bg

แนวทางปฏิบัติที่ดีและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการบริหารจัดการขยะ

Target Indicator Result
การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
SDG 13 CLIMATE ACTION
Caveat

งานวิจัยการบริหารจัดการขยะแบบเบ็ดเสร็จขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี
และสระบุรี พื้นที่ภาคกลางตอนบน ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) ปีงบประมาณ 2564 มีเป้าหมายเพื่อถอดบทเรียนแนวทางการจัดการขยะตามลักษณะของพื้นที่และข้อจำกัดที่แตกต่างกันตามขนาดและบริบทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีพื้นที่ศึกษา 4 ขนาด ได้แก่ ระดับเทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนบน ซึ่งมีพื้นที่ศึกษาได้รับคัดเลือก 17 พื้นที่ จาก 3 จังหวัด คือ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระบุรี โดยคัดเลือกจากการได้รับรางวัลในการบริหารจัดการขยะหรือมีรูปแบบการจัดการขยะที่เหมาะสม นำมาถอดบทเรียนความสำเร็จและความล้มเหลว เพื่อจัดทำแนวทางปฏิบัติที่ดีและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

Impact Level
Impact

การจัดการขยะที่ดี จะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ช่วยลดมลพิษที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อม ทั้งมลพิษทางดิน มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ และรวมถึงระบบนิเวศทางทะเล ลดความเสี่ยงอันตรายต่อสุขอนามัยของประชาชน

จากการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า
การบริหารจัดการขยะที่ดี เกิดจาก
- การส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางเพื่อลดภาระในการจัดการขยะปลายทาง
- มีการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในระดับต่าง ๆ
- มีการจัดการที่ดีด้านนโยบาย งบประมาณ และมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง เสียสละ
- การสร้างแรงจูงใจในการคัดแยกขยะ
- มีการรวมกลุ่มขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการพัฒนาสถานที่กำจัดที่มีประสิทธิภาพ
- ความร่วมมือภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการกำจัดขยะ
การบริหารจัดการขยะที่ไม่ประสบความสำเร็จเกิดจาก
- การไม่มีระบบการคัดแยกขยะ
- ไม่มีสถานที่ทิ้งหรือกำจัดขยะเป็นของตนเอง
- ขาดการบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วนและประชาชนในการวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกัน
- ขาดการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วม

เมื่อคัดเลือกพื้นที่จำนวน 4 พื้นที่ตามขนาดเพื่อทดสอบบทเรียนความสำเร็จ ประกอบด้วย
1) เทศบาลนครนนทบุรี มีการส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิลและขยะอันตราย พบว่า สามารถนำขยะไปใช้ประโยชน์และมีการจัดการขยะอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 75.29 และ 39.31 ตามลำดับ
2) เทศบาลเมืองสระบุรี ส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิลและขยะอันตราย พบว่า มีการนำขยะไปใช้ประโยชน์และมีจัดการขยะอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 88.65 และ 86.20 ตามลำดับ
3) เทศบาลตำบลบางเดื่อ จังหวัดปทุมธานี ส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล ขยะเศษอาหาร ขยะอันตราย และขยะทั่วไป พบว่า มีการนำขยะไปใช้ประโยชน์และมีการจัดการขยะอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 69.37 84.04 85.64 และ 100 ตามลำดับ
4) องค์การบริหารส่วนตำบลพุคำจาน จังหวัดสระบุรี ส่งเสริมการคัดแยกขยะรีไซเคิล ขยะอินทรีย์ ขยะอันตราย และขยะทั่วไป พบว่า มีการนำขยะไปใช้ประโยชน์และมีการจัดการขยะอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 57.66 80.95 83.25 และ 100 ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพื้นที่ภาคกลางตอนบน
ประกอบด้วย
**การจัดการขยะต้นทาง โดย
- การสนับสนุนกิจกรรมการจัดการขยะตั้งแต่ครัวเรือนประชาชนตามหลักการ 3Rs (Reduce Reuse Recycle)
-การใช้กลไกทางเศรษฐศาสตร์
- การใช้“ธรรมนูญหมู่บ้าน”
- การขับเคลื่อนธุรกิจรีไซเคิลชุมชน (ซาเล้ง ร้านรับซื้อของเก่า)
- สนับสนุนตลาดนัดรีไซเคิล
**การจัดการขยะกลางทาง โดย
- กำหนดวันเก็บขน กำหนดจุดพักขยะ และปรับปรุงรถเก็บขนขยะแบบแยกประเภท
- จ้างเอกชนเข้ามาดำเนินการเก็บขนขยะ
**การจัดการขยะปลายทาง โดย
- สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการกำจัดขยะแบบศูนย์รวม และความร่วมมือภาคเอกชนในการกำจัดขยะ (โรงปูนซีเมนต์ และโรงไฟฟ้าจากขยะ)
อย่างไรก็ตาม การจัดการขยะภาพรวมควรมีการออกกฎหมายแม่บทควบคุมการบริหารจัดการขยะในภาพรวมที่มีผลบังคับใช้กับทุกหน่วยงานทุกภาคส่วน

แนวทางปฏิบัติที่ดีและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ที่ได้จากการศึกษาข้างต้น สามารถนำมาใช้ในการวางแผน กำหนดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการขยะในพื้นที่ที่มีขนาดและบริบทใกล้เคียงกัน

Faculty of Environmental Culture and Ecotourism
Asst.prof. Naphat Phowan
9 Nov 23 17:22