Target | Indicator | Result |
---|---|---|
SDG 3
GOOD HEALTH AND WELL-BEING
|
||
SDG 16
PEACE, JUSTICE AND STRONG INSTITUTIONS
|
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์มีวิสัยทัศน์ (Vision) “ยกระดับกําลังคนด้านวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และ จิตวิทยาประยุกต์เพื่อแก้ปัญหาท้าทายสังคม” โดยมียุทธศาสตร์ที่ 2 คือ “ผลิตนักวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และจิตวิทยาประยุกต์เพื่อสังคม” โดยกําหนดให้มีโครงการบริการสังคมด้านพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยาประยุกต์และกิจกรรมพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยาประยุกต์เพื่อพัฒนาชุมชนเข้มแข็งบูรณาการเข้ากับการ จัดการเรียนการสอนในรายวิชาของหลักสูตรระดับปริญญาเอกของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ให้เกิดการประยุกต์องค์ความรู้สู่ชุมชนเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาท้าทายสังคมการดูแลสุขภาพที่ดีขึ้น
ปัจจุบันแนวโน้มประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยกําลังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องการพัฒนาทาง การแพทย์ที่มีความทันสมัยโดยเฉพาะในกลุ่มคนที่อายุ 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากความเจริญของสภาพอายุขัยและ การเพิ่มขึ้นของประชากรผู้สูงอายุอาจมีผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ในด้านการรักษาพยาบาลและสวัสดิการสังคม ด้านการจัดการงบประมาณ ดังนั้นการเตรียมการในด้าน การศึกษา การทำงาน และการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ จึงมีความสำคัญและเป็นประเด็นทางสังคมที่มีความท้าทายสำหรับการเตรียมความพร้อมทั้งด้านการดูแลสุขภาพ การศึกษา และการจัดการที่เหมาะสมด้านต่าง ๆ สำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพและใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างสงบสุข จากจำนวนประชากรผู้สูงอายุทั่วประเทศไทยมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นทุกปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ (ศพอส.) จึงเล็งเห็นว่า การก่อตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นสิ่งที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตลอดจนดําเนินงานต่าง ๆ ร่วมกับชมรมผู้สูงอายุในพื้นที่ ทั้งนี้โรงเรียนผู้สูงอายุในหลายพื้นที่มีลักษณะการดําเนินงาน ในรูปแบบการรวมกลุ่ม โรงเรียน ศูนย์การเรียนรู้ หรือชมรมผู้สูงอายุ
จากข้อมูลดังกล่าวในข้างคณะทำงานโครงการบริการสังคมด้านพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยาประยุกต์ของสถาบันวิจัยพฤติกรรศาสตร์ได้ลงพื้นเพื่อสํารวจข้อมูลเบื้องต้นที่โรงเรียนผู้สูงอายุตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก พบว่า โรงเรียนผู้สูงอายุยังขาดบุคลากรและวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยาประยุกต์ที่จะช่วยเสริมสร้าง “สุขภาพจิตเชิงบวกในผู้สูงอายุ” และยังพบว่าผู้สูงอายุบางส่วนกําลังประสบกับปัญหาเรื่องการถูกละเมิดสิทธิการถูกหลอกลวงและการคุกคาม การถูกโกหกในการทำสัญญา หรือการเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิทางกฎหมาย การตกเป็นจากสถาบันการเงินหรือบริษัทต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายทางการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายที่ไม่เหมาะสม
จากความเป็นมาและข้อมูลดังกล่าวในข้างต้นคณะทำงานโครงการบริการสังคมด้านพฤติกรรมศาสตร์ และจิตวิทยาประยุกต์ร่วมกับนิสิตในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาจิตวิทยาประยุกต์ได้ร่วมกันระดมสมอง และวางแผนส่งเสริมและให้ความรู้ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพจิตเชิงบวกโดยนําแนวคิดทางจิตวิทยาเชิงบวกไปใช้และการสร้างภูมิคุ้มกันทางกฎหมายสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนใช้โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นฐานโดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 2 เรื่อง คือ 1) การเสริมสร้างสุขภาพจิตเชิงบวกตามแนวคิดจิตวิทยาเชิงบวกสำหรับผู้สูงอายุ และ 2) การสร้างภูมิคุ้มกันทางกฎหมายสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน ให้กับนักเรียนผู้สูงอายุโรงเรียนบ้านหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก และถอดบทเรียนการอบรมเชิงปฏิบัติการทั้งสองเรื่องเป็นองค์ความรู้เพื่อให้นักเรียนผู้สูงอายุเป็นแกนนําในการขยายองค์ความรู้ต่อให้กับสมาชิกครอบครัวและผู้สูงอายุในชุมชนของตนเองต่อไป เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน และการให้ประชาชนมีโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิต อันจะนําไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี โดยอยู่ในเป้าหมายย่อย 3.4 ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อให้ลดลงหนึ่งในสาม ผ่านทางการป้องกันและการรักษาโรค และสนับสนุนสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี ภายในปี พ.ศ. 2573 และเป้าหมายที่ 16 สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก โดยอยู่ในเป้าหมายย่อย 16.1 ลดความรุนแรงทุกรูปแบบและอัตราการตายที่เกี่ยวข้องในทุกแห่งให้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
การเปลี่ยนแปลง (Impact) ที่เกิดขึ้นจากโครงการ/กิจกรรม คือ ผู้สูงอายุได้รับความรู้ มีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจิตเชิงบวกมุ่งเน้นความเข้มแข็งทางจิตใจระดับบุคคล พร้อมทั้งการเสริมสร้างความรู้เท่าทันกฎหมายที่จำเป็นสำหรับผู้สูงอายุ ทั้งนี้แกนนำผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปถ่ายทอดโดยการขยายผลต่อในครอบครัวและชุมชนของตนเองเสริมสร้างความเข้มแข็งในระดับชุมชน ทำให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าในตนเองที่สามารถทำประโยชน์แก่ผู้อื่นได้ และดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างมีปกติสุข นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังได้ร่วมถอดบทเรียนในคู่มือแผนกิจกรรมคู่มือการสร้างภูมิคุ้มกันทางกฎหมาย สำหรับผู้สูงอายุในชุมชน และคู่มือแผนการจัดกิจกรรม การสร้างเสริมสุขภาพจิตเชิงบวก ซึ่งสามารถส่งต่อองค์ความรู้ที่ใช้ในโรงเรียนผู้สูงอายุบ้านหนองแสง การจัดโครงการบริการวิชาการในครั้งนี้ได้เสริมสร้างสัมพันธภาพเชิงบวกกับผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายในการทำโครงการบริการวิชาการต่อเนื่องในการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุบ้านหนองแสง คือ การพัฒนาอาชีพสำหรับผู้สูงอายุต่อไป