Target | Indicator | Result |
---|---|---|
SDG 4
QUALITY EDUCATION
|
||
SDG 10
REDUCED INEQUALITIES
|
ในโลกยุคปัจจุบันความเจริญก้าวทางด้านเทคโนโลยีนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นอย่างมากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนจากที่ครูเป็นศูนย์กลางมาสู่นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องได้รับความรู้จากครูในห้องเรียนเท่านั้นแหล่งความรู้อยู่รอบตัวไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ชุมชน เพื่อน ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมหรือการเรียนรู้จากเทคโนโลยีสมัยใหม่ นำไปสู่การปรับตัวเพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ อีกทั้งทุกประเทศทั่วโลกกำลังมุ่งสู่กระแสใหม่ของการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่าสังคมความรู้ (Knowledge Society) และระบบเศรษฐกิจฐานความรู้(Knowledge-Based Economy) โดยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานนั้นๆให้มีผลดีมากยิ่งขึ้น การนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้นั้น ก็ต้องแตกต่างกันไปตามลักษณะของงานแต่ละอย่าง ถ้านำมาใช้ทางด้านการศึกษา ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่า เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีในด้านใดก็จะเรียกเทคโนโลยีด้านนั้น เมื่อมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานในส่วนต่างๆของวงการศึกษา คือต้องจัดการศึกษาที่สร้างคนให้มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และนำาความรู้ มาสังเคราะห์เพื่อนำาไปสู่การประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ที่มีประโยชน์และ มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ลดการนำาเข้าเทคโนโลยีและนวัตกรรมจาก ต่างประเทศ โดยสอดคล้องกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต้องการเน้น คือ มุ่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ต การสร้าง Smart Farmer & Smart Startup และแรงงานเฉพาะทาง รวมทั้งใช้การศึกษาโดยยึดจังหวัดเป็นฐาน เพื่อให้สังคมไทยก้าวสู่ Value-based Economy หรือ "เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม" เพื่อให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้ ลดการนำเข้าและเป็นสังคมที่แบ่งปัน ในส่วนของมหาวิทยาลัยซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานหลักที่สำคัญต่อการพัฒนาไทยแลนด์ 4.0 เป็นโมเดลในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เป็นการเข้าสู่ยุคที่ประเทศไทยต้องมีนวัตกรรมเป็นของตนเองเป็นยุคเทคโนโลยี Creative และ Innovation เน้นการสร้างให้คนไทยสามารถคิดเองได้ ไม่ต้องพึ่งจากต่างชาติ การจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนไปการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เป็นเครื่องกระตุ้นการเรียนรู้ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างสรรค์นวัตกรรมและการวิจัยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันของประเทศ มหาวิทยาลัยต้องปรับตัวให้เป็นมหาวิทยาลัย 4.0 โดยมีบทบาทที่สำคัญ คือ การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนในชาติ รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ
อีกทั้งยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์พลังงานทดแทน การศึกษาและพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นการศึกษา ค้นคว้า ทดสอบ พัฒนา และสาธิต ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่พลังงานทดแทนซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ ชีวมