bg

เส้นทางนวัตกรรมแหล่งการเรียนรู้สู่ความพอเพียงแบบยั่งยืน (Innovation Lines For Sustainable Learning Sufficiency)

Target Indicator Result
การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
SDG 8 DECENT WORK AND ECONOMIC GROWTH
8.3 Promote development-oriented policies that support productive activities, decent job creation, entrepreneurship, creativity and innovation, and encourage the formalization and growth of micro-, small- and medium-sized enterprises, including through access to financial services 8.3.1 Proportion of informal employment in non?agriculture employment, by sex ในตำบลโคกกรวดมี 7 หมู่ แบ่งออกเป็นเพศชาย 1,439 คน และเพศหญิง 1,499 คน (จำนวนนี้รวมทั้งเด็กเล็กและผู้สูงอายุ) หากชุมชนเปิดรับการท่องเที่ยวเส้นทางนวัตกรรมเชิงท่องเที่ยวจะสร้างรายได้ หลังหักค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเหลือสุทธิ 7,856* บาท ต่อ 1 กลุ่มการท่องเที่ยว ดังนั้นในหนึ่งวันชุมชนสามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวอย่างน้อยได้ 2 กลุ่ม ดังนั้นก็จะได้มีรายได้ 15,712 บาทต่อวัน
หมายเหตุที่มาของจำนวนเงินสุทธิ*
รายได้
1. นักท่องเที่ยวที่ต้องจ่ายค่าอาหารประมาณ 150 บาท ต่อคน = 7,500 บาท
2. การขายสินค้าในชุมชนประมาณ 2,000 บาท ต่อกลุ่ม = 2,000 บาท
ต้นทุน
1. วัตถุดิบจากการทำกิจกรรมในฐานต่างๆ และจากการผลิตสินค้าขาย = 1,644 บาท
ดังนั้น กำไร = (7,500 + 2,000) – 1,644 = 7,856 บาท
8.9 By 2030, devise and implement policies to promote sustainable tourism that creates jobs and promotes local culture and products 8.9.2 Proportion of jobs in sustainable tourism industries out of total tourism jobs 1. Income from the sale of community tours which can be distributed to the community as food costs fees for speakers who may be villagers leading the activities and can also bring income to develop the community further.
2. Revenue from product sales, when the community can sell products without middlemen, the income in this segment will increase. It also helps to encourage the villagers having jobs that can be done locally.
3. Income is from other expenditures of tourists who come to participate and learn on community tourism.
แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
SDG 12 RESPONSIBLE CONSUMPTION & PRODUCTION
12.b Develop and implement tools to monitor sustainable development impacts for sustainable tourism that creates jobs and promotes local culture and products 12.b.1 Number of sustainable tourism strategies or policies and implemented action plans with agreed monitoring and evaluation tools The research uses the model of stimulating and building the civilization with integrated tourism idea of the community by cooperating the marketing strategy to attract the tourists. Entering into the area with knowledge from government agencies and having the opportunity to speak with the community leader bring up the awareness with in the community.

At the same time, the community also proposed by extending the production process, generating sales and bringing additional income. It will result in a strategy to create a competitive approach for community products entering to the diversified market and increase the attractiveness of customers in a more diverse group. Moreover, it brings a reflection of a better life to the people of the Ban Noen Mai community. Therefore, considering the above importance the researcher realized the importance and therefore studied "Innovative Learning Resource Line for Sustainable Sufficiency" through the participation of communities in modeling the path for sustainable tourism.

The key that the research offers is at the governmental organization level, in particular the Ministry of Industry, there should be a strategy for planning, organizing, and training of community members to gain knowledge thoroughly. Especially in the matter of environmentally friendly packaging for the new community to become a truly sustainable self-sufficiency learning resource.
Caveat

การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมภาคบริการที่มีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย ปัจจุบันกระแสนิยมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวมีความสนใจการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์หรือการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนมากขึ้น ทั้งนี้อาจเกิดจากความต้องการในการได้สัมผัสกับธรรมชาติและเรียนรู้ในเรื่องของวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งนับว่าเป็นการเพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนและทำให้ชุมชนเกิดมีความแตกต่างซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชมโดยเน้นความโดดเด่นของตัวชุมชนซึ่งจะมีความต่างจากชุมชนอื่นๆ โดยใช้รูปแบบของการกระตุ้นและสร้างวิถีอารยธรรมของชุมชนกับการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการประกอบร่วมกับการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดดึงดูดนักท่องเที่ยว การลงพื้นที่ร่วมกับวิทยากรจากหน่วยงานภาครัฐ และการมีโอกาสได้พูดคุยกับหัวหน้ากลุ่มของชุมชน ทำให้ทราบว่าภายในชุมชน ณ ปัจจุบันได้มีการสร้างผลิตภัณฑ์ OTOP เพื่อการจำหน่าย รวมทั้งสมาชิกของชุมชนได้ทราบโอกาสของการหาช่องทางในการสร้างมูลค่าให้กับทรัพยากรของชุมชนที่มีอยู่ภายในหมู่บ้านของตน เกิดเป็นอาชีพใหม่ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนและสมาชิกในครัวเรือน ประกอบด้วย การทำกระหรี่พัพฟ์ไส้ต่างๆ เช่น ไส้สัปปะรด ไส้กล้วยน้ำว้า นอกจากนี้ยังนำกล้วยน้ำว้ามาทำเป็นผลิตภัณฑ์ด้านการม้วนอบกรอบ รวมถึงการต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าจากผลิตภัณฑ์พื้นฐานมาเป็นทองม้วนสมุนไพรและทองม้วนสด โดยในปี พ.ศ. 2548 ทางชุมชนได้รับการรับรองทะเบียนจากสำนักงานอาหารและยา (อย.) และปีต่อมาทางชุมชนก็ได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ซึ่งทั้งหมดทั้งสิ้นนี้เกิดจากการระดมเงินทุนจากสมาชิกของกลุ่มบ้านเนินใหม่ พร้อมทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานของทางราชการ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบลโคกกรวด เป็นต้น ชุมชนได้รับแนวคิดทางด้านเศรษฐกิจพอเพียงในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในรัชกาลที่ 9 ที่เน้นการปฏิบัติไปสู่การเรียนรู้แบบมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน หลังจากการนำไปปฏิบัติจริงผลที่ได้เป็นที่น่าพึงพอใจเพราะนำไปสู่การเกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งขณะเดียวกันชาวชุมชนยังเสนอโดยการต่อยอดกิจกรรมดังกล่าวไปสู่กระบวนการผลิตเต็มรูปแบบจนก่อให้เกิดการขายนำมาซึ่งรายได้เสริมได้อีกทางหนึ่ง โดยจะส่งผลเกิดเป็นกลยุทธ์ในการสร้างแนวทางในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อออกสู่ตลาดอย่างเป็นระบบและเพิ่มความน่าสนใจในการดึงดูดลูกค้าในกลุ่มที่หลากหลายมากขึ้น นำมาซึ่งการสะท้อนให้เห็นถึงการดำรงชีวิตที่ดีขึ้นให้กับคนในชุมชนบ้านเนินใหม่ต่อไป ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากความสำคัญข้างต้น ผู้วิจัยได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญจึงได้ศึกษาเรื่อง “เส้นนวัตกรรมแหล่งการเรียนรู้สู่ความพอเพียงแบบยั่งยืน” โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการนำมาซึ่งตัวแบบของเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยขอบเขตของการศึกษาเป็นไปเพื่อกระตุ้นแนวคิด การเรียนรู้ วิถีชีวิตและกิจกรรมของชุมชนนำไปสู่การพัฒนาให้เป็นแหล่งการเรียนรู้สู่ความพอเพียงอย่างยั่งยืน ที่สำคัญที่งานวิจัยขอนำเสนอคือ ในระดับองค์กรภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงอุตสาหกรรมควรมีการดำเนินการในกลยุทธด้านการวางแผนจัดการทางการจัดฝึกอบรมสมาชิกกลุ่มย่อยในชุมชนเพื่อให้เกิดความรู้ได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะในเรื่องของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแก่ชุมชนเนินใหม่สู่การเป็นแหล่งการเรียนรู้สู่ความพอเพียงแบบยั่งยืนอย่างแท้จริง

(ภาษาอังกฤษ)
Tourism is the service sector that plays an important role in the economy of Thailand. Nowadays, the trend of travel for tourists is more interested in ecotourism or sustainable tourism. This may be due to the need to experience nature and learn about the local culture. This is considered to increase the channel to generate income for the people in the community and to make the community different, which is unique to the community by emphasizing the uniqueness of the community. Besides it will be different from other communities. The research uses the model of stimulating and building the civilization with integrated tourism idea of the community by cooperating the marketing strategy to attract the tourists. Entering into the area with knowledge from government agencies and having the opportunity to speak with the community leader bring up the awareness with in the community. The OTOP products have been created for sale as well as the community members are aware of opportunities to add the value via community's resources available within their village. It was born as a new occupation that generates income for community and household members, consisting of making curry puff fillings such as pineapple and banana. In addition, Namwa bananas are also used to make crispy rolls including the extension to create value from basic products into herbal and fresh Thong Muan sweets. In 2005, the community was certified by the Food and Drug Administration (FDA) and the following year the community received Product Certification as the community product standards. All of which was generated from funding from members of Ban Noen Mai Group. It also received the support from many government agencies such as the Department of Agricultural Extension and the Khok Kruat Subdistrict Administrative Organization, etc. The community received the Sufficiency Economy concept in the initiative of King Bhumibol Adulyadej in the reign of King Rama IX, focusing on practice towards stable, prosperous and sustainable learning after implementation. It is desirable because it leads to the birth of a new product. At the same time, the community also proposed by extending the production process, generating sales and bringing additional income. It will result in a strategy to create a competitive approach for community products entering to the diversified market and increase the attractiveness of customers in a more diverse group. Moreover, it brings a reflection of a better life to the people of the Ban Noen Mai community. Therefore, considering the above importance the researcher realized the importance and therefore studied "Innovative Learning Resource Line for Sustainable Sufficiency" through the participation of communities in modeling the path for sustainable tourism. The scope of the study is to stimulate the concept of learning, way of life and activities of the community leading to the development of a sustainable learning source for self-sufficiency. The key that the research offers is at the governmental organization level, in particular the Ministry of Industry, there should be a strategy for planning, organizing, and training of community members to gain knowledge thoroughly. Especially in the matter of environmentally friendly packaging for the new community to become a truly sustainable self-sufficiency learning resource.

Impact Level
Impact

(ภาษาไทย)
ผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกแบ่งออกเป็น ผลประโยชน์ทางตรง และ ผลประโยชน์ทางอ้อม
ผลประโยชน์ทางตรง
1. รายได้จากการขายทัวร์ชุมชน ซึ่งสามารถแบ่งกระจายสู่ชุมชนให้เป็นค่าอาหาร ค่าวิทยากรซึ่งอาจเป็นชาวบ้านผู้นำกิจกรรม และยังสามารถนำรายได้มาพัฒนาชุมชนต่อไปได้อีกด้วย
2. รายได้จากการขายสินค้า ผลิตภัณฑ์ในชุมชน เมื่อชุมชนสามารถขายสินค้าโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง รายได้ในส่วนนี้จะเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยีงช่วยส่งเสริมให้ชาวบ้าน มีอาชีพทำที่สามารถทำได้ในท้องถิ่น
3. รายได้จากการใช้จ่ายอื่นๆของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวศึกษาชุมชน

ผลประโยชน์ทางอ้อม
1. ชุมชนได้ทำกิจกรรมร่วมกันและสร้างเสริมความสามัคคีในชุมชน
2. เสริมสร้างการจ้างงานในชุมชน
3. การให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนถือเป็นประโยชน์ระยะยาวกับชุมชน เช่นการลงแรงปลูกผัก การช่วยกันทำเห็ด สิ่งเหล่านี้ยังอยู่กับชุมชนต่อไป
4. ชุมชนมีการทำงานที่หลากหลาย ผลิตภัณฑ์หลากหลายแล้ว ชุมชนเองสามารถพึ่งพาซึ่งกันและกันได้ในระยะยาว และนี่คือสิ่งที่ก่อให้เกิดความสามัคคี และจะสามารถพัฒนาชุมชนไปได้อย่างยั่งยืน

(ภาษาอังกฤษ)
Economic benefits are divided into direct benefit and indirect benefit
Direct Benefit
1. Income from the sale of community tours which can be distributed to the community as food costs fees for speakers who may be villagers leading the activities and can also bring income to develop the community further.
2. Revenue from product sales, when the community can sell products without middlemen, the income in this segment will increase. It also helps to encourage the villagers having jobs that can be done locally.
3. Income is from other expenditures of tourists who come to participate and learn on community tourism.

Indirect Benefit
1. The community has participated in activities together and promotes unity in the community.
2. Enhancing employment is in the community.
3. The participation in community activities is a long-term benefit to the community such as the cultivation of vegetables such as organic mushrooms.
4. The community has a variety of work, a wide variety of products making the community itself can support on each other in the long run. And this is what creates unity and is be able to develop the community sustainably.

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากล้วยมีชื่อ "ปูเล่"
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากล้วยมีชื่อ "ปูเล่"
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากล้วย ผงกล้วยน้ำว้าดิบ
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากล้วย ผงกล้วยน้ำว้าดิบ
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากล้วย ผงกล้วยน้ำว้าดิบในรูปแบบแคปซูล
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากล้วย ผงกล้วยน้ำว้าดิบในรูปแบบแคปซูล
กลุ่มสมาชิกบ้านเนินใหม่ที่ทำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วย
กลุ่มสมาชิกบ้านเนินใหม่ที่ทำผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วย
Faculty of Economics
Ms. Apiwan Simsrisuk
25 Aug 22 14:34