Log In
bg

นวัตกรรมผลิตภัณฑ์กาแฟอะราบิกาจากกระบวนการ (Facultative Anaerobic Yeast (Fay) Process)

Target Indicator Result
ขจัดความยากจน
SDG 1 NO POVERTY
1.1 By 2030, eradicate extreme poverty for all people everywhere, currently measured as people living on less than $1.25 a day 1.1.1 Proportion of population below the international poverty line, by sex, age, employment status and geographical location (urban/rural) เกษตรกรวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่ตอนหลวง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ในการนำ FAY process ไปใช้ในการผลิตกาแฟเขียว (green bean) เพื่อจำหน่ายโดยเริ่มต้นจากปริมาณการผลิต 100 กิโลกรัม ซึ่งจากกระบวนการผลิตนี้หากนำไปใช้ในวงกว้างจะสามารถลดปริมาณน้ำทิ้งได้ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น รวมทั้งสามารถเพิ่มมูลค่าของกาแฟกะลาได้จากกิโลกรัมละ 100-150 เพิ่มขึ้นมากกว่า 300 บาท ส่งผลให้เกษตรกรได้รายได้สูงขึ้นมากกว่า 2 เท่าจากเดิม
ขจัดความหิวโหย
SDG 2 ZERO HUNGER
2.3 By 2030, double the agricultural productivity and incomes of small-scale food producers, in particular women, indigenous peoples, family farmers, pastoralists and fishers, including through secure and equal access to land, other productive resources and inputs, knowledge, financial services, markets and opportunities for value addition and non-farm employment 2.3.1 Volume of production per labour unit by classes of farming/pastoral/forestry enterprise size ประเทศไทยมีการปลูกกาแฟอาราบิก้า 87,159 ไร่ สามารถผลิตกาแฟได้ 8,553 ตันต่อปี หรือ 0.098 ตันต่อไร่ต่อปี
2.3.2 Average income of small-scale food producers, by sex and indigenous status เกษตรกรวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่ตอนหลวง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ในการนำ FAY process ไปใช้ในการผลิตกาแฟเขียว (green bean) เพื่อจำหน่ายโดยเริ่มต้นจากปริมาณการผลิต 100 กิโลกรัม ซึ่งจากกระบวนการผลิตนี้หากนำไปใช้ในวงกว้างจะสามารถลดปริมาณน้ำทิ้งได้ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น รวมทั้งสามารถเพิ่มมูลค่าของกาแฟกะลาได้จากกิโลกรัมละ 100-150 เพิ่มขึ้นมากกว่า 300 บาท ส่งผลให้เกษตรกรได้รายได้สูงขึ้นมากกว่า 2 เท่าจากเดิม
2.a Increase investment, including through enhanced international cooperation, in rural infrastructure, agricultural research and extension services, technology development and plant and livestock gene banks in order to enhance agricultural productive capacity in developing countries, in particular least developed countries 2.a.2 Total official flows (official development assistance plus other official flows) to the agriculture sector กรมวิชาการเกษตร สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอาราบิก้าโดยให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูกและการผลิตกาแฟที่ถูกต้อง ตลอดจนการวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดความรู้ที่เกี่ยวข้องแก่เกษตรกร นอกจากนี้ หน่วยวิจัยนวัตกรรมกาแฟที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒยังได้ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา และสนับสนุนเกษตรกรด้วยการให้ความรู้และพัฒนากระบวนการหลังเก็บเกี่ยวกาแฟอาราบิก้า
มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
SDG 3 GOOD HEALTH AND WELL-BEING
3.9 By 2030, substantially reduce the number of deaths and illnesses from hazardous chemicals and air, water and soil pollution and contamination 3.9.2 Mortality rate attributed to unsafe water, unsafe sanitation and lack of hygiene (exposure to unsafe Water, Sanitation and Hygiene for All (WASH) services) 1. จากกระบวนการผลิตนี้หากนำไปใช้ในวงกว้างจะสามารถลดปริมาณน้ำทิ้งได้มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ทำให้สภาพแวดล้อมบริเวณไร่กาแฟดีขึ้น ลดอัตราการเจ็บป่วยของชุมชนได้ถึง 100% จากจำนวนผู้พำนักอาศัยและประกอบอาชีพเกษตรกรรมในพื้นที่
2. กาแฟที่ได้จากกระบวนการนี้มีความแตกต่างจากกาแฟที่ผลิตด้วยวิธีอื่นโดยพบว่ามีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เช่น acidity ที่ชัดเจน มี body และความหวานของกาแฟมากขึ้น รสชาติเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค และผ่านการประเมินรสชาติจาก Q-arabica grader เมื่อทำการวิเคราะห์ปริมาณ Trigonelline ซึ่งเป็นสารช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอล และ chlorogenic acid ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติที่มีอยู่ในเมล็ดกาแฟโดยใช้เทคนิค nuclear magnetic resonance (NMR) พบว่ากาแฟคั่วที่ผลิตจากกระบวนการนี้มีปริมาณสูงกว่ากาแฟที่ผ่านกระบวนการหมักแบบเปียกดั้งเดิมและสูงกว่ากาแฟคั่วที่ใช้กระบวนการเดียวกันที่ไม่ผ่านการเติมหัวเชื้อยีสต์อย่างมีนัยสำคัญ
อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
SDG 9 INDUSTRY, INNOVATION AND INFRASTRUCTURE
9.2 Promote inclusive and sustainable industrialization and, by 2030, significantly raise industry's share of employment and gross domestic product, in line with national circumstances, and double its share in least developed countries 9.2.1 Manufacturing value added as a proportion of GDP and per capita การถ่ายทอดผลงานวิจัยให้กับพื้นที่เกษตรกรวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่ตอนหลวง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ในการนำ FAY process ไปใช้ในการผลิตกาแฟเขียว (green bean) เพื่อจำหน่ายโดยเริ่มต้นจากปริมาณการผลิต 100 กิโลกรัม สามารถเพิ่มมูลค่าของกาแฟกะลาได้จากกิโลกรัมละ 100-150 เพิ่มขึ้นมากกว่า 300 บาท ส่งผลให้เกษตรกรได้รายได้สูงขึ้นมากกว่า 2 เท่าจากเดิม
9.b Support domestic technology development, research and innovation in developing countries, including by ensuring a conducive policy environment for, inter alia, industrial diversification and value addition to commodities 9.b.1 Proportion of medium and high-tech industry value added in total value added การถ่ายทอดผลงานวิจัยให้กับพื้นที่เกษตรกรวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่ตอนหลวง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ในการนำ FAY process ไปใช้ในการผลิตกาแฟเขียว (green bean) เพื่อจำหน่ายโดยเริ่มต้นจากปริมาณการผลิต 100 กิโลกรัม สามารถเพิ่มมูลค่าของกาแฟกะลาได้จากกิโลกรัมละ 100-150 เพิ่มขึ้นมากกว่า 300 บาท ส่งผลให้เกษตรกรได้รายได้สูงขึ้นมากกว่า 2 เท่าจากเดิม
แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
SDG 12 RESPONSIBLE CONSUMPTION & PRODUCTION
12.5 By 2030, substantially reduce waste generation through prevention, reduction, recycling and reuse 12.5.1 National recycling rate, tons of material recycled ผลิตภัณฑ์กาแฟผ่านกระบวนการ Facultative Anaerobic Yeast (FAY) process ซึ่งได้รับการพัฒนาคุณภาพด้านกลิ่นรสโดยใช้กระบวนการผลิตแบบใหม่ซึ่งใช้การหมักผลเชอรี่กาแฟร่วมกับ yeast สายพันธุ์ที่คัดเลือกจากคุณสมบัติต่างๆ ได้แก่ ความสามารถในการย่อยสลายเพคติน การเจริญในเมือกกาแฟ (mucilage) และการเจริญในแหล่งคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบของเมือกกาแฟ รวมทั้งผ่านการจัดจำแนกและตรวจสอบว่าเป็นเชื้อที่ปลอดภัย จากนั้นทำการหมักภายใต้สภาวะ Facultative anaerobe ตามระยะเวลาที่กำหนด ทำการสีเปลือกเชอรี่ออก ล้างให้สะอาด และตากให้แห้ง โดยกระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสามารถลดปริมาณน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตได้มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการแบบ fully washed process ดั้งเดิม
Caveat

