Target | Indicator | Result |
---|---|---|
SDG 3
GOOD HEALTH AND WELL-BEING
|
||
SDG 4
QUALITY EDUCATION
|
Thailand has elderly people one in five of total population. The population of the elderly in the country is increasing rapidly which is completely ready to enter the aging society (Office of the Health Promotion Foundation, 2017). From the economic situation of the Thai elderly (National Statistical Office, 2014 and Office of the National Economic and Social Development Council, 2017) found that one third of the elderly or 34.3 percent of the elderly have income below the poverty line or less than 2,647 baht. The poverty line is a measure of economic status and the minimum standard of living that is the amount which is the expense of the individual to obtain basic food and non-food necessities that enable livelihoods.
Considering the elderly income source, it was found that the main source of income for the elderly was the financial support from their children, which tended to decrease as well. The survey of the elderly population in Thailand (NSO, 2014) found that the income source of the elderly from children and work in declined significantly from 52 percent in 2007 to 37 percent in 2014, while the elderly income from work tended to be higher from 29 percent. In 2007, it was 34 percent in 2014. Since Thailand was originally an extended family living together This consists of grandparents / grandparents, parents and grandchildren with economic dependence on which parents raise children and when the old age, the children who work raise their parents to continue. Now this has changed because the family is getting smaller as a separate family, there are occasional visits to their parents, so the dependence on the money from their children is reduced. As a result, more than 80% of the elderly (Clothes, 2017) do not have enough money to support their retirement.
It is imperative to prepare the elderly to have sufficient income. Especially providing knowledge on savings for use in must start early, at the community level. The government currently provides assistance in the form of a monthly subsistence allowance for the elderly. If the number of older people continues to increase, the burden of living allowances will increase as well. The state may therefore face fiscal risks in the future. The budget estimates for the elderly and the source of money (TDRI, 2012 and CAT, 2012) found that the state's budget was doubled from 2013 – 2021, 2.17 billion baht and an increase to 4.64 billion baht in 2021, which is a higher rate of increase than government income. Therefore, the elderly need to know how to save to prepare for the aging society. To reduce the burden of oneself, family members and the burden of finance.
In addition to savings in retirement age of the elderly, the mental and physical health problems of the elderly are also important. When it comes to retirement age and not working, it may make the elderly feel lonely, not proud, feel like a burden to their grandchildren. When entering old age Physical health began to deteriorate not as strong as before Illness became more causing the cost of medical treatment to increase as well. Health expenditures by age group between 2011 and 2040 in older age were more than 2.5 times higher because the elderly were more likely to suffer from chronic illness and disability increases with age, so the elderly should gain knowledge and understanding about nutrition and lifestyle in old age. Because of the health conditions of the elderly are important to the effect of food intake, digestion, absorption of food, body's burning system. Having good nutrition and a well-organized lifestyle plan will help keep you fit and healthy.
Faculty of Economics Srinakharinwirot University, It is part of the university that provides an academic service project in Nakhon Nayok Province continued since 2011, especially in the area of Pak Phli District, Nakhon Nayok Province at the Faculty of Economics Has served in that area for 3 consecutive years if considering the population of Tharea Subdistrict, Pak Phli District, Nakhon Nayok Province, 2016. From the Thailand Information Center (2019), it was found that the proportion of the elderly per population in the area is 17.07 percent, which is more than 10 percent indicating the level of advancement to the aging society and the number of elderly people suffering from chronic diseases up to 71 people, accounting for 23.35 percent of the total elderly and when considering income data, it was found that the average monthly income per household in Nakhon Nayok Province was lower than the average monthly income per household in the central region. The research team saw that the body of knowledge is very important in both economics and nutrition. Therefore, the research team wants academic services to transfer knowledge through the body of economic knowledge for saving planning. Investment and consumption. Because when a person has reached an old age, The elderly will have income or can use the accumulated savings to be used at the end of their life. While the knowledge of nutrition to encourage the elderly to be aware and take care of their own health Modify dietary habits in order to have good physical health.
The study “The evaluation of effectiveness in the economics and nutrition knowledge to prepare for the elderly in the community” aims to provide knowledge of economics and nutrition for 50 people aged 40 and over, who live in Tha-rua Sub-district, Pak Phli District, Nakhon Nayok Province. Due to this area, the proportion of the elderly per population is 17.07 percent, which is more than 10 percent represents the level of the community that has entered in aging society already.
ประเทศไทยมีผู้สูงอายุสูงถึง 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมด จำนวนประชากรผู้สูงอายุในประเทศเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, 2560) จากข้อมูลสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุไทย (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2557 และ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560) พบว่า หนึ่งในสามของผู้สูงอายุ หรือ ผู้สูงอายุร้อยละ 34.3 มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน หรือ ต่ำกว่า 2,647 บาทต่อเนื่อง เนื่องจากเส้นความยากจน คือ ตัวชี้วัดสถานภาพทางเศรษฐกิจ และเป็นมาตรฐานการครองชีพขั้นต่ำที่เป็นจำนวนเงิน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของปัจเจกบุคคล เพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารและสิ่งจำเป็นที่ไม่ใช่อาหารในขั้นพื้นฐานที่ทำให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
หากจะพิจารณาจากแหล่งรายได้ของผู้สูงอายุ พบว่า แหล่งรายได้ที่สำคัญของผู้สูงอายุ คือ การเกื้อหนุนทางการเงินจากบุตรซึ่งก็มีแนวโน้มลดลงด้วยเช่นกัน จากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย (สสช, 2557) พบว่า แหล่งรายได้ของผู้สูงอายุจากบุตรและการทำงาน พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2557 พบว่า แหล่งรายได้หลักที่ผู้สูงอายุได้รับจากบุตรลดลงอย่างมาก จากร้อยละ 52 ในปีพ.ศ. 2550 เหลือร้อยละ 37 ในพ.ศ. 2557 ในขณะที่รายได้จากการทำงานของผู้สูงอายุมีแนวโน้มสูงขึ้น จากร้อยละ 29 ในพ.ศ. 2550 เป็นร้อยละ 34 ในพ.ศ. 2557 เนื่องจากเดิมประเทศไทยเป็นครอบครัวขยายที่อยู่ร่วมกัน อันประกอบด้วย รุ่นปู่/ย่า ตายาย พ่อแม่ ลูกหลานที่มีการพึ่งพาอาศัยกันทางเศรษฐกิจที่พ่อแม่เลี้ยงลูก และเมื่อสูงวัยลูกที่ทำงานก็เลี้ยงพ่อแม่สืบต่อกันมา ในตอนนี้มีเปลี่ยนแปลงไปเพราะครอบครัวก็จะมีขนาดเล็กลง และเป็นครอบครัวแบบแยกกันอยู่มีการไปมาหาสู่พ่อแม่เป็นครั้งคราว ดังนั้น การหวังพึ่งพาทางการเงินจากลูกหลานจึงลดน้อยลง ทำให้ผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 80 (อาภรณ์, 2560) มีเงินไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพในวัยหลังเกษียณ
การเตรียมความพร้อมทางการเงินของผู้สูงอายุให้มีรายได้ที่เพียงพอนั้นจึงมีความจำเป็น โดยเฉพาะการให้ความรู้ด้านการออมสำหรับไว้ใช้ในยามเกษียณ ที่จะต้องเริ่มต้นเสียแต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่ในระดับชุมชน ปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือในรูปของเบี้ยยังชีพรายเดือนสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งหากจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาระเงินค่าเบี้ยยังชีพจะพลอยสูงขึ้นตามไปด้วย รัฐจึงอาจประสบกับความเสี่ยงทางการคลังในอนาคต จากประมาณการงบประมาณสำหรับผู้สูงอายุและแหล่งที่มาของเงิน (TDRI, 2555 และ สท,2555) พบว่า รัฐต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น 2 เท่า จากพ.ศ. 2556 – 2564 โดยรายจ่ายสวัสดิการผู้สูงอายุ ปี 2557 จะอยู่ที่ 2.17 แสนล้านบาท และเพิ่มขึ้นเป็น 4.64 แสนล้านบาท ในพ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นอัตราการเพิ่มที่สูงกว่ารายได้ภาครัฐ ดังนั้น ผู้สูงอายุจำเป็นต้องรู้จักการออมเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับสังคมผู้สูงอายุ เพื่อลดภาระของตนเอง คนในครอบครัว และภาระทางด้านการคลัง
นอกจากเงินออมในวัยเกษียณของผู้สูงอายุแล้ว ปัญหาสุขภาพจิตใจและร่างกายของผู้สูงอายุก็สำคัญ เมื่อถึงวัยเกษียณอายุและไม่ได้ทำงานอาจทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเหงา ไม่ภาคภูมิใจ รู้สึกเหมือนเป็นภาระกับลูกหลาน อาจน้อยใจ ซึมเศร้า จึงจำเป็นต้องมีคนดูแลเอาใจใส่ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ สุขภาพร่างกายเริ่มเสื่อมโทรม ไม่แข็งแรงดังเดิม การเจ็บป่วยก็มากขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเพิ่มมากขึ้นไปด้วย กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพตามกลุ่มอายุระหว่าง พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2583 ในวัยสูงอายุจะเพิ่มขึ้นกว่า 2.5 เท่า เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และมีภาวะทุพพลภาพเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ดังนั้น ผู้สูงอายุจึงควรได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโภชนาการและการดำเนินชีวิตในวัยชรา เพราะภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่สำคัญมีผลมาจากการรับประทานอาหาร การย่อยอาหาร การดูดซึมอาหาร และระบบการเผาพลาญของร่างกาย การมีโภชนาการที่ดีและมีการวางแผนการดำเนินชีวิตที่ดีจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพที่ดีขึ้น
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่จัดให้มีโครงการบริการวิชาการในพื้นที่จังหวัดนครนายก อย่างต่อเนื่องตั้งแต่พ.ศ. 2554 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่ อ.ปากพลี จ.นครนายก ที่คณะเศรษฐศาสตร์ ได้ให้บริการในเขตพื้นที่ดังกล่าว เป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน หากพิจารณาจำนวนประชากร ตำบลท่าเรือ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก พ.ศ. 2559 จากศูนย์ข้อมูลประเทศไทย (2562) พบว่า สัดส่วนจำนวนผู้สูงอายุต่อประชากรในพื้นที่ร้อยละ 17.07 ซึ่งมากกว่าร้อยละ 10 แสดงถึงระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) แล้ว อีกทั้ง จำนวนผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังสูงถึง 71 คน คิดเป็นร้อยละ 23.35 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดและเมื่อพิจารณาข้อมูลด้านรายได้ พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือน จ.นครนายก ต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่อครัวเรือนในเขตภาคกลาง ดังนั้น คณะผู้วิจัยเห็นว่า องค์ความรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งทั้งทางเศรษฐศาสตร์และโภชนาการ จึงทำให้คณะผู้วิจัยต้องการบริการวิชาการถ่ายทอดความรู้ผ่านองค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการวางแผนการออม การลงทุนและการบริโภค เนื่องจากเมื่อบุคคลเข้าสู่วัยสูงอายุแล้ว ผู้สูงอายุนั้นจะได้มีรายได้หรือสามารถนำเงินออมที่สะสมไว้มาใช้ในช่วงบั้นปลายชีวิตได้ ขณะที่องค์ความรู้ด้านภาวะโภชนาการ เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูงอายุตระหนักและหันมาดูแลสุขภาพของตนเอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เพื่อให้มีสุขภาพกายที่ดี
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิผลโปรแกรมการให้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์และโภชนาการที่บูรณาการกับงานบริการวิชาการแก่สังคม ต่อการเตรียมความพร้อมในการดำรงชีพเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุในชุมชน
การศึกษาเรื่อง การประเมินประสิทธิผลการให้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์และโภชนาการเพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุในชุมชน จะแบ่งการศึกษาเป็น ดังนี้
1. การให้ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วยเนื้อหา
1.1 เศรษฐศาสตร์ คือ อะไร
1.2 เศรษฐศาสตร์การเงิน ประกอบด้วย
- นโยบายการเงินของธนาคารกลาง
- เงินออม วัตถุประสงค์ของการออม ประเภทของการออม สถาบันการเงินเพื่อการออม ดอกเบี้ยเงินฝาก และวิธีการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝาก
- เงินกู้ในระบบ เงินกู้นอกระบบ ลักษณะของหนี้นอกระบบ ดอกเบี้ยเงินกู้ และการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้
- แบบปฏิบัติการคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้
1.3 เศรษฐศาสตร์การคลัง
- นฺโยบายทางด้านการคลัง
- ภาษี วัตถุประสงค์ของการเก็บภาษี ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
- วัตถุประสงค์ในการเก็บภาษีใหม่ กฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562
- แบบปฏิบัติการคำนวณการจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
2. การให้ความรู้ทางด้านโภชนาการ ประกอบด้วย
2.1 หลักการรับประทานอาหาร ตามหลักธงโภชนาการผู้สูงอายุ
2.2 การเรียนรู้เมนูสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ จากบัตรคำเมนูสุขภาพ
- แบบปฏิบัติการใบงาน เรื่องความรู้ด้านโภชนาการ การแสดงความเห็นในกลุ่ม
- แบบปฏิบัติการการบันทึกแผนภาพตามหลักธงโภชนาการ การทำแบบฝึกปฏิบัติความรู้ในกลุ่ม
- แบบปฏิบัติการการบันทึกเมนูอาหารประจำวัน
ผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์
การให้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ จะเน้นการให้ความรู้ในความหมายของเศรษฐศาสตร์ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อมุ่งให้กลุ่มตัวอย่างเข้าใจถึงวิธีการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำรงชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นให้เข้าใจเศรษฐศาสตร์ในประเด็นของเศรษฐศาสตร์การเงินและเศรษฐศาสตร์การคลัง ด้วย ทั้งนี้ ในแต่ละครั้งที่ทำการอบรมจะมีการทำกิจกรรม ทำแบบฝึกปฏิบัติเพื่อประเมินความรู้และความเข้าใจ อันที่จะนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนการนำความรู้ที่ได้รับจากอบรมไปถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่นต่อไป
