bg

Art Education For Community Development Project

Target Indicator Result
การศึกษาที่เท่าเทียม
SDG 4 QUALITY EDUCATION
4.7 By 2030, ensure that all learners acquire the knowledge and skills needed to promote sustainable development, including, among others, through education for sustainable development and sustainable lifestyles, human rights, gender equality, promotion of a culture of peace and non-violence, global citizenship and appreciation of cultural diversity and of culture's contribution to sustainable development 4.7.1 Extent to which (i) global citizenship education and (ii) education for sustainable development, including gender equality and human rights, are mainstreamed at all levels in (a) national education policies; (b) curricula; (c) teacher education; and (d) student assessment
Caveat

โครงการศิลปศึกษาพัฒนาชุมชน เป็นกิจกรรมโครงการที่มีวัตถุประสงค์ของโครงการคือ
1.เพื่อให้นิสิตศิลปศึกษาสามารถออกแบบกิจกรรมศิลปศึกษาร่วมกับชุมชนโดยมีความสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชนได้ (รายวิชา VAE381 ศิลปะกับชุมชน VAE336 ศิลปะไทยร่วมสมัย VAE 417 ศิลปกรรมบำบัด)
2.เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณาจารย์ นิสิตและชุมชนเพื่อพัฒนากิจกรรมศิลปศึกษาสู่ชุมชนให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของบริบททางสังคมและชุมชน
3.เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
4.เพื่อพัฒนาจิตอาสาของนิสิตศิลปศึกษา

Impact Level
Impact

ระยะที่ 1
1.ผลของการดำเนินโครงการ/กิจกรรม
(1) ผู้ประกอบการกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าของชุมชนเคหะร่มเกล้า ได้แนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้า คณาจารย์และนิสิตช่วยออกแบบโล้โก้ให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าชุมชนเคหะร่มเกล้า และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเศษผ้า เช่น.กระเป๋า ผ้าห่ม เป็นต้น ทำให้เพิ่มมูลค่าให้สินค้าของกลุ่ม ซึ่งสอดคล้องกับฐานคิด และความต้องการของกลุ่ม
2.ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้
(1) ครูอาจารย์ นิสิตและผู้ประกอบการแปรรูปผ้าได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของของโครงการ
(2) นิสิตได้เข้าใจกระบวนการแก้ปัญหาโดยการนำความรู้ทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้า ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงความรู้ในชั้นเรียนสู่การปฏิบัติการแก้ปัญหาในสถานการจริง
(3) นิสิตเข้าใจฐานคิด กระบวนการจัดการความรู้และความต้องการของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าของชุมชนเคหะร่มเกล้าที่มีต่อการจัดการศึกษาในระบบ

ระยะที่ 2
1.ผลของการดำเนินโครงการ/กิจกรรม
คณาจารย์ นิสิต และผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ข้าวหลาม ได้แนวคิดในการพัฒนาผลิตข้าวหลามและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าวหลามจากเครื่องปั้นดินเผา ตรงตามความต้องการของผู้ผลิตข้าวหลาม ตลอดจนสามารถนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆในชุมชน
2.ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้
(1) คณาจารย์ นิสิตและผู้ผลิตข้าวหลามในชุมชนวัฒนานครได้ร่วมแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวหลาม
(2) คณาจารย์ นิสิต ได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้กับชุมชน

ระยะที่ 3
1.ผลของการดำเนินโครงการ/กิจกรรม
คณาจารย์ นิสิต และคุณครู ได้สร้างองค์ความรู้ทางด้านศิลปบำบัด กิจกรรมศิลปะบำบัด และการประเมินทางศิลปบำบัด ตลอดจนสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาตนเองและโรงเรียน
2.ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้
(1) คณาจารย์ นิสิตและคุณครู ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ในการใช้ศิลปบำบัด
(2) คณาจารย์ นิสิต ได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการด้านศิลปบำบัด การพัฒนากระบวนการเรียนรู้