Target | Indicator | Result |
---|---|---|
SDG 3
GOOD HEALTH AND WELL-BEING
|
||
3.2 By 2030, end preventable deaths of newborns and children under 5 years of age, with all countries aiming to reduce neonatal mortality to at least as low as 12 per 1,000 live births and under?5 mortality to at least as low as 25 per 1,000 live births | 3.2.2 Neonatal mortality rate |
ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัยขนาด ๔๐๐ เตียง มีหน่วยทารกแรกเกิดที่สามารถดูแลผู้ป่วยในระดับทุติยภูมิทั้งภายในเขตและรับส่งต่อผู้ป่วยจากนอกเขตได้ ในปัจจุบันโรงพยาบาลมีอัตราทารกเกิดประมาณ ๑,๘๐๐-๑,๙๐๐ รายต่อปี ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดเนื่องจากมีภาวะวิกฤตประมาณ ๔๕๐-๔๖๐ รายต่อปี มีกุมารแพทย์สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด พยาบาลเฉพาะทางสาขาทารกแรกเกิด และสหสาขาวิชาชีพสามารถให้บริการรักษาผู้ป่วยทารกแรกเกิดระดับทุติยภูมิได้ และเป็นแม่ข่ายในเครือข่ายทารกแรกเกิดเขตพื้นที่ สปสช. เขต ๔ ซึ่งมีโรงพยาบาลเครือข่ายบางแห่งที่ไม่สามารถดูแลทารกแรกเกิดระยะวิกฤตได้ จึงจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยเพื่อไปรับการรักษาต่อยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า การส่งต่อทารกที่ถูกต้องปลอดภัย โดยการเตรียมทารกในระยะแรกอย่างเหมาะสมก่อนเคลื่อนย้าย ให้ทารกมีอาการคงที่ จะช่วยลดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนในขณะนำส่ง และเมื่อทารกผ่านพ้นอาการวิกฤตของชีวิตและเข้าสู่ภาวะอาการคงที่และรอการฟื้นหาย สามารถส่งต่อกลับไปยังโรงพยาบาลที่นำส่งหรือโรงพยาบาลตามสิทธิการรักษาได้ เพื่อให้เกิดการดูแลที่ไร้รอยต่อและเกิดความปลอดภัยสูงสุดแก่ทารก
๑. ประสานความร่วมมือกับกุมารแพทย์ทารกแรกเกิดและกุมารแพทย์ภายในเขตพื้นที่ สปสช. เขต ๔ ทำให้เกิดการอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะให้แก่บุคลากรที่มีหน้าที่ในการดูแลทารกแรกเกิด
๒. ได้แนวทางปฏิบัติในการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะความเลือดในปอดสูง เพื่อเป็นแนวทางให้แพทย์หรือกุมารแพทย์ในเขตพื้นที่ สปสช. เขต ๔ สามารถนำไปใช้ได้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ดีมากยิ่งขึ้น