ผลจากการให้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ พบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์การเงินและการคลัง อยู่ในระดับปานกลาง (9.80 คะแนน) เท่านั้น และเมื่อได้รับการอบรม ทั้งในด้านของการให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติ ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้หลังอบรมในระดับดีมาก (16.60 คะแนน) ระดับความรู้เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 69.39 ทั้งนี้ เนื่องจากผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ มีการศึกษาในระดับประถมศึกษา และประกอบอาชีพรับจ้าง เท่านั้น ซึ่งอาจไม่เข้าใจองค์ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะในเชิงตัวเลขและการคิดคำนวณดอกเบี้ยในช่วงแรกมากนัก แต่หลังจากได้รับการอบรมความรู้และผ่านการฝึกปฏิบัติ ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ทางเศรษฐศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างมาก และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 หรือ ระดับความเชื่อมั่น 99% โดยผู้เข้ารับการอบรมพร้อมที่จะนำความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ไปปฏิบัติใช้และถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่นในชุมชนต่อไป
ผลกระทบทางสุขภาพ
การให้ความรู้ทางโภชนาการ จะเน้นการให้ความรู้ในพื้นฐานโภชนาการสำหรับวัยสูงอายุ ตลอดจนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับธงโภชนาการผู้สูงวัย ที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อมุ่งให้กลุ่มตัวอย่างเข้าใจถึงวิธีการเลือกบริโภคอาหารได้เหมาะสมกับวัย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดำรงชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล ทั้งนี้ ในแต่ละครั้งที่ทำการอบรมจะมีการทำกิจกรรม ทำแบบฝึกปฏิบัติเพื่อประเมินความรู้และความเข้าใจ อันที่จะนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนการนำความรู้ที่ได้รับจากอบรมไปถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่นต่อไป
ผลจากการให้ความรู้ทางโภชนาการ พบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ทางโภชนาการ อยู่ในระดับดี (15.04 คะแนน) และเมื่อได้รับการอบรม ทั้งในด้านของการให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติ ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้หลังอบรม ในระดับดีมาก (18.34 คะแนน) ระดับควมรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.94 ทั้งนี้ เนื่องจากผู้เข้ารับการอบรมส่วนหนึ่งเป็น อสม. หรือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งมีความรู้ทางด้านสาธารณสุขเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ดี การให้ความรู้ทางโภชนาการในครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 หรือ ระดับความเชื่อมั่น 99% โดยผู้เข้ารับการอบรมพร้อมที่จะนำความรู้ทางโภชนาการไปปฏิบัติใช้และถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่นในชุมชนต่อไป
ผลกระทบทางสังคม
เมื่อพิจารณาในข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป ข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามสภาพทางสังคม ประกอบด้วยข้อมูลด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส จำนวนบุตรและอาชีพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 86 มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 62 ปี สถานภาพสมรสส่วนใหญ่สมรสแล้ว ร้อยละ 53.33 รองลงมาเป็นหม้าย ร้อยละ 31.11 และโสด ร้อยละ 15.56 อาชีพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 42.30 รองลงมาประกอบอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 30.80 และไม่ได้ทำงาน ร้อยละ 23.10
หลังจากการจัดอบรมให้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์และโภชนาการ พบว่า ระดับคะแนนความพึงพอใจ การนำความรู้ไปประยุกตใช้ และการถ่ายทอดความรู้ทางโภชนาการให้กับบุคคลอื่น อยู่ในระดับ 4.64, 4.48 และ 4.48 ตามลำดับ ซึ่งระดับคะแนนสูงกว่าการจัดอบรมให้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ ที่อยู่ในระดับ 4.34, 4.22 และ 4.18 ตามลำดับ ทั้งนี้ อาจจะเนื่องมาจากความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับคนในชุมชน เมื่อเปรียบเทียบกับความรู้ทางด้านโภชนาการที่คนในชุมชนรับทราบและตระหนักดีถึงความสำคัญของสาธารณสุข แต่อย่างไรก็ดี การให้ความรู้ทั้งทางด้านเศรษฐศาสตร์และโภชนาการนับว่า ยังคงมีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุของคนในชุมชน ซึ่งทางผู้วิจัยจะขยายองค์ความรู้นี้ไปยังชุมชนอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงต่อไปให้ครบคลุมทุกหมู่บ้าน ทุกตำบล ทุกอำเภอ ในจังหวัดนครนายก เพื่อให้เกิดชุมชนต้นแบบ ในการขยายองค์ความรู้ไปทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย
Economics knowledge focuses on educating the meaning of economics. That are relevant to everyday life to aim at the sample group to understand how to use limited resources in order to make the most of the daily life of the individual. In addition, it focuses on understanding economics on issues of economics, finance and fiscal economics. Take practice exercises to assess knowledge and understanding. To apply the knowledge gained from training in daily life as well as transfer the knowledge gained from the training to others.
