bg

โครงการเครือข่ายวิชาชีพแพทย์เพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ (The Tobacco Consumption Control Project: Thai Physicians Alliance Against Tobacco (Tpaat))

Target Indicator Result
มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
SDG 3 GOOD HEALTH AND WELL-BEING
3.4 By 2030, reduce by one third premature mortality from non-communicable diseases through prevention and treatment and promote mental health and well-being 3.4.1 Mortality rate attributed to cardiovascular disease, cancer, diabetes or chronic respiratory disease Number of mortality attributed to smoking related diseases = 72,656 cases per year
3.a Strengthen the implementation of the World Health Organization Framework Convention on Tobacco Control in all countries, as appropriate 3.a.1 Age-standardized prevalence of current tobacco use among persons aged 15 years and older 1. จัดอบรมหลักสูตร Tobacco Cessation Provider (TCP) มีผู้ผ่านการอบรม 23 คน และหลักสูตร Tobacco Cessation Instructor (TCI) มีผู้ผ่านการอบรม 20 คน
2. ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลการให้บริการเลิกยาสูบและการส่งต่อผู้ป่วย ระหว่างคลินิกฟ้าใสและสายเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์ 1600 มีผู้เข้ารับบริการทั้งสิ้น 185,748 ราย เลิกสำเร็จระยะ 6 เดือน จำนวน 30,731 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.54 ของผู้รับบริการทั้งหมด (ข้อมูล ณ วันที่ 28 กันยายน 2565)
3. จัดทำแนวทางปฏิบัติในการให้บริการเลิกบุหรี่ เฉพาะโรคของแต่ละสมาคม (9 โรค) โดยบรรจุอยู่ในหนังสือ “แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการบำบัดการเสพนิโคตินในประเทศไทย ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2564
4. การผลักดันยาเลิกบุหรี่ “ไซทีซีน” ให้ได้รับการพิจารณาเข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ โดยองค์การเภสัชกรรมได้มีการยื่นเอกสารข้อมูลเพื่อเสนอจดทะเบียนยากับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) คาดการณ์ว่าจะขึ้นทะเบียนได้สำเร็จประมาณ พ.ศ. 2566

Prevalence of regular smoker (aged 15 years and older) = 16.8 %
ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
SDG 17 PARTNERSHIPS FOR THE GOALS
Caveat

'บุหรี่' กับความท้าทายไทย ป้องกันเยาวชน ก้าวสู่ 'นักสูบหน้าใหม่'

การสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของการเสียชีวิต ความพิการทั่วโลก ไทยมีการทำงานเพื่อลดการสูบบุหรี่มากกว่า 10 ปี จากผู้สูบ 35% ของประชากรในปี 2535 ลดลงมาอยู่ที่ 17% ขณะเดียวกัน เรื่องที่น่าห่วง คือ การเข้าถึงง่ายของบุหรี่ไฟฟ้า ที่จะทำให้เกิดนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้น

Key Point :
- ปัญหาการสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยเสี่ยงเสียชีวิตและพิการทั่วโลก ในอาเซียน พบว่า อินโดนีเซีย มีผู้สูบบุหรี่กว่า 65 ล้านคน ขณะที่ไทยมีอยู่ราว 12 ล้านคน
- แม้ประเทศไทยจะสามารถลดการบริโภคบุหรี่ลงจาก 35% ในปี 2535 มาอยู่ที่ 17% แต่อัตราการลดลงกลับชะลอเนื่องจากการเข้าถึง 'บุหรี่ไฟฟ้า'
- บุหรี่ไฟฟ้า ไม่เพียงจะเพิ่มนักสูบหน้าใหม่ ยังมีโอกาสที่จะทำให้ผู้สูบบุหรี่มวนทั่วไป หันมาสูบทั้งสองชนิดอีกด้วย

ประเทศไทยรณรงค์ลดการบริโภคบุหรี่มากกว่า 10 ปี จากผู้สูบ 35 % ของประชากรในปี 2535 ลดลงมาอยู่ที่ 17 % ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยังน่าเป็นห่วง คือ บุหรี่ไฟฟ้าทำให้เกิดผู้สูบหน้าใหม่จากการเข้าถึงได้ง่ายแม้จะยังไม่ถูกกฎหมาย รวมถึงผู้สูบบุหรี่มวนที่หันไปใช้บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในการสูบทั้งสองอย่างมากขึ้น

