bg

Impacts Of Land Use Management On Riparian Ecosystem Along The Rivers, Phra Prong Watershed, Eastern Thailand

Target Indicator Result
การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
SDG 6 CLEAN WATER AND SANITATION
6.1 By 2030, achieve universal and equitable access to safe and affordable drinking water for all 6.1.1 Proportion of population using safely managed drinking water services ค่าปฏิกิริยาความเป็นกรด-ด่างของน้ำในแม่น้ำพระปรงที่ไหลผ่านพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท พบว่ามีค่า pH อยู่ระหว่าง 6 – 7
การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
SDG 14 LIFE BELOW WATER
14.3 Minimize and address the impacts of ocean acidification, including through enhanced scientific cooperation at all levels 14.3.1 Average marine acidity (pH) measured at agreed suite of representative sampling stations ค่าปฏิกิริยาความเป็นกรด-ด่างของน้ำในแม่น้ำพระปรงที่ไหลผ่านพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท พบว่ามีค่า pH อยู่ระหว่าง 6 – 7
การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
SDG 15 LIFE ON LAND
15.1 By 2020, ensure the conservation, restoration and sustainable use of terrestrial and inland freshwater ecosystems and their services, in particular forests, wetlands, mountains and drylands, in line with obligations under international agreements 15.1.2 Proportion of important sites for terrestrial and freshwater biodiversity that are covered by protected areas, by ecosystem type ค่าปฏิกิริยาความเป็นกรด-ด่างของน้ำในแม่น้ำพระปรงที่ไหลผ่านพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท พบว่ามีค่า pH อยู่ระหว่าง 6 – 7
Caveat

โครงการนี้เป็นโครงการที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2564 จนถึง 2565 ในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์คุณภาพน้ำเพื่อการเกษตรของประชากรจังหวัดสระแก้ว ที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำเพื่อการประกอบอาชีพประจำทุกปี ซึ่งส่วนใหญ่ประชากรที่พักอาศัยอยู่ลุ่มน้ำคลองพระปรง จังหวัดสระแก้ว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำพื้นที่ลุ่มน้ำคลองพระปรง และวิเคราะห์ลักษณะเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนในพื้นที่คลองน้ำพระปรง จ.สระแก้ว ซึ่งทำการเก็บข้อมูลคุณภาพน้ำ ใน 2 ช่วงเวลาด้วยกัน คือ ช่วงฤดูแล้ง (เมษายน) และช่วงฤดูฝน (สิงหาคม) ซึ่งมีพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ พื้นที่ป่าริมคลอง สวนป่ายูคาลิปตัส ไร่อ้อย และวนเกษตร โดยดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำที่ทำการศึกษาได้แก่ อุณหภูมิ (temperature) ปริมาณออกซิเจน ละลายน้ำ (DO) ค่าความโปร่งใสของน้ำ (transparency) ค่าปริมาณออกซิเจนที่ต้องการเพื่อใช้ไปในกระบวนการต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด (BOD) ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ปริมาณสารหนู (As) และสังกะสี (Zn) ในแหล่งน้ำ ทั้งนี้การดำเนินโครงการฯ มีความจำเป็นที่ต้องศึกษาถึงคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง และในปี 2566 ทางวิทยาลัยโพธิวิชชาลัยจะต่อยอดถึงผลกระทบและแนวทางการพัฒนาคุณภาพน้ำที่เหมาะสมแก่ชุมชนในระยะต่อไป

Impact Level
Impact

ผลการดำเนินการพบว่า
1. คุณภาพน้ำ:
- อุณหภูมิ (Temperature) ของน้ำเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 27 – 30 องศาเซลเซียส อยู่ในเกณฑ์คุณภาพน้ำที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้า
- ปริมาณออกซิเจนละลาย (Dissolved Oxygen, DO) พบว่าในช่วงฤดูแล้ง น้ำในบางจุดบางพื้นที่ลุ่มน้ำพระปรงมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำน้อยต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำ (ต่ำกว่า 3 mg/l) ในช่วงฤดูฝนพบว่า ทุกจุดมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำสูงกว่ากว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำ
- ความโปร่งใส (Transparency) ในฤดูแล้งส่วนใหญ่พื้นที่แต่ละจุดมีค่าความโปร่งใสมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด นั่นคือ น้ำค่อนข้างใสทำให้มีระยะการมองเห็นอยู่ที่เกิน 60 ซม. ในขณะที่ในฤดูฝนเกือบทุกพื้นที่มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดคือ ต่ำกว่า 30 ซม. โดยค่าความโปร่งใสที่กำหนดอยู่ระหว่าง 30-60 ซม. ซึ่งเป็นช่วงที่มีความเหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ
- ปริมาณออกซิเจนที่จุลินทรีย์ใช้ในการสลายอินทรีย์ในน้ำ (BOD) ในช่วงฤดูแล้งพบบริเวณป่าริมคลอง (จุดที่ 1) มีค่า BOD สูงสุดเท่ากับ 5.3 mg/l รองลงมาคือ ไร่อ้อย(จุดที่ 9) เท่ากับ 4.9 mg/l ในขณะที่มี 4 จุดเก็บตัวอย่างที่ไม่พบค่า BOD ส่วนช่วงฤดูฝนส่วนใหญ่มีค่า BOD สูงกว่าช่วงฤดูแล้ง ในทุกประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
- ค่าปฏิกิริยาความเป็นกรด-ด่างของน้ำในแม่น้ำพระปรงที่ไหลผ่านพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท พบว่ามีค่า pH อยู่ระหว่าง 6 – 7
- ปริมาณ As และ Zn ในแหล่งน้ำทุกพื้นที่จึงอยู่ใน เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
- ในภาพรวมดัชนีคุณภาพน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำผิวดิน เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสถิติพบว่าแต่ละการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างฤดูกาลพบว่าค่า transparency As และ Zn แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t-test, p<0.05 และ p< 0.01)

2. สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน:
- จากการสอบถามกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้ประโยชน์จากคลองพระปรงทางด้านการเกษตร พบว่ามีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 5,001 – 10,000 บาท ส่วนใหญ่เคยเข้าไปใช้ประโยชน์จากป่าริม คลองพระปรง โดยผลผลิตจากป่าจะเป็นพวกพืชอาหาร เห็ด หน่อไม้รวมไปถึงการทำประมงพื้นบ้าน และการนำไปใช้ประโยชน์ บริโภคในครัวเรือน การใช้ประโยชน์น้ำจากคลองพระปรงส่วนใหญ่เพื่อการอุปโภค
- ปัญหาจากการใช้น้ำจากคลองพระปรงส่วนใหญ่พบว่าน้ำมีสีขุ่น (ร้อยละ 85.0) รองลงมา คือ น้ำเน่าเสีย น้ำมีกลิ่นเหม็น และน้ำไม่เพียงพอ
- ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ในทุกกลุ่มเห็นประโยชน์ของป่าริมน้ำในด้านการช่วยให้เกิดสมดุลของระบบนิเวศสัตว์น้ำเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ตลอดจนต้นไม้ที่อยู่ริมน้ำสามารถช่วยชะลอความรุนแรงของการไหลของน้ำ ลดการพังทลายของตลิ่งริมน้ำได้ การบุกรุกทำลายป่าหรือการตัดต้นไม้ มีผลทำให้อากาศเปลี่ยนแปลงไป
- ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าป่าริมน้ำเป็นพื้นที่สาธารณะที่ประชาชน สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ และประเด็นทางด้านการใช้ประโยชน์พบว่าส่วนใหญ่เห็นว่าป่าริมน้ำเป็นแหล่งสร้างรายได้และแหล่ง อาหารให้แก่ครัวเรือน

OFFICE OF THE PRESIDENT
Ms. Areerat Laonoi
8 Nov 23 13:43