Target | Indicator | Result |
---|---|---|
SDG 6
CLEAN WATER AND SANITATION
|
||
6.1 By 2030, achieve universal and equitable access to safe and affordable drinking water for all | 6.1.1 Proportion of population using safely managed drinking water services | ค่าปฏิกิริยาความเป็นกรด-ด่างของน้ำในแม่น้ำพระปรงที่ไหลผ่านพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท พบว่ามีค่า pH อยู่ระหว่าง 6 – 7 |
SDG 14
LIFE BELOW WATER
|
||
14.3 Minimize and address the impacts of ocean acidification, including through enhanced scientific cooperation at all levels | 14.3.1 Average marine acidity (pH) measured at agreed suite of representative sampling stations | ค่าปฏิกิริยาความเป็นกรด-ด่างของน้ำในแม่น้ำพระปรงที่ไหลผ่านพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท พบว่ามีค่า pH อยู่ระหว่าง 6 – 7 |
SDG 15
LIFE ON LAND
|
||
15.1 By 2020, ensure the conservation, restoration and sustainable use of terrestrial and inland freshwater ecosystems and their services, in particular forests, wetlands, mountains and drylands, in line with obligations under international agreements | 15.1.2 Proportion of important sites for terrestrial and freshwater biodiversity that are covered by protected areas, by ecosystem type | ค่าปฏิกิริยาความเป็นกรด-ด่างของน้ำในแม่น้ำพระปรงที่ไหลผ่านพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท พบว่ามีค่า pH อยู่ระหว่าง 6 – 7 |
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำพื้นที่ลุ่มน้ำพระปรง และวิเคราะห์ลักษณะเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำพระปรง จ.สระแก้ว โดยทำการเก็บข้อมูลคุณภาพน้ำตั้งแต่ปี 2561 ใน 2 ช่วงเวลาด้วยกัน คือ ช่วงฤดูแล้ง (เมษายน) และช่วงฤดูฝน (สิงหาคม) ซึ่งมีพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ป่าริมคลอง สวนป่ายูคาลิปตัส ไร่อ้อย และวนเกษตร โดยดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำที่ทำการศึกษาได้แก่ อุณหภูมิ (temperature) ปริมาณออกซิเจน ละลายน้ำ (DO) ค่าความโปร่งใสของน้ำ (transparency) ค่าปริมาณออกซิเจนที่ต้องการเพื่อใช้ไปในกระบวนการต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด (BOD) ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ปริมาณสารหนู (As) และสังกะสี (Zn) ในแหล่งน้ำ
ผลการดำเนินการพบว่า
1. คุณภาพน้ำ:
- อุณหภูมิ (Temperature) ของน้ำเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 27 – 30 องศาเซลเซียส อยู่ในเกณฑ์คุณภาพน้ำที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้า
- ปริมาณออกซิเจนละลาย (Dissolved Oxygen, DO) พบว่าในช่วงฤดูแล้ง น้ำในบางจุดบางพื้นที่ลุ่มน้ำพระปรงมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำน้อยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำ (ต่ำกว่า 3 mg/l) ในช่วงฤดูฝนพบว่า ทุกจุดมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำสูงกว่ากว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำ
- ความโปร่งใส (Transparency) ในฤดูแล้งส่วนใหญ่พื้นที่แต่ละจุดมีค่าความโปร่งใสมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด นั่นคือ น้ำค่อนข้างใสทำให้มีระยะการมองเห็นอยู่ที่เกิน 60 ซม. ในขณะที่ในฤดูฝนเกือบทุกพื้นที่มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดคือ ต่ำกว่า 30 ซม. โดยค่าความโปร่งใสที่กำหนดอยู่ระหว่าง 30-60 ซม. ซึ่งเป็นช่วงที่มีความเหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ
- ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการสลายอินทรีย์ในน้ำ (BOD) ในช่วงฤดูแล้งพบบริเวณป่าริมคลอง (จุดที่ 1) มีค่า BOD สูงสุดเท่ากับ 5.3 mg/l รองลงมาคือ ไร่อ้อย(จุดที่ 9) เท่ากับ 4.9 mg/l ในขณะที่มี 4 จุดเก็บตัวอย่างที่ไม่พบค่า BOD ส่วนช่วงฤดูฝนส่วนใหญ่มีค่า BOD สูงกว่าช่วงฤดูแล้ง ในทุกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
- ค่าปฏิกิริยาความเป็นกรด-ด่างของน้ำในแม่น้ำพระปรงที่ไหลผ่านพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท พบว่ามีค่า pH อยู่ระหว่าง 6 – 7
- ปริมาณ As และ Zn ในแหล่งน้ำทุกพื้นที่จึงอยู่ใน เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
- ในภาพรวมดัชนีคุณภาพน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสถิติพบว่าแต่ละการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างฤดูกาลพบว่าค่า transparency As และ Zn แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t-test, p<0.05 และ p< 0.01)
2. สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน:
- ผู้ตอบแบบสอบถาม มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 5,001 – 10,000 บาท ส่วนใหญ่เคยเข้าไปใช้ประโยชน์จากป่าริม คลองพระปรง โดยผลผลิตจากป่าจะเป็นพวกพืชอาหาร เห็ด หน่อไม้รวมไปถึงการทำประมงพื้นบ้าน และการนำไปใช้ประโยชน์ บริโภคในครัวเรือน การใช้ประโยชน์น้ำจากคลองพระปรงส่วนใหญ่เพื่อการอุปโภค
- ปัญหาจากการใช้น้ำจากคลองพระปรงส่วนใหญ่พบว่าน้ำมีสีขุ่น (ร้อยละ 85.0) รองลงมา คือ น้ำเน่าเสีย น้ำมีกลิ่นเหม็น และน้ำไม่เพียงพอ
- ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ในทุกกลุ่มเห็นประโยชน์ของป่าริมน้ำในด้านการช่วยให้เกิดสมดุลของระบบนิเวศสัตว์น้ำเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ตลอดจนต้นไม้ที่อยู่ริมน้ำสามารถช่วยชะลอความรุนแรงของการไหลของน้ำ ลดการพังทลายของตลิ่งริมน้ำได้ การบุกรุกทำลายป่าหรือการตัดต้นไม้ มีผลทำให้อากาศเปลี่ยนแปลงไป
- ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าป่าริมน้ำเป็นพื้นที่สาธารณะที่ประชาชน สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ และประเด็นทางด้านการใช้ประโยชน์พบว่าส่วนใหญ่เห็นว่าป่าริมน้ำเป็นแหล่งสร้างรายได้และแหล่ง อาหารให้แก่ครัวเรือน