bg

A 600-Liter Community Kiln For Producing Biochar And Wood Vinegar From Agricultural Waste Using Hot Gas From A Biomass Burner (เตาชุมชนขนาด 600 ลิตร สำหรับผลิตถ่านชีวภาพและน้ำส้มควันไม้จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรโดยใช้แก๊สร้อนจากหัวเผาแก๊สชีวมวล)

Target Indicator Result
พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
SDG 7 AFFORDABLE AND CLEAN ENERGY
7.2 By 2030, increase substantially the share of renewable energy in the global energy mix 7.2.1 Renewable energy share in the total final energy consumption ได้ถ่านชีวภาพครั้งละ 40-50 กิโลกรัม และได้น้ำส้มควันไม้ 80-100 ลิตร ต่อการเผา 1 ครั้ง และการเผาแต่ละครั้งใช้เวลาไม่เกิน 8 ชั่วโมง และลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ในการประกอบอาชีพ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ระดับอุตสาหกรรม โดยเวลาที่ใช้ในการเผาถ่านคือ 2.75, 3.15 และ 3.58 ชั่วโมง เมื่อเศษไม้บรรจุในเตาเผาถ่านที่ร้อยละ 50 75 และ 100 ของปริมาตรเตา คิดเป็นน้ำหนักเศษไม้ที่ 100 150 และ 200 กิโลกรัมตามลำดับ
ทำให้ได้ผลผลิตถ่านร้อยละ 27.03, 26.03 และ 26.63 เมื่อเทียบกับน้ำหนักไม้แห้งตามลำดับ และการเผาถ่านได้น้ำส้มควันไม้ปริมาณร้อยละ 42.47, 39.01 และ 38.05 โดยน้ำหนักเทียบกับน้ำหนักไม้แห้งตามลำดับ
Caveat

ตำบลเขาพระ เป็นตำบลขนาดกลางของอำเภอเมือง จังหวัดนครนายก มีพื้นที่ทั้งหมด 23,962 ไร่ พื้นที่ทิศเหนือติดต่อกับอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พื้นที่ทางตอนบนบางส่วนอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีภูเขาติดต่อกันเป็นเทือก ส่วนทางตอนกลางและตอนล่างเป็นที่ราบลุ่ม ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวน ทำนา และมีบ้างที่ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ โดยมีพื้นที่ทำการเกษตรรวม 16,870 ไร่ โดยพืชสวนที่สำคัญประกอบด้วย มะยงชิด มะปรางหวาน ทุเรียน มังคุด กระท้อน มะม่วง และส้มโอ การปลูกไม้ผล โดยเฉพาะมะยงชิดเพื่อให้มะยงชิดติดผล ผลดกและผลมีรสชาติดี ต้องมีการใส่ปุ๋ย สารปรับปรุงสภาพดิน และสารไล่ศัตรูพืช โดยปุ๋ย สารปรับปรุงสภาพดิน และสารไล่สัตรูพืช ที่นิยมใช้ เช่น ปุ๋ยมูลสัตว์ ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ น้ำส้มควันไม้ ถ่านชีวภาพ เป็นต้น ปัจจุบันในชุมชนมีการเผาถ่านเพื่อผลิตถ่านหุงต้มและถ่านชีวภาพจากกิ่งไม้ที่เกิดจากการตกแต่งสวนโดยเตาเผาถ่านที่ใช้มักจะเป็นเตาถังน้ำมันเก่าขนาด 200 ลิตร มีทั้งแบบตั้งและแบบนอน ในการเผาถ่านแต่ละครั้งใช้เวลาในการเผาถ่านนาน ได้ผลผลิตถ่านไม่คุ้มค่ากับแรงงานที่ใช้ในการเผาถ่าน อีกทั้งเตาเผาถ่านดังกล่าวสามารถเก็บน้ำส้มควันได้บ้างไม่ได้บ้าง แม้ว่าบางรุ่นออกแบบให้เก็บน้ำส้มควันไม้ได้แต่ก็เก็บได้ในบริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ อีกทั้งการเผาถ่านด้วยถังน้ำมันเก่าขนาด 200 ลิตรมักก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศมาก บางครั้งควันที่เกิดจากการเผาถ่านรบกวนเพื่อนบ้านจึงต้องหยุดเผากลางคัน

วิสาหกิจชุมชนรักษ์ดินถิ่นพลังงานยั่งยืน ตั้งอยู่ที่ ต.เขาพระ อ.เมืองนครนายก จ.นครนายก โดยมีนายปกรณ์ ทรัพย์เจริญ เป็นประธานกลุ่ม โดยที่ผ่านมาทางประธานและสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเข้ามาขอคำปรึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการผลิตน้ำส้มควันไม้และถ่านชีวภาพจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนรักษ์ดินถิ่นพลังงานยั่งยืน มีความตั้งใจจะพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำส้มควันไม้และถ่านชีวภาพเพื่อใช้ในการทำการเกษตรแบบอินทรีย์และพึ่งพาตนเอง ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ในการประกอบอาชีพ ปัจจุบันสมาชิกในกลุ่มมีการชื้อน้ำส้มควันไม้และถ่านชีวภาพมาใช้เพื่อเร่งการออกดอก การติดผลของมะยงชิด เร่งการเติบโตของผล และเพิ่มรสชาดให้ผลมะยงชิด ตลอดจนวัสดุเหลือทิ้งจากสวนผลไม้ก็ไม่ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์น้ำส้มควันไม้และถ่านชีวภาพจึงได้เกิดหัวข้อวิจัยในการพัฒนาเตาขนาด 600 ลิตร สำหรับผลิตน้ำส้มควันไม้และถ่านชีวภาพจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรโดยใช้แก๊สร้อนจากหัวเผาแก๊สชีวมวลขึ้น ซึ่งเป็นขนาดเตาที่ทางชุมชนประเมินเบื้องต้นแล้วว่ามีความคุ้มค่าในการผลิตถ่านและน้ำส้มควันไม้โดยคาดการว่าจะได้ถ่านชีวภาพครั้งละ 40-50 กิโลกรัม และได้น้ำส้มควันไม้ 80-100 ลิตร ต่อการเผา 1 ครั้ง และการเผาแต่ละครั้งใช้เวลาไม่เกิน 8 ชั่วโมง

Impact Level
Impact

วิสาหกิจชุมชนรักษ์ดินถิ่นพลังงานยั่งยืน สามารถผลิตน้ำส้มควันไม้และถ่านชีวภาพจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรโดยใช้แก๊สร้อนจากหัวเผาแก๊สชีวมวลขึ้น ซึ่งเป็นขนาดเตาที่ทางชุมชนประเมินเบื้องต้นแล้วว่ามีความคุ้มค่าในการผลิตถ่านและน้ำส้มควันไม้ซึ่งจะได้ถ่านชีวภาพครั้งละ 40-50 กิโลกรัม และได้น้ำส้มควันไม้ 80-100 ลิตร ต่อการเผา 1 ครั้ง และการเผาแต่ละครั้งใช้เวลาไม่เกิน 8 ชั่วโมง และลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ในการประกอบอาชีพ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ระดับอุตสาหกรรม โดยมีผลการวิจัยดังนี้

1. ได้เตาเผาถ่านขนาด 600 ลิตร
2. ผลการทดลองพบว่าเวลาที่ใช้ในการเผาถ่านคือ 2.75, 3.15 และ 3.58 ชั่วโมง เมื่อเศษไม้บรรจุในเตาเผาถ่านที่ร้อยละ 50 75 และ 100 ของปริมาตรเตา คิดเป็นน้ำหนักเศษไม้ที่ 100 150 และ 200 กิโลกรัมตามลำดับ
3. ให้ผลผลิตถ่านร้อยละ 27.03, 26.03 และ 26.63 โดยน้ำหนัก เมื่อเทียบกับน้ำหนักไม้แห้งตามลำดับ
4. การเผาถ่านได้น้ำส้มควันไม้ปริมาณร้อยละ 42.47, 39.01 และ 38.05 โดยน้ำหนักเทียบกับน้ำหนักไม้แห้งตามลำดับ
5. ผลการวิเคราะห์คุณภาพของถ่านและน้ำส้มควันไม้พบว่าถ่านเศษไม้ที่เหลือจากกระบวนการผลิตพาเลทไม้และน้ำส้มควันที่ได้มีสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

Faculty of Engineering
Ms. Areerat Laonoi
20 Dec 24 14:57