The results of the study from education in economics were found that before training the project participants Have knowledge of economics, finance and finance at a moderate level (9.80 points) only. The training both in terms of education and practice make the participants of the project have knowledge after training at a very good level (16.60 points). The results show that the participants had knowledge of the Economics; financial and fiscal economics. It appears that the knowledge of Economics has increased by 69.39 percent. This is because most of the trainees Have an education at the elementary level and employment only, which may not understand the knowledge of economics, especially in numerical and interest calculation in the early days. But after receiving knowledge training and through practical training, causing project participants to have greatly increased their knowledge of economics and statistically significant at a level of 0.01 or a 99 percent confidence level. The trainees are ready to apply and transfer economic knowledge to other people in the community.
Nutrition knowledge focus educating based on nutrition for the elderly as well as knowledge related to the elderly nutrition flag. That are relevant to everyday life to aim for the sample group to understand how to choose the right food for the age to make the most of the daily life of the individual. However, each time the training is performed, there will be an activity. Take practice exercises to assess knowledge and understanding. To apply the knowledge gained from training in daily life as well as transfer the knowledge gained from the training to others.
The results of nutrition education were found that before training program participants, have knowledge of nutrition is at a good level (15.04 points). The training both in terms of terms of education and practice make the participants of the project have knowledge after training at a very good level (18.34 points). The results of the study show that the participants had knowledge of the nutrition; nutrition flags and daily health menus. It appears that the knowledge of nutrition has increased by 21.94 percent. This is because some of the trainees are either VHV or village health volunteers which already has knowledge of public health. However, the educating nutrition in this time make the participants of the project increase knowledge statistically significant at a level of 0.01 or a 99 percent confidence level. The trainees are ready to apply and transfer nutrition knowledge to other people in the community.
When considered in the basic personal data of a sample of 50 people aged 40 years and older, the primary data of the sample was classified by social condition. It contains information on sex, age, marital status, number of children and occupation. It was found that most of the sample were female, 86 percent, with a mean age of 62 years, and most of the marital status was 53.33 percent, followed by widows, 31.11 percent and singles 15.56 percent. They work as farmers 30.80 percent and do not work 23.10 percent.
After training to provide knowledge in economics and nutrition, it was found that the satisfaction application of knowledge to apply and nutritional knowledge transfer to others was at levels 4.64, 4.48 and 4.48, respectively. The score level is higher than that of the training to provide knowledge in economics level of 4.34, 4.22 and 4.18, respectively, may be due to the knowledge of economics is still new to people in the community.
The results of the study, it confirmed that “This project was effectiveness” because the performance has achieved every metric of the project. The suggestion should expand the area of academic service to other communities. The first, expand this knowledge to other communities nearby to cover every village, every sub-district, every district in Nakhon Nayok Province to create a model community. After then, expand knowledge across all regions in Thailand.