Target | Indicator | Result |
---|---|---|
SDG 4
QUALITY EDUCATION
|
||
SDG 10
REDUCED INEQUALITIES
|
ทุกวิกฤตปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตของทุกคน หลายเรื่องเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายคนมีความเป็นอยู่ที่ยากลำบากมากขึ้น เกิดความท้อแท้ หมดหวัง หมดกำลังใจ ซึ่งถ้าเราปล่อยให้ความรู้สึกเช่นนี้อยู่กับเรานานเกินไป ก็อาจเกิดความเครียดสะสม กลายเป็นภัยเงียบที่ส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ เราอยู่ท่ามกลางวิกฤตของโรคโควิด-19 มาหลายปี เกิดความรู้สึกไม่แน่นอน กังวลใจ รู้สึกรุกรานตัวเราเป็นอย่างมาก ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ทั้งการเรียน การทำงานจากที่บ้าน ไม่ได้พบปะเพื่อนฝูง มีข่าวผู้เสียชีวิตรายวัน เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ หลายคนถูกตัดเงินเดือน ถูกให้ออกจากงาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดความเครียดสะสมของคนไทย เป็นปัจจัยเสี่ยงนำไปสู่โรคทางใจ และปัญหาการฆ่าตัวตายที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน
นักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีแนวโน้มที่จะเกิดความเครียดอันเนื่องมาจากปัญหาสภาพแวดล้อม ปัญหาเศรษฐกิจ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน ความรัก และการศึกษา ตัวอย่างเช่น ครอบครัวไม่สนใจส่งผลให้เกิดความน้อยใจ เก็บกด อีกทั้งยังมีภาระงานจากการเรียน แรงกดดันจากการทำงาน ค่าครองชีพที่สูงขึ้น เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้จึงนำไปสู่ภาวะความเครียด ดังนั้นกลุ่มนักศึกษาจึงควรมีทักษะในการลดภาวะความเครียด และมีแนวทางในการสร้างความสุขด้วยตนเอง เพื่อส่งเสริมให้ตนเองมีสมรรถภาพร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็ง
ปัจจุบันในเขตจอมทองมีนักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจำนวนมาก ที่ประสบปัญหาความเครียดจากสาเหตุดังกล่าว ทำให้นักศึกษามีปัญหาเรื่องสุขภาพจิตมากขึ้น จึงได้ร่วมกัน จัดกิจกรรม “DIY Your Happiness คู่มือออกแบบความสุขด้วยตนเอง” เพื่อเป็นสื่อกลางในการลด ภาวการณ์เครียด ให้นักศึกษามีทักษะในการรับมือกับความเครียดอย่างถูกต้องตลอดจนสามารถสร้างความสุขได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน
1. นักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เขตจอมทอง สามารถออกแบบความสุขในการใช้ชีวิตได้ด้วยตนเอง
2. นักศึกษาศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เขตจอมทอง ได้ฝึกทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีม สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข