Target | Indicator | Result |
---|---|---|
SDG 4
QUALITY EDUCATION
|
||
4.1 By 2030, ensure that all girls and boys complete free, equitable and quality primary and secondary education leading to relevant and effective learning outcomes | 4.1.1 Proportion of children and young people (a) in grades 2/3; (b) at the end of primary; and (c) at the end of lower secondary achieving at least a minimum proficiency level in (i) reading and (ii) mathematics, by sex | - |
4.2 By 2030, ensure that all girls and boys have access to quality early childhood development, care and pre?primary education so that they are ready for primary education | 4.2.2 Participation rate in organized learning (one year before the official primary entry age), by sex | - |
SDG 10
REDUCED INEQUALITIES
|
เด็กและเยาวชนในเขตชุมชนเมืองมีสภาพปัญหาที่ทับซ้อนหลายสาเหตุ การเป็นครอบครัวขนาดเล็กที่
ผู้ปกครองออกไปทำงานนอกบ้านส่งผลให้เด็กต้องอยู่บ้านตามลำพัง บางครอบครัวมีรายได้น้อยทำให้ไม่มีเงินเพียงพอที่จะเลี้ยงดู สภาพความแออัดของชุมชนที่ไม่มีพื้นที่ในการทำกิจกรรมหรือเรียนรู้ เด็กส่วนใหญ่ในชุมชนจะรวมกลุ่มหรือทำกิจกรรมกันเอง โดยบางครั้งกิจกรรมที่ทำอาจไม่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้องกับพัฒนาการของช่วงวัย เช่น การใช้สื่อในทางที่ไม่เหมาะสม การรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมที่อาจเป็นอันตรายต่อตัวเองและผู้อื่น จากบริบทของชุมชนดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเยาวชนในพื้นที่กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ได้ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ การไม่ได้ออกกำลังกาย การใช้สารเสพติด สภาพแวดล้อมในชุมชนที่มีมลพิษ รวมถึงปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้เลยของเด็กและเยาวชนในชุมชน หรือมีปัญหาอ่านไม่คล่อง เขียนไม่คล่อง ข้อมูลจากมูลนิธิเพื่อการอ่านออกเขียนได้ (Literacy Foundation) ที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลกได้รวบรวมความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและประมวลสรุปข้อเสียของการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ภายใต้ 2 หัวข้อใหญ่ ๆ คือผลเสียในแง่บุคคลและในแง่สังคม ในแง่บุคคลทำให้ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจข้อมูลสำคัญๆ บั่นทอนโอกาสในการเข้าถึงการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นมืออาชีพของตนเอง ผลเสียในแง่สังคมประเทศที่มีประชากรอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในสัดส่วนที่สูงจะนำไปสู่ความอ่อนแอทางเศรษฐกิจเพราะขาดศักยภาพในการแข่งขัน ยิ่งไม่รู้หนังสือมากเท่าไหร่หรือมีอัตราการรู้หนังสือแบบอ่านออกเขียนได้อย่างแตกฉานในระดับต่ำก็ยิ่งทำให้อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการขยายตัวเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวขยายตัวได้เชื่องช้ามากขึ้นเท่านั้น การไม่รู้หนังสือและการอ่านที่ไม่แตกฉานยังส่งผลให้ประชากรมีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคมของประเทศในระดับต่ำซึ่งเป็นชนวนในการนำไปสู่ความแตกแยกของคนในสังคม สำหรับประเทศไทยมีนโยบายที่ให้ความสำคัญกับการอ่านมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การยกระดับการอ่านของเยาวชนจำเป็นต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฐมวัยที่มีผู้ปกครองเป็นฐานสำคัญแต่สภาพการณ์ปัจจุบันในพื้นที่กำลังเผชิญปัญหา “สภาพครอบครัวแหว่งกลาง” หลายครอบครัวมีปู่ย่าตายายเป็นผู้ปกครองตัวจริง หลายครอบครัวพ่อหรือแม่เป็นผู้เลี้ยงเดี่ยว บ้านและครอบครัวจึงไม่อาจทำบทบาทนี้ได้อย่างเต็มที่ จำเป็นต้องประสานความร่วมมือที่เข้มแข็งของบ้าน โรงเรียนและชุมชนในการสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับเยาวชนตั้งแต่ระดับปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ในฐานะสถาบันผลิตครูซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบุคคลในชุมชนที่มีโอกาสสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ทั้งในระดับชั้นเรียนและระดับชุมชนได้ในอนาคต มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นิสิตครูจะต้องได้เรียนรู้และเข้าใจสภาพของชุมชมอย่างถ่องแท้ มีพื้นที่และโอกาสที่จะได้ลงมือนำแนวคิดที่ได้เรียนรู้ในชั้นเรียนนำสู่การปฏิบัติในบริบทจริงภายใต้กระบวนการร่วมคิดร่วมทำทั้งกับชุมชน ครูผู้ปกครอง เพื่อนนิสิตและคณาจารย์ มีกระบวนการวางแผน สะท้อนการเรียนรู้และการเป็นพี่เลี้ยง (coaching) อย่างเป็นระบบ ด้วยเหตุและความสำคัญดังกล่าวคณะผู้ดำเนินการจึงได้จัดทำโครงการบริการวิชาการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพการศึกษา กิจกรรม : พื้นที่การเรียนรู้เพื่อสุขภาวะชุมชน และการสร้างวัฒนธรรมการอ่านจากรากฐานปฐมวัยสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาวะและกระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วมอันเป็นองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญหนึ่งของคณะศึกษาศาสตร์ รวมถึงเป็นการพัฒนาและโอกาสให้นิสิตครูได้ฝึกปฏิบัติการด้านการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานอย่างแท้จริง
1) มีกิจกรรมการเรียนรู้ในพื้นที่ ลดปัจจัยเสี่ยงของเด็กและเยาวชนในพื้นที่เพื่อการมีสุขภาวะที่ดี
2) นิสิตสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในรายวิชาของนิสิตครูที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการได้จริง
3) นิสิตครูและครูได้รับการพัฒนาความรู้ การอ่านและการคิดผ่านการออกแบบกิจกรรมและกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ
4) เกิดกิจกรรมเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน โรงเรียน ชุมชนผ่านกิจกรรมเพื่อเพิ่มพื้นที่การเรียนรู้ และพัฒนาผู้เรียนให้มีพื้นฐานการอ่านมากขึ้น
5) นิสิตสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในรายวิชาของนิสิตครูที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการอ่านการคิดและการศึกษาได้จริง