1. ความเป็นมาและความสำคัญ
กาแฟอะราบิกาเป็นสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมบริโภคกันอย่างกว้างขวางซึ่งสามารถเพาะปลูกได้บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย โดยกระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวกาแฟอะราบิกามีรายงานว่าส่งผลต่อคุณภาพด้านกลิ่นรสของกาแฟและส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากมีน้ำทิ้งปริมาณมากว่า 1-20 ลูกบาศก์เมตรต่อกาแฟผลสด 1 ตัน ดังนั้นหน่วยวิจัยนวัตกรรมด้านกาแฟร่วมกับบริษัทพร้อมชิม จำกัด จึงทำการพัฒนากระบวนการผลิตแบบใหม่ตามแนวทาง BCG โดยใช้ยีสต์ที่คัดเลือกได้จากกระบวนการผลิตและหาแนวทางลดปริมาณน้ำทิ้งเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจนกระทั่งได้เป็นผลิตภัณฑ์กาแฟที่ผ่านกระบวนการ Facultative anaerobic yeast process (FAY) ซึ่งมีคุณภาพด้านกลิ่นรสคงที่และดีขึ้นรวมทั้งช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมต่อยอดและพัฒนาจากงานวิจัย Fermented Thai Arabica Coffee By Combination Of Yeasts As Seed Culture In Fully Washed Fermentation Process ที่ดำเนินการในปี พ.ศ. 2564

