Log In
bg

โครงการบริการวิชาการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพการศึกษา กิจกรรม : การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

Target Indicator Result
การศึกษาที่เท่าเทียม
SDG 4 QUALITY EDUCATION
ลดความเหลื่อมล้ำ
SDG 10 REDUCED INEQUALITIES
Caveat

ปัจจุบันโลกเคลื่อนเข้าสู่ยุคของคลื่นลูกที่ 5 “ยุคสังคมแห่งปัญญา” หรือ “ยุคปราชญสังคม” ปัจจัยแห่งยุคนี้ คือ สติปัญญา เครื่องมือแห่งยุค คือ นักคิด นักบูรณาการ เป็นยุคของการคิด การบูรณาการใช้ความรู้และใช้ปัญญาเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ สังคมใดสามารถพาตนสู่การเป็นปราชญ์สังคมได้สำเร็จ สังคมนั้นจะเจริญล้ำหน้ากว่าใครในโลก อันจะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาและมาตรฐานการศึกษาของชาติ ตลอดจนการแข่งขันทางด้านการศึกษาระหว่างสถาบันในประเทศกับต่างประเทศและจากการที่รัฐบาลมีนโยบายในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 นั้น สิ่งที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต้องการเน้น คือ มุ่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ต การสร้าง Smart Farmer & Smart Startup และแรงงานเฉพาะทาง รวมทั้งใช้การศึกษาโดยยึดจังหวัดเป็นฐาน เพื่อให้สังคมไทยก้าวสู่ Value-based Economy หรือ "เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม" เพื่อให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้ ลดการนำเข้าและเป็นสังคมที่แบ่งปัน ในส่วนของมหาวิทยาลัยซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานหลักที่สำคัญต่อการพัฒนาไทยแลนด์ 4.0 ต้องปรับตัวให้เป็นมหาวิทยาลัย 4.0 โดยมีบทบาทที่สำคัญ คือ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนในชาติ รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งทั้งสองส่วนจะส่งผลไปถึงเศรษฐกิจและสังคม 4.0 จากสถานการณ์ทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม จำเป็นต้องพัฒนาคนให้มีคุณภาพ คุณธรรม มีความรอบรู้และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ด้วยเหตุนี้ การจัดการศึกษาจึงควรตอบสนองพันธกิจเพื่อเตรียมทรัพยากรบุคคลให้รองรับต่อการพัฒนาประเทศและการจัดการศึกษาดังกล่าวต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่การศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีสถาบันการศึกษาและครูเป็นกลไกสำคัญ ในการจัดการศึกษาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการพัฒนาหลักสูตรเพื่อผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ ความสามารถทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม สามารถจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างยั่งยืน
การจัดการศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 เป็นแนวคิดของรัฐบาล ที่มีความมุ่งมั่นในการนำ “โมเดลประเทศไทย 4.0” มาปรับใช้เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง การพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนตามแนวทางไทยแลนด์ 4.0 ได้นั้น ต้องจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 เป็นการจัดการเรียนการสอนที่สอนให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกแห่งบนโลก มาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ มาตอบสนองต่อความต้องการของสังคม ซึ่งผู้ที่มีผลโดยตรงต่อการพัฒนาให้เด็กและเยาวชนของประเทศมีทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับไทยแลนด์ 4.0 ก็คือ ตัวครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา ดังนั้น ครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา จึงต้องมีความรู้ความสามารถเพียงพอในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาประเทศในยุคไทยแลนด์ 4.0
จากความสำคัญดังกล่าวทำให้คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งถือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่สำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาของชาติ เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ จึงกำหนดให้มีโครงการบริการวิชาการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพการศึกษา กิจกรรม : การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการในชั้นเรียนและการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเกิดการยกระดับองค์ความรู้และมีความสามารถ อันจะนำไปสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการจัดการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลมากขึ้นต่อไป

Impact Level
Impact

1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการจัดการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0
2. ผู้เข้ารับการอบรมเกิดทักษะและความสามารถในการใช้จิตวิทยาเพื่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผู้เข้ารับการอบรมเกิดเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมายและสอดคล้องกับการจัดการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0