bg

Swu, The Watthana District Government Office, And The Thai Health Promotion Foundation (Thaihealth)

Target Indicator Result
สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
SDG 16 PEACE, JUSTICE AND STRONG INSTITUTIONS
Caveat

โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ขององค์กรอุดมศึกษาสุขภาวะอย่างมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเครือข่ายองค์กรสุขภาวะต้นแบบในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2) เพื่อขับเคลื่อนกลไกการสร้างพื้นที่สุขภาวะต้นแบบในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 3) เพื่อสร้างความร่วมมือและส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะต้นแบบระหว่างบุคลากรในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและชุมชนโดยรอบ และ 4) เพื่อขับเคลื่อนและถอดบทเรียนแนวทางการสร้างเครือข่ายองค์กรสุขภาวะต้นแบบ ซึ่งคณะผู้วิจัยอาศัยการดำเนินกิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย องค์กรชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเขตวัฒนา กิจกรรมที่สร้างกลไกที่ให้นิสิตเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนประเด็นการสร้างเสริมสุขภาวะ กิจกรรมที่พัฒนาพื้นที่ชุมชนให้เป็นชุมชนสุขภาวะโดยอาศัยหลักของการมีส่วนร่วมและการสร้างนิสิตให้เป็นนักขับเคลื่อนสุขภาวะที่มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ สามารถได้ผลของการดำเนินโครงการ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาเครือข่ายองค์กรสุขภาวะต้นแบบในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
2. เพื่อขับเคลื่อนกลไกการสร้างพื้นที่สุขภาวะต้นแบบในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ
3. เพื่อสร้างความร่วมมือและส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ สุขภาวะต้นแบบระหว่างบุคลากรในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและชุมชนโดยรอบ
4. เพื่อขับเคลื่อนและถอดบทเรียนแนวทางการสร้างเครือข่ายองค์กรสุขภาวะต้นแบบ

Impact Level
Impact

ผลการดำเนินโครงการ พบว่า ในประเด็นแรก การพัฒนาเครือข่ายองค์กรสุขภาวะต้นแบบในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ขององค์กรอุดมศึกษาสุขภาวะอย่างมีส่วนร่วม สามารถสร้างกลุ่ม SWU Well-being Club ที่ประกอบไปด้วยนิสิต จำนวน 62 คน และอาจารย์สาขาวิชาต่าง ๆ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 9 คน นอกจากนี้ ยังสามารถสร้างเครือข่ายองค์กรสุขภาวะในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัย ผ่านการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมระหว่างนิสิตและคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สภาองค์กรชุมชนเขตวัฒนา และศูนย์บริการสาธารณสุขเขต 21 วัดธาตุทอง

ประเด็นที่สอง ด้านการสร้างกลไกการสร้างพื้นที่สุขภาวะต้นแบบในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โครงการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ขององค์กรอุดมศึกษาสุขภาวะอย่างมีส่วนร่วมได้พัฒนากลไกหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมนั่นคือ “นิสิต” ในกลุ่ม SWU Well-being ผ่านการจัดกิจกรรมอบรมองค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านสุขภาวะ และเตรียมความพร้อมสู่การเป็นนักขับเคลื่อนสุขภาวะ นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดทำฐานข้อมูลด้านสุขภาวะของ 5 ชุมชนเป้าหมาย และจัดทำเป็นหนังสือจำนวน 1 เล่ม ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ข้อมูลด้านสุขภาพ และกิจกรรมของกลุ่มนิสิต สุดท้ายคือ กลุ่มนิสิตได้จัดทำสื่อรณรงค์การสร้างพื้นที่สุขภาวะจำนวน 5 ชิ้น ให้แก่ 5 ชุมชนเป้าหมาย

ประเด็นที่สาม ด้านการสร้างความร่วมมือและส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะต้นแบบระหว่างบุคลากรในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและชุมชนโดยรอบ ซึ่งทางโครงการ ฯ ได้สร้างความร่วมมือและส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะผ่านการจัดกิจกรรม อันประกอบไปด้วย (1) การจัดกิจกรรมในพื้นที่เป้าหมาย 5 ชุมชนในเขตวัฒนา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบไปด้วยสมาชิกชุมชนจาก 5 ชุมชนในเขตวัฒนา จำนวน 91 คน ทุก ๆ กระบวนการคิด ออกแบบ ดำเนินการ และประเมินผล จะมีการคำนึงถึงหลักของการมีส่วนร่วมและสร้างพื้นที่ให้นิสิตและสมาชิกชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในทุก ๆ กระบวนการ เพื่อให้กิจกรรมที่ออกมานั้นตรงต่อความต้องการของพื้นที่ชุมชนเป้าหมายมากที่สุด และยังเป็นการสร้างเสริมนิสิตให้เป็นนักสร้างเสริมสุขภาพที่คำนึงถึงหลักของการมีส่วนร่วมอยู่เสมอ (2) การจัดกิจกรรมของกลุ่มนิสิต SWU Well-Being Club จำนวน 5 กิจกรรม โดยที่ในแต่ละกิจกรรมมุ่งเน้นไปที่การสร้างเครือข่ายองค์กรสุขภาวะในมหาวิทยาลัย และสร้างเสริมองค์ความรู้ควบคู่ไปกับการพัฒนาตัวนิสิตให้มีความสามารถด้านการเป็นนักขับเคลื่อนสุขภาวะ

สุดท้าย ประเด็นที่สี่ ด้านการขับเคลื่อนและถอดบทเรียนแนวทางการสร้างเครือข่ายองค์กรสุขภาวะต้นแบบ โครงการ ฯ ได้มีการจัดทำสื่อวิดิทัศน์เพื่อประชาสัมพันธ์และนำเสนอกิจกรรมด้านสุขภาวะของโครงการ ฯ จำนวน 2 ชุด รวมถึงมีการจัดเวทีถอดบทเรียนจากการขับเคลื่อนกิจกรรมด้านสุขภาวะของกลุ่มนิสิตร่วมกับเครือข่ายองค์กรสุขภาวะ เพื่อเป็นการถอดบทเรียนจากการดำเนินกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การต่อยอดกิจกรรมด้านสุขภาวะในอนาคต จำนวน 1 ครั้ง

ข้อเสนอแนะที่สำคัญคือ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ควรสนับสนุนกิจกรรมด้านการพัฒนาสังคมหรือกิจกรรมที่สร้างประโยชน์ให้แก่สังคมในทุก ๆ ประเด็นที่เกี่ยวข้อง ผ่านการกระจายงบประมาณให้แก่ชมรมของนิสิตในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยควรสนับสนุนกิจกรรมภายนอกที่มุ่งเป้าผลประโยชน์ไปที่พื้นที่โดยรอบของมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น

Social Service Office
รองศาสตราจารย์ ดร.ชลวิทย์ เจียรจิตต์ และคณะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Ms. Narumon Kamchun
26 Nov 24 16:09