Target | Indicator | Result |
---|---|---|
SDG 4
QUALITY EDUCATION
|
||
4.7 By 2030, ensure that all learners acquire the knowledge and skills needed to promote sustainable development, including, among others, through education for sustainable development and sustainable lifestyles, human rights, gender equality, promotion of a culture of peace and non-violence, global citizenship and appreciation of cultural diversity and of culture's contribution to sustainable development | 4.7.1 Extent to which (i) global citizenship education and (ii) education for sustainable development, including gender equality and human rights, are mainstreamed at all levels in (a) national education policies; (b) curricula; (c) teacher education; and (d) student assessment | |
SDG 11
SUSTAINABLE CITIES AND COMMUNITIES
|
||
11.4 Strengthen efforts to protect and safeguard the world's cultural and natural heritage | 11.4.1 Total expenditure (public and private) per capita spent on the preservation, protection and conservation of all cultural and natural heritage, by type of heritage (cultural, natural, mixed and World Heritage Centre designation), level of government (national, regional and local/municipal), type of expenditure (operating expenditure/investment) and type of private funding (donations in kind, private non-profit sector and sponsorship) |
โครงการภาคสนามหมู่บ้านกะเหรี่ยงและหมู่บ้านมอญ เป็นกิจกรรมที่นำนิสิตไปเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชนชาติมอญและชาติพันธุ์กะเหรี่ยง มีวัตถุประสงค์ของโครงการคือ
1. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านมานุษยดุริยางควิทยา อีกทั้งเพิ่มประสบการณ์ตรงแก่นิสิตและอาจารย์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพนิสิตทางวิชาการและงานสร้างสรรค์ดุริยางคศาสตร์ไทยและเอเชีย ทั้งทางด้านทฤษฎีและทักษะการปฏิบัติระหว่างนิสิต คณาจารย์ รวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านดนตรีและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
3. เพื่อสนับสนุนความเข้าใจอันดีในเรื่องวัฒนธรรมและดนตรีระหว่างนิสิตกับชุมชนกะเหรี่ยงและชุมชนมอญ
4. เพื่อสนับสนุนบทบาทในการเป็นผู้นำของมหาวิทยาลัยด้านดุริยางคศาสตร์ไทยและเอเชีย ในกลุ่มของสถาบันการศึกษาของไทยและกลุ่มประชาคมอาเซียน
5. เพื่อให้สอดคล้องตามแผนพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในทุกศาสตร์ให้มีคุณภาพและอัตลักษณ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
1. ผลของการดำเนินโครงการ/กิจกรรม (สรุปกิจกรรมที่ดำเนินการ)
1.1 นิสิตได้สำรวจแหล่งวัฒนธรรมชุมชนกะเหรี่ยง และเรียนรู้วัฒนธรรมดนตรีมอญรวมทั้งนาฏศิลป์มอญ
1.2 นิสิตได้ฝึกปฏิบัติดนตรีกะเหรี่ยงในเครื่องมือ วงชะพูชะอู, เครื่องดนตรีนาเด่ย, เครื่องดนตรีเมตาลี่, และรำกะเหรี่ยง
2. ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ (สรุปจากวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เป้าหมาย ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ และการประกันคุณภาพการศึกษา)
2.1 นิสิตและอาจารย์ได้รับประสบการณ์ทางด้านดุริยางคศาสตร์ไทยและเอเชีย
2.2 ได้พัฒนาศักยภาพนิสิตทางวิชาการและงานสร้างสรรค์ดุริยางคศาสตร์ไทยและเอเชีย ทั้งทางด้านทฤษฎีและทักษะ การปฏิบัติ ระหว่างนิสิต คณาจารย์ รวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านดนตรีและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
2.3 มีความรู้ความเข้าใจศิลปวัฒนธรรมของชุมชนกะเหรี่ยงและชุมชนมอญเพิ่มมากขึ้น
2.4 ได้เผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยสู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน
2.5 ได้องค์ความรู้ด้านการศึกษาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในทุกศาสตร์ให้มีคุณภาพและอัตลักษณ์ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด