bg

โครงการบริการวิชาการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพการศึกษา กิจกรรม : การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลพร้อมใช้เพื่อการพึ่งพาตนเองและมีความรอบรู้ด้านสุขภาพการเงิน และเทคโนโลยีดิจิทัล สำหรับผู้สูงอายุ

Target Indicator Result
การศึกษาที่เท่าเทียม
SDG 4 QUALITY EDUCATION
ลดความเหลื่อมล้ำ
SDG 10 REDUCED INEQUALITIES
Caveat

ในปัจจุบัน จำนวนผู้สูงวัยในประเทศไทยได้ขยายตัวสูงขึ้นอันมาจากสาเหตุหลายปัจจัย ผู้สูงอายุมีเงื่อนไขความเป็นอยู่รวมถึงคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกัน ดังนั้นแม้ว่าภาครัฐฯหรือหน่วยงานต่างๆจะพยายามสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือในหลากหลายมิติ เช่น มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสุขภาพ มิติสภาพแวดล้อม หรือมิติด้านสังคม แต่ผู้สูงวัยมีความต้องการและมีเงื่อนไขในการพัฒนาหรือยกระดับคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามจุดร่วมสำคัญที่ผู้สูงวัยรวมถึงผู้ที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยได้แก่ การมีสุขภาวะที่ดี ซึ่งหมายถึงการที่ผู้สูงวัยมีความสมบูรณ์ทางด้านร่างกาย จิตใจ ปัญญารวมถึงความสมบูรณ์ทางสังคม เป็นองค์รวมอย่างสมดุล (พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการยกระดับและสร้างคุณค่าให้กับสังคมสูงวัยในปัจจุบันและสังคมสูงวัยในอนาคตของประเทศไทยประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ โดยมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ ๑๐ ของประชากรทั้งประเทศ ปัจจุบันมีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๑๙.๒ ของประชากรทั้งประเทศ และจะเข้าสู่สังคมสูงวัย ระดับสุดยอดในปี ๒๕๗๔ การที่ประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุมากกว่าร้อยละ ๒๘ ของประชากรทั้งประเทศ อันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ทำให้ประชากรไทยมีอายุยืนยาวมากขึ้นกว่าอดีต ซึ่งปัจจุบันอายุคาดเฉลี่ยคนไทยสูงถึงจากอายุ ๕๘ ปี เปลี่ยนเป็น ๗๗ ปี ในขณะที่อัตราการเจริญพันธ์ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจากผู้หญิง ๑ คนมีบุตรเฉลี่ย ๒ คน ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ จะลดลงเหลือผู้หญิง ๑ คนมีบุตรเฉลี่ย ๑.๔ คนในปี พ.ศ. ๒๕๗๒ และปัจจุบันสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่มีความท้าทายในหลากหลายมิติ โดยในอีก ๑๐ ปีข้างหน้าคาดว่าประชากรในกลุ่มอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป จะเป็นคลื่นสึนามิประชากรขนาดใหญ่ที่จะกลายเป็นผู้สูงอายุในอนาคต และคนกลุ่มนี้ต้องเผชิญปัญหาต่าง ๆ ในอนาคตเป็นกลุ่มแรก และประชากรในกลุ่มนี้ จะต้องแบกรับภาระมากขึ้นในอนาคต เพราะนอกจากจะต้องประกอบอาชีพและหารายได้เพื่อเลี้ยงดูตนเองแล้ว ยังต้องดูแลบิดามารดาที่ชราภาพ และบุตร รวมทั้งต้องจ่ายภาษีให้ภาครัฐ
ดังนั้น การเตรียมการเพื่อรองรับสังคมสูงวัย ที่คนไทยกำลังมีอายุยืนยาวขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องวางมาตรการเพื่อรองรับสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืนทั้งระบบในทุกมิติ ได้แก่ เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม สุขภาพ และสังคม โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการขับเคลื่อนงานทุกมิติ เริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมให้ประชากรไทยมีความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างมีคุณภาพ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุคงความเป็นพฤฒิพลัง (Active Ageing) ยาวนานที่สุด สามารถใช้ชีวิตยามสูงอายุอย่างมีคุณภาพในทุกมิติ และร่วมเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป
ปัจจุบันเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีส่วนสำคัญต่อการดำรงชีวิตของประชากรไทย และมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนทุกช่วงวัย ดังนั้น ในสถานการณ์สังคมสูงวัยของประเทศไทย จึงมีความจำเป็นที่ต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนมาตรการรองรับสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืนในทุกมิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม สุขภาพ และสังคม แต่ปัจจุบันการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้กับการทำงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรเพื่อรองรับสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืน ยังมีปัญหาในหลากหลาย ประเด็น อาทิ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยยังไม่รองรับให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถเบิกจ่ายงบประมาณด้านดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยงบประมาณของตนเองได้ ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งถูกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินท้วงติงการดำเนินภารกิจดังกล่าวไม่สามารถเบิกจ่ายได้ เพราะเป็นภารกิจที่ซ้ำซ้อนกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมผู้สูงอายุส่วนใหญ่ขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยี ประกอบกับความกังวลในเรื่องการขาดความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย ทำให้ผู้สูงอายุบางคนเข้าไม่ถึง และไม่ยอมรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ปัญหาการถูกมิจฉาชีพหลอกลวงจากสังคมบนโลกออนไลน์ และการได้รับข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนไม่เป็นความจริง นวัตกรรมที่ผลิตขึ้นไม่รองรับและสอดคล้องกับการเชื่อมต่อ/สัญญาณในประเทศไทย รวมถึงการขอใบอนุญาตจากภาครัฐที่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน ไม่เอื้อต่อการดำเนินงาน การทดลองนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่นำเข้าจากต่างประเทศมีขั้นตอนและระยะเวลาในการทดลองใช้นวัตกรรม ประมาณ ๖ เดือน และหากมีการนำเข้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมชิ้นใหม่ต้องใช้ระยะเวลาในขั้นตอนการขอใบอนุญาตนำเข้าแต่ละกรณี จึงทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นไปอย่างล่าช้าและขาดความต่อเนื่อง ต้นทุนการผลิตนวัตกรรมสูง ทำให้ประชาชนที่มีฐานะยากจนไม่สามารถเข้าถึงนวัตกรรมและเทคโนโลยี
ดังนั้น นวัตกรรมและเทคโนโลยีจึงเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ เพื่อรองรับสังคมสูงวัยคนไทยอายุยืน ๔ มิติ เพื่อตอบโจทย์แผนงานและนโยบายสำหรับผู้สูงอายุและประชากรทุกกลุ่มวัย การมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุเป็นภารกิจสำคัญที่ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องส่งเสริมแม้ว่าทางภาครัฐฯได้วางนโยบายหรือแผนระยะยาวเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามทุกนโยบายและแผนงานต้องการกระตุ้นให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาความยั่งยืนและมั่นคงของสังคมสูงวัยทั้งในปัจจุบันและอนาคต ยกตัวอย่างเช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปี 2550 ถึง 2555 มุ่งเน้นให้นำความพอเพียงและประหยัดอดออม โดยมีการสร้างรูปแบบการออมที่หลากหลายซึ่งเน้นการให้ทุกภาคส่วนส่งเสริมการออมร่วมกันรวมถึงชุมชนและท้องถิ่น และยังมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะที่ 12 ปี 2560 ถึง 2564 ที่ส่งเสริมให้มีเครือข่ายระหว่างองค์กรต่างๆ เพื่อให้พัฒนานวัตกรรมทางสังคมและวัตถุที่จะอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุและผู้พิการ รวมถึงแนะนำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการค้นหาและดูแลครอบครัวเปราะบางและสมาชิกในครอบครัวเปราะบาง ให้สามารถพ้นจากสภาวะเปราะบางและเข้าถึงบริการสังคมต่างๆ แม้ว่าแผนงานและนโยบายดังกล่าวจะนำไปสู่การสร้างความร่วมมือในแต่ละพื้นที่แต่ยังจำเป็นต้องเติมเต็มด้านการมีส่วนร่วมจากผู้สูงอายุโดยต้องเริ่มจากการสร้างแจงจูงใจและการตระหนักถึงการพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืนในผู้สูงวัย
การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสู่สังคมสูงวัยควรเกิดขึ้นจากการระดมสมองโดยเน้นการสร้างเทคโนโลยีดิจิทัลที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมทั้งจากในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล รวมถึงชุมชน เพื่อแบ่งปันทรัพยากรซึ่งกันและกันโดยไม่จำเป็นต้องเน้นการให้ความช่วยเหลือในรูปแบบตัวเงินหรืองบประมาณ และประเด็นหลักที่สำคัญในฐานะเป้าหมายเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล ได้แก่ การสร้างความรู้ความเข้าใจที่นำไปสู่แนวปฏิบัติด้านสุขภาพ การเงิน และเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่สังคมสูงวัย
ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย โดยผนวกกับต้นทุนทางสังคมของชุมชนในมิติต่างๆ 4 มิติ อันได้แก่ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม มิติด้านสุขภาพ และมิติด้านสิ่งแวดล้อม และในขณะเดียวกันแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับชุมชนในทั้ง 4 มิติดังกล่าวเช่นกัน
ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาตลอดชีวิตได้เห็นความสำคัญของงานผู้สูงอายุในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการ “การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลพร้อมใช้เพื่อการพึ่งพาตนเองและมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ การเงิน และเทคโนโลยีดิจิทัล สำหรับผู้สูงอายุ” นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแพลตฟอร์มเทคโนโลยีในรูปแบบ UNIVERSAL DESIGN เพื่อนำไปผนวก ที่นำไปสู่แนวปฏิบัติด้านสุขภาพ การเงิน และเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่สังคมสูงวัย ขึ้น

Impact Level
Impact

1. ชุมชนเป้าหมาย (user) นำแพลตฟอร์มดิจิทัลไปใช้แล้วสามารถทำให้สนับสนุนสังคมสูงวัยใน 4 มิติ ได้
2. ชุมชนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับแพลตฟอร์มดิจิทัลของโครงการรวมถึงการใช้งานและผลจากกิจกรรมต่างๆที่มาจากการใช้แพลตฟอร์ม