Target | Indicator | Result |
---|---|---|
SDG 4
QUALITY EDUCATION
|
||
SDG 10
REDUCED INEQUALITIES
|
ผลการดำเนิน “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG Economy” ในปี พ.ศ. 2565 ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้รับการจัดสรรพื้นที่ได้เข้าไปขับเคลื่อนดำเนินโครงการฯ จำนวน 107 ตำบล ครอบคลุม 30 อำเภอ 10 จังหวัด ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยที่ประกาศ เป็น “มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม” และมีแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี (2565-2580) เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการบริการวิชาการเพื่อสังคมและตอบโจทย์ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ซึ่งมหาวิทยาลัยได้ประกาศจุดยืน ในวันที่ 17 มิถุนายน 2565 ให้ประชาคม มศว ทราบว่า มหาวิทยาลัยได้กำหนดเป้าหมายการบริการวิชาการ เพื่อสังคม โดยเน้นเป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืนเป็นแนวทางให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินกิจกรรม ซึ่งหนึ่งในพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยเข้าไปขับเคลื่อนนั้น คือ ตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โดยมีคณะศึกษาศาสตร์เข้าไปขับเคลื่อน
ตำบลม่วงหมู่ มีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ คือ การผลิตกระถางต้นไม้ ที่ปั้นขึ้นรูปจากปูนซีเมนต์ที่มีส่วนผสมของ “โฟม”ซึ่งเกิดจากภูมิปัญหาของคนในชุมชนออกมาเป็นชิ้นงานโดยการนำของผู้นำอยู่บ้าน ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถต่อยอดและสร้างมูลค่าได้ และจะมีความยั่งยืนในอนาคต ถ้ามีกระบวนการการเสริมสร้างความรู้และทักษะอาชีพอย่างเป็นระบบเกิดขึ้นในชุมชน และจะมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนในตำบลม่วงหมู่ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม ความสามารถที่จะแข่งขันผ่านตลาดได้ และรักษาสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นส่งต่อรุ่นสู่รุ่นต่อไปในอนาคต
โดยกระบวนการการเสริมสร้างความรู้และทักษะอาชีพอย่างเป็นระบบที่จะให้เกิดขึ้นในชุมชนตำบลม่วงหมู่นั้น เพื่อการพัฒนาเสริมสร้างความรู้และทักษะอาชีพเพื่อพัฒนานวัตกรรมชุมชนการผลิตชิ้นงานจากปูนปั้นผสมโฟมให้เกิดขึ้นกับตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
1. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถออกแบบและพัฒนาชิ้นงานจากปูนซีเมนต์ที่ผสมของโฟมได้
2. เกิดผลิตภัณฑ์จากงานปูนปั้นผสมโฟมจากภูมิปัญญาของท้องถิ่นเป็นนวัตกรรมของชุมชมตำบลม่วงหมู่ และสามารถนำไปสู่การพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ตำบลม่วงหมู่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี