Target | Indicator | Result |
---|---|---|
SDG 3
GOOD HEALTH AND WELL-BEING
|
||
SDG 4
QUALITY EDUCATION
|
โครงการศึกษา “การเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อป้องกันการเสียชีวิตโดยลำพัง”
มีวัตถุประสงค์เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนเพื่อป้องกันการเสียชีวิตโดยลำพังในการให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ
และอาสาสมัครที่ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ใน 3 มิติ คือ มิติด้านสุขภาพ มิติด้านเศรษฐกิจ และมิติด้านสังคม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษารวม 45 ราย มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่อยู่ตามลำพัง หรือมีแนวโน้มว่าจะอยู่ตามลำพัง ในตำบลโคกกรวด อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก โดยกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการจะเข้าร่วมกิจกรรมการเข้ารับการอบรมการเพิ่มคุณภาพชีวิตมิติสุขภาพ มิติเศรษฐกิจ และมิติสังคม รวม 3 ครั้ง และประเมินผลการศึกษาจากการวัดความรู้ การทำกิจกรรม และความคิดเห็นด้านคุณภาพชีวิตทั้งสามมิติ และคุณภาพชีวิตรวม
The study “Increasing the Quality of Life of the Elderly in the Community to Prevent Them from Dying Alone” aims to increase the quality of life of the elderly in the community to prevent them from dying alone by educating the elderly and volunteers who care for the elderly in the community in 3 dimensions: health dimension, economic dimension and social dimension. A total of 45 subjects in the study were aged 60 years and older, who were alone or likely to be alone, in Kokkruat sub-districts, Pak Phil district, Nakhon Nayok province. The project participants participated in three training activities on increasing the quality of life in the health dimension, the economic dimension and the social dimension. The results of the study were assessed from the measure of knowledge, activities and opinions on the three dimensions of quality of life and overall quality of life.
ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้โดยมิติสุขภาพเน้นการให้ความรู้เรื่องธงโภชนาการผู้สูงอายุผลปรากฏว่ามีความรู้ทางด้านโภชนาการเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.69 ส่วนมิติเศรษฐกิจให้จดบัญชีรายรับ-รายจ่ายเพื่อให้ทราบถึงฐานะทางการเงินให้กับผู้เข้ารับการอบรม และมิติทางสังคมที่ประเมินค่าความสุขของผู้สูงอายุตามหลักสุข 5 มิติ พบว่า มีค่าระดับความสุขมากที่สุด การประเมินความคิดเห็นด้านคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุมิติสุขภาพ มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติรวม ก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการให้ความเห็นในเรื่องคุณภาพชีวิตเกือบทุกมิติมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น และมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 99% (เฉพาะมิติสุขภาพ) และ 95% (มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติรวม) ยกเว้นมิติเศรษฐกิจที่ความคิดเห็นด้านคุณภาพชีวิตไปในทิศทางที่ลดลงเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิดที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยตรง อย่างไรก็ตามการที่ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจะช่วยป้องกันการเสียชีวิตโดยลำพังลงได้เพราะสามารถพึ่งพาตนเอง และมีสังคมที่ให้การดูแล โดยข้อเสนอแนะเพื่อจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุควรกระทำอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มความรู้ด้านสถานการณ์ปัจจุบัน และติดตามผลที่เกิดขึ้นกับผู้เข้าร่วมโครงการหลังสิ้นสุดโครงการ
The results of the study show that the participants had knowledge of the health dimension by emphasizing the knowledge of the elderly dietary flag. It appears that the knowledge of nutrition has increased by 14.69%. For the economic dimension, the participants recorded income-expenditures in order to know their financial status, and for the social dimension that evaluated the happiness value of the elderly according to the 5 dimensions of happiness, it was found to have the highest level of happiness. The assessment of opinions on the quality of life of the elderly, health dimension, economic dimension, social dimension, and overall dimension before and after participating in the project shows that the participants gave opinions on almost all dimensions of quality of life with positive changes with a statistically significant level of 99% (health dimensions only) and 95% (economic, social and combined dimensions), except for the economic dimension in which the quality of life views decreased due to the epidemic of COVID-19, which affected the economy directly. However, having the elderly with a better quality of life can help prevent them from dying alone because they are self-reliant and have a society that cares for them. Recommendations to help improve the quality of life for the elderly should be done continuously. Knowledge of the current situation should be increased, and the results that occurred with the participants after the project are followed up.