การสูบบุหรี่ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของการเสียชีวิตและความพิการทั่วโลก 'ดร.สุราช วิลสัน' หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้านการเลิกบุหรี่ บริษัท เคนวิว จำกัด (Kenvue) เปิดเผยว่า แม้ว่าอัตราการสูบบุหรี่ได้ลดลงในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา แต่จำนวนผู้สูบบุหรี่ทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เนื่องจากการเติบโตของประชากร ข้อมูลสถิติการสูบบุหรี่จากการประชุมนานาชาติเรื่องการติดนิโคติน ซึ่งจัดขึ้นที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย (KLNAC) พบว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่ในวัยผู้ใหญ่จาก 6 ประเทศอาเซียน อินโดนีเซีย มีจำนวนกว่า 65 ล้านคน , ฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม 20 ล้านคน , ไทย 12 ล้านคน , มาเลเซีย 5 ล้านคน และ สิงคโปร์ราว 1 ล้านคน

สำหรับในประเทศไทย มีความพยายามลดการบริโภคบุหรี่มาอย่างต่อเนื่อง เมื่อดูตัวเลขผู้สูบในปี 2535 พบว่า มีจำนวนกว่า 35 % ของประชากร หรือกว่า 1 ใน 3 และในปัจจุบัน ลดลงมาเหลือราว 17 % ของประชากร แต่อัตราการลดลงของผู้สูบกลับมีการชะลอในระยะ 5-6 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ราว 0.5 – 1 % ต่อปี จากเดิมที่ลดได้ค่อนข้างเยอะราว 4-5 % ต่อปี

ลดผู้สูบหน้าใหม่

รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบการหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) รองประธานเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ กล่าวว่า การลดปริมาณคนสูบบุหรี่ในประเทศ ต้องทำงาน 2 อย่าง คือ

1. ลดผู้สูบหน้าใหม่ โดยการให้ความรู้ ทัศนคติ ค่านิยมใหม่แก่เยาวชน ให้เห็นว่าการสูบบุหรี่ หรือ บุหรี่ไฟฟ้า ไม่ใช่สิ่งที่พึงปฏิบัติและไม่ใช่เรื่องปกติ ต้องอาศัยงานเชิงนโยบายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กวดขัน จับกุม ป้องกันไม่ให้เด็กเข้าถึงผลิตภัณฑ์ ที่ผ่านมาก่อนมีบุหรี่ไฟฟ้าการป้องกันผู้สูบหน้าใหม่ทำได้ค่อนข้างดี แต่พอมีบุหรี่ไฟฟ้า ความอยากรู้อยากลองของเด็กทำให้ควบคุมยาก

และ 2. ลดผู้สูบปัจจุบัน การที่บุหรี่ไฟฟ้ายังโดนแบนทำให้คนที่จะเปลี่ยนจากบุหรี่มวนไปสู่บุหรี่ไฟฟ้าโดยเชื่อว่าจะสามารถเลิกบุหรี่ได้จึงยังไม่มาก แต่เมื่อไรที่ประเทศไทยเปลี่ยนไปเปิดให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย จะมีคนลองเยอะขึ้น

สิ่งที่กังวล คือ มีงานวิจัยว่า คนที่เปลี่ยนตัวเองจากบุหรี่มวนมาเป็นบุหรี่ไฟฟ้า ช่วงต้นจะรู้สึกมีความสุขด้วยการปรุงแต่ง รส กลิ่น แต่เมื่อใช้ไปนานๆ ด้วยปริมาณนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าสูงและดูดซึมเร็ว กว่า 80% ของนิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้าเป็นนิโคตินสังเคราะห์ สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ ทำให้เกิดภาวะดื้อนิโคติน อยากได้นิโคตินแรงขึ้น สุดท้ายต้องกลับไปสูบบุหรี่มวนและสูบบุหรี่ไฟฟ้า

เครือข่ายบริการเลิกบุหรี่

ทั้งนี้ การทำงานลดการบริโภคบุหรี่ในประเทศไทยมีมากว่า 10 ปี จากหลายภาคส่วนที่ให้ความสำคัญ เกิดเครือข่ายวิชาชีพสุขภาพ เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พัฒนาความเข้มแข็งด้านวิชาการและบริการ สร้างโมเดลคลินิกต้นแบบและเครือข่ายบริการให้เกิดในไทย ถัดมา คือ การพัฒนาบุคลากร ผลักดันให้เกิดหลักสูตรอบรม แนวทางเวชปฏิบัติ รวมถึงจัดอบรมออนไลน์ให้แก่แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ นักกายภาพ เภสัชกร ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ

พัฒนาบริการอย่าง 'คลินิกฟ้าใส' จาก 5 คลินิกเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล จนปัจจุบันมีมากว่า 100 แห่งทั่วประเทศ โดยมีการอบรมบุคลากรของแต่ละคลินิก สนับสนุนอุปกรณ์และยาเลิกบุหรี่ รวมถึง เปิดสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 โทรฟรีทุกวัน 08.00 – 20.00 น. โดยในปีที่ผ่านมา มีผู้รับบริการคลินิกและสายด่วนรวมกว่า 100,000 ราย อัตราการเลิกบุหรี่สำเร็จช่องทางสายด่วนราว 40% และคลินิกราว 15-20%

ตัวช่วยเลิกบุหรี่

รศ.นพ.สุทัศน์ กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบัน มีนิโคตินทดแทนซึ่งสามารถช่วยให้ผู้สูบบุหรี่มีโอกาสเลิกได้ เพราะเป็นการใช้นิโคตินในรูปแบบทางการแพทย์ ไม่มีการปรุงแต่งกลิ่น ปริมาณไม่มาก วัตถุประสงค์เพื่อลดอาการอยากบุหรี่ ภาษาชาวบ้าน คือ ถอนนิโคติน ให้ผู้สูบที่อยู่ในกระบวนการเลิกไม่ลงแดงจากการขาดนิโคตินและหย่าขาดได้ในที่สุด ดังนั้นหลังจากการรักษาไป 3-6 เดือน เป้าหมาของการรักษา คือ ชีวิตต้องไม่มีนิโคติน

ทั้งนี้ นิโคตินทดแทน มีใช้ในโรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา หากเป็นสมัยก่อนจะต้องใช้ใบสั่งแพทย์ แต่ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เปลี่ยนยากลุ่มนี้จากยาอันตราย เป็นยาที่ซื้อขายได้ตามร้านขายยา โดยในประเทศไทยตอนนี้มี 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.แผ่นแปะ ที่ผิวหนัง ใช้เวลาดูดซึมออกฤทธิ์ราว 1 ชั่วโมง ออกฤทธิ์ช้าแต่อยู่ได้นานเกือบ 24 ชั่วโมง 2. หมากฝรั่ง ใช้เวลาออกฤทธิ์ราว 10-15 นาที อยู่ได้ราว 1.30 ชั่วโมง และ 3. เมาท์สเปรย์ ออกฤทธิ์เร็ว 30 วินาที ลดอาการอยากบุหรี่ได้เร็ว แต่อยู่ได้ราว 1 ชั่วโมง

ท้ายนี้ รศ.นพ.สุทัศน์ กล่าวถึงความท้าทายในการลดการบริโภคบุหรี่ในไทย ว่า ภาครัฐ ต้องมีนโยบายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมในการสนับสนุนให้ทุกโรงพยาบาลมีบริการเลิกบุหรี่แก่ประชาชน การมียาเลิกบุหรี่ที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ มากกว่า 1 ตัวในอนาคต จะสามารถเลือกยาที่เหมาะสมให้กับคนไข้แต่ละรายได้ รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายที่เคร่งครัดมากขึ้น การจับกุมผู้ฝ่าฝืน เช่น คนที่ขายบุหรี่ไฟฟ้าให้กับเด็ก การปกป้องเยาวชนต้องมีความชัดเจน

Impact Level
Impact

- ปัจจุบันมีคลินิกฟ้าใสมากกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ โดยมีการอบรมบุคลากรของแต่ละคลินิก สนับสนุนอุปกรณ์และยาเลิกบุหรี่ รวมถึง เปิดสายด่วนเลิกบุหรี่ 1600 โทรฟรีทุกวัน 08.00 – 20.00 น.
- ปี พ.ศ. 2566 มีผู้รับบริการคลินิกและสายด่วนรวมกว่า 100,000 ราย อัตราการเลิกบุหรี่สำเร็จช่องทางสายด่วนราว 40% และคลินิกราว 15-20%

'บุหรี่' กับความท้าทายไทย ป้องกันเยาวชน ก้าวสู่ 'นักสูบหน้าใหม่'
'บุหรี่' กับความท้าทายไทย ป้องกันเยาวชน ก้าวสู่ 'นักสูบหน้าใหม่'
ดร.สุราช วิลสัน หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้านการเลิกบุหรี่ บริษัท เคนวิว จำกัด (Kenvue)
ดร.สุราช วิลสัน หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกด้านการเลิกบุหรี่ บริษัท เคนวิว จำกัด (Kenvue)
รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบการหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบการหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