Log In
bg

โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงกับโรงเรียนขนาดเล็ก/ขยายโอกาส เขตพื้นที่ภาคกลางตอนบน

Target Indicator Result
การศึกษาที่เท่าเทียม
SDG 4 QUALITY EDUCATION
4.6 By 2030, ensure that all youth and a substantial proportion of adults, both men and women, achieve literacy and numeracy 4.6.1 Proportion of population in a given age group achieving at least a fixed level of proficiency in functional (a) literacy and (b) numeracy skills, by sex จำนวนคน
Caveat

จากสภาพการณ์ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าระบบการจัดการศึกษาต่างมีภาพรวมด้านปรัชญาที่คล้ายคลึงกันด้วยการมุ่งพัฒนาคนให้มีคุณลักษณะสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ การเป็นกำลังคน (Manpower) ซึ่งหมายถึงการผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองทางด้านมาตรฐานวิชาการ วิชาชีพและความต้องการของสังคม อีกทั้งการมุ่งพัฒนาคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์ (Manhood) ซึ่งหมายถึงการผลิตบัณฑิตให้เป็นบุคคลที่มีความสมบูรณ์พร้อม มีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี มีสมรรถภาพสูงและเป็นบุคคลที่พึงประสงค์ของสังคม โดยทั้งปวงนั้นสะท้อนให้เห็นเป้าประสงค์ของการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การจะพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ภายใต้กรอบการจัดการศึกษาในสาขาวิชาชีพตามหลักสูตรเพียงด้านเดียว ย่อมไม่สามารถเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพดังกล่าวได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยกระบวนการด้านกิจกรรมเสริมหลักสูตรเป็นกลไก หรือเครื่องมือในการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง แต่ต้องเป็นการขับเคลื่อนภายใต้ การดำเนินการคู่กันไปกับการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนั้นๆ อย่างสอดคล้องและสมดุล ทางภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาตลอดชีวิต ได้รับมอบหมายจากคณะศึกษาศาสตร์ และฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงกับโรงเรียนขนาดเล็ก/ขยายโอกาส เขตพื้นที่ภาคกลางตอนบน ซึ่งในการดำเนินงานที่ผ่านมา ครูการศึกษานอกระบบมีความพยายามในการจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งในเชิงรายวิชาและบูรณาการ ตลอดจนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียนและผู้อบรม หากทางโรงเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือโดยมีมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงให้การชี้แนะ จัดอบรมให้ความรู้ครู พร้อมทั้งส่งเสริมการอ่านในชุมชนให้ยั่งยืน และติดตามประเมินผล ทางโรงเรียนจะเกิดความมั่นใจและสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากทางมหาวิทยาลัยไปพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน และสามารถเชื่อมโยงโรงเรียนสู่ชุมชนได้ จึงเห็นควรให้จัดโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงกับโรงเรียนขนาดเล็ก/ขยายโอกาส เขตพื้นที่ภาคกลางตอนบน เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพครู รวมทั้งออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการเรียนรู้ต่อไป

- วัดผลว่าคะแนนนักเรียนสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยเท่าไหร่

Impact Level
Impact

1.พัฒนาผู้เรียนให้มีพื้นฐานการอ่านและการคิด ผ่านการออกแบบกิจกรรมและกระบวนการที่มีประสิทธิภาพในระดับโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน สามารถปรับใช้และขยายผลได้
2.พัฒนาครูด้านความรู้และทักษะในการใช้หนังสือเพื่อการเรียนรู้และการคิดผ่านกระบวนการ Read Aloud
3.พัฒนาเครือข่ายเยาวชนรักการอ่านและประสานความร่วมมือบ้านและโรงเรียน

รายงานผลการดำเนินงาน-1
รายงานผลการดำเนินงาน-1
รายงานผลการดำเนินงาน-2
รายงานผลการดำเนินงาน-2