2. เทคโนโลยี/ กระบวนการ
ผลิตภัณฑ์กาแฟผ่านกระบวนการ Facultative Anaerobic Yeast (FAY) process ซึ่งได้รับการพัฒนาคุณภาพด้านกลิ่นรสโดยใช้กระบวนการผลิตแบบใหม่ซึ่งใช้การหมักผลเชอรี่กาแฟร่วมกับ yeast สายพันธุ์ที่คัดเลือกจากคุณสมบัติต่างๆ ได้แก่ ความสามารถในการย่อยสลายเพคติน การเจริญในเมือกกาแฟ (mucilage) และการเจริญในแหล่งคาร์บอนที่เป็นองค์ประกอบของเมือกกาแฟ รวมทั้งผ่านการจัดจำแนกและตรวจสอบว่าเป็นเชื้อที่ปลอดภัย จากนั้นทำการหมักภายใต้สภาวะ Facultative anaerobe ตามระยะเวลาที่กำหนด ทำการสีเปลือกเชอรี่ออก ล้างให้สะอาด และตากให้แห้ง โดยกระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสามารถลดปริมาณน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตได้มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการแบบ fully washed process ดั้งเดิม นอกจากนี้ เกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ง่าย ต้นทุนต่ำ ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ และส่งผลให้กาแฟมีมูลค่าที่สูงขึ้น และกาแฟที่ได้มีความปลอดภัย ซึ่งกาแฟที่ได้จากกระบวนการนี้มีความแตกต่างจากกาแฟที่ผลิตด้วยวิธีอื่นโดยพบว่ามีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เช่น acidity ที่ชัดเจน มี body และความหวานของกาแฟมากขึ้น รสชาติเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค และผ่านการประเมินรสชาติจาก Q-arabica grader เมื่อทำการวิเคราะห์ปริมาณ Trigonelline ซึ่งเป็นสารช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอล และ chlorogenic acid ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติที่มีอยู่ในเมล็ดกาแฟโดยใช้เทคนิค nuclear magnetic resonance (NMR) พบว่ากาแฟคั่วที่ผลิตจากกระบวนการนี้มีปริมาณสูงกว่ากาแฟที่ผ่านกระบวนการหมักแบบเปียกดั้งเดิมและสูงกว่ากาแฟคั่วที่ใช้กระบวนการเดียวกันที่ไม่ผ่านการเติมหัวเชื้อยีสต์อย่างมีนัยสำคัญ

Impact Level
Impact

1. ความก้าวหน้า การนำไปใช้ประโยชน์/ การขยายผล และผลกระทบ (Impact) จากผลงานวิจัย
ผลิตภัณฑ์นี้ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟจากบริษัทพร้อมชิม จำกัด สมาคมบาริสต้าไทย และได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่ตอนหลวง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ในการนำ FAY process ไปใช้ในการผลิตกาแฟเขียว (green bean) เพื่อจำหน่ายโดยเริ่มต้นจากปริมาณการผลิต 100 กิโลกรัม นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์กาแฟอะราบิกาจากกระบวนการ FAY process ผ่านการคั่วและบรรจุโดยบริษัท UCC-k2 จำกัด ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานด้านการผลิตและจำหน่ายกาแฟ รวมทั้งผลิตภัณฑ์นี้ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พร้อมจัดจำหน่ายภายใต้แบรนด์ More’s coffee ที่พร้อมขยายผลและ ต่อยอดทางการค้าต่อไป ผลกระทบจากงานวิจัย เป็นกระบวนการผลิตกาแฟอะราบิกาแบบใหม่ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ และต้นทุนด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (ใช้ยีสต์ที่แยกได้จากกระบวนการผลิต) มาพัฒนากระบวนการตามแนวทาง Bioeconomy ซึ่งกระบวนการนี้ยังไม่มีรายงานการนำไปใช้มาก่อนหน้านี้ รวมทั้งเป็นกระบวนการที่ช่วยลดปริมาณน้ำเสียจากกระบวนการผลิตได้ถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมของบริเวณไร่กาแฟบนดอยและพื้นที่รับน้ำด้านล่างตามแนวทาง Green economy และยังสามารถเพิ่มมูลค่ากาแฟกะลาจากราคากิโลกรัมละ 140-150 เป็นมากกว่า 300 บาท

2. พื้นที่ชุมชน สังคม ที่ได้รับประโยชน์
ได้ทดลองถ่ายทอดผลงานวิจัยให้กับพื้นที่เกษตรกรวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่ตอนหลวง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ในการนำ FAY process ไปใช้ในการผลิตกาแฟเขียว (green bean) เพื่อจำหน่ายโดยเริ่มต้นจากปริมาณการผลิต 100 กิโลกรัม ซึ่งจากกระบวนการผลิตนี้หากนำไปใช้ในวงกว้างจะสามารถลดปริมาณน้ำทิ้งได้ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น รวมทั้งสามารถเพิ่มมูลค่าของกาแฟกะลาได้จากกิโลกรัมละ 100-150 เพิ่มขึ้นมากกว่า 300 บาท ส่งผลให้เกษตรกรได้รายได้สูงขึ้นมากกว่า 2 เท่าจากเดิม ในขณะที่ใช้การผลิตที่ง่าย ต้นทุนต่ำ ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ

3. มูลค่าผลิตภัณฑ์งานวิจัยและนวัตกรรมต่อชิ้น (ถ้ามี)
3.1 กาแฟคั่วบดบรรจุในถุง drip bag 10 ซองต่อกล่อง ราคากล่องละ 350 บาท
3.2 กาแฟเมล็ดคั่ว (60 กรัม) 350 บาทต่อกล่อง ทั้งนี้ราคาดังกล่าว เป็นราคาผลิตภัณฑ์ในระดับ Lab scale ซึ่งจัดจำหน่ายภายใต้แบรนด์ More’s Coffee

4. ผลกระทบที่เกิดขึ้น
4.1 ถ่ายทอดผลงานวิจัยให้กับพื้นที่เกษตรกรวิสาหกิจชุมชนบ้านแม่ตอนหลวง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ในการนำ FAY process ไปใช้ในการผลิตกาแฟเขียว (green bean) เพื่อจำหน่ายโดยเริ่มต้นจากปริมาณการผลิต 100 กิโลกรัม สามารถเพิ่มมูลค่าของกาแฟกะลาได้จากกิโลกรัมละ 100-150 เพิ่มขึ้นมากกว่า 300 บาท ส่งผลให้เกษตรกรได้รายได้สูงขึ้นมากกว่า 2 เท่าจากเดิม
4.2 จากกระบวนการผลิตนี้หากนำไปใช้ในวงกว้างจะสามารถลดปริมาณน้ำทิ้งได้มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ทำให้สภาพแวดล้อมบริเวณไร่กาแฟดีขึ้น ลดอัตราการเจ็บป่วยของชุมชนได้ถึง 100% จากจำนวนผู้พำนักอาศัยและประกอบอาชีพเกษตรกรรมในพื้นที่
4.3 เป็นกระบวนการผลิตที่ง่าย ต้นทุนต่ำ ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษ เกษตรกรประยุกต์ใช้ได้ง่าย
4.4 เอกชนที่ต่อยอดงานวิจัยสามารถเพิ่มมูลค่าของกาแฟได้ โดยราคากาแฟเมล็ดเขียว สามารถเพิ่มขึ้นได้มากกว่า 1000 บาท
4.5 ได้แนวทางการผลิตกาแฟอะราบิกาที่ตรงตามแนวทาง BCG และ SDGs

กระบวนการผลิตกาแฟอะราบิกาแบบเปียกดั้งเดิม (fully washed process) ใช้กระบวนการล้างทั้งสิ้น 3 ขั้นตอนส่งผลให้มีปริมาณน้ำทิ้งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในปริมาณมาก (ก) และ กระบวนการผลิตกาแฟอะราบิกาแบบใหม่ Facultative anaerobe yeast (FAY) process สามารถลดปริมาณน้ำทิ้งได้ 30-40 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเพิ่มคุณภาพด้านกลิ่นรสของกาแฟได้ (ข)
กระบวนการผลิตกาแฟอะราบิกาแบบเปียกดั้งเดิม (fully washed process) ใช้กระบวนการล้างทั้งสิ้น 3 ขั้นตอนส่งผลให้มีปริมาณน้ำทิ้งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในปริมาณมาก (ก) และ กระบวนการผลิตกาแฟอะราบิกาแบบใหม่ Facultative anaerobe yeast (FAY) process สามารถลดปริมาณน้ำทิ้งได้ 30-40 เปอร์เซ็นต์ และสามารถเพิ่มคุณภาพด้านกลิ่นรสของกาแฟได้ (ข)
ช่องทางการติดต่อเฟสบุ๊ค More’s coffee ซึ่งเป็นการเผยแพร่นวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ ภายใต้แบรนด์ More’s Coffee
ช่องทางการติดต่อเฟสบุ๊ค More’s coffee ซึ่งเป็นการเผยแพร่นวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์ ภายใต้แบรนด์ More’s Coffee
Faculty of Science
Ms. Areerat Laonoi
17 Nov 23 10:53