่องจากโครงการเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์และส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ที่จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขัน ซึ่งเป็นมาตรการเชิงบวกที่ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรม ท่องเที่ยวในเชิงคุณภาพ เทียบได้กับรางวัลนานาชาติ และได้กลายเป็นเครื่องหมายรับประกันคุณภาพสินค้าทางการท่องเที่ยว (Tourism Accreditation) ที่สร้างความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับจากนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และต่างประเทศ และประการสำคัญ รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 13 (2021) ยังเป็นรางวัลที่รับรองคุณภาพสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว ด้วยมาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม (Responsible Tourism) เพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ และบริการที่ดี เพื่อยกระดับและพัฒนาการท่องเที่ยว ที่ได้มาตรฐาน “การท่องเที่ยวสีขาว” ที่มีทั้งความสะดวก สะอาด ปลอดภัย เป็นธรรม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าของสินค้าทางการท่องเที่ยวไทยสู่ระดับสากล ซึ่งกิจกรรมที่กล่าวมาข้างต้น สามารถบรรลุผลิตภาพทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงขึ้นผ่านการกระจายความหลากหลาย การยกระดับเทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมถึงการมุ่งเน้นที่มูลค่าเพิ่มสูงและภาคที่เน้นแรงงาน
เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน
SDG 11 SUSTAINABLE CITIES AND COMMUNITIES
11.4 Strengthen efforts to protect and safeguard the world's cultural and natural heritage 11.4.1 Total expenditure (public and private) per capita spent on the preservation, protection and conservation of all cultural and natural heritage, by type of heritage (cultural, natural, mixed and World Heritage Centre designation), level of government (national, regional and local/municipal), type of expenditure (operating expenditure/investment) and type of private funding (donations in kind, private non-profit sector and sponsorship) สอดคล้องกับ SDG11 เพราะการพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านรอมครองถทอว่าเป็นการพัฒนาศักยภาพในการขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานในเมืองและการเข้าถึงที่เป็นสากล ส่งเสริมการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากการจัดเซาะชายฝั่งริมน้ำ และช่วยอนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ชุมชนบ้านริมคลองมีการบริหารจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมในชุมชนโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บนแนวทางของความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการใช้องค์ความรู้ทั้งทางวิชาการ และ ภูมิปัญญาท้องถิ่นประกอบการตัดสินใจ โดยคำนึงถึงความถูกต้องและเป็นธรรม ในการสร้างภูมิคุ้มกันแก่ฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เป็นการสมประโยชน์ (Win-Win) ต่อการพัฒนาในหลายมิติ ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าวต้องพิจารณาบริบทการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน
Caveat

อาจารย์ ดร.จุฑาธิปต์ จันทร์เอียด มีส่วนร่วมกับชุมชนในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชน และการยกระดับอาชีพของชุมชนให้มีรายได้จากกการท่องเที่ยว
ส่งเสริมให้เข้าร่วมการประกวด รางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ครั้งที่ 13 จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรางวัลที่รับรองคุณภาพสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว ด้วยมาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม (Responsible Tourism) เพื่อผลักดันให้ผู้ประกอบการยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ และบริการที่ดี เพื่อยกระดับและพัฒนาการท่องเที่ยวที่ได้มาตรฐาน “การท่องเที่ยวสีขาว” ที่มีทั้งความสะดวก สะอาด ปลอดภัย เป็นธรรม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าของสินค้าทางการท่องเที่ยวไทยสู่ระดับสากล ภายใต้ชื่อผลงาน พิพิธภัณฑ์มะพร้าวกลางแจ้ง แหล่งนวัตกรรม ท่องเที่ยวชุมชน ฐานเรียนรู้คนบ้านริมคลอง เข้าประกวดรางวัลประเภทสาขา Learning & Doing (แหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้)

Impact Level
Impact

การประกวดครั้งนี้ได้รับรางวัลระดับยอดเยี่ยม ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งการเข้าไปส่งเสริมให้การบริหารจัดการการท่องเที่ยวของวิสาหกิจชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์มีทิศทางที่ใช้เจน และได้มีการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ โดยมีหลักคิดในการตัดสินใจร่วมกันของกลุ่มสมาชิกบนพื้นฐานความพอประมาณ มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกัน โดยการนำสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในชุมชนมาพัฒนาปรับปรุงให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวสร้างสรรค์ และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่นักท่องเที่ยวที่ยั่งยืนต่อไป

รางวัลระดับยอดเยี่ยม ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
รางวัลระดับยอดเยี่ยม ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้
ชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์
ชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์
Faculty of Environmental Culture and Ecotourism
Ms. Virinpatha Aimkhum
10 Nov 22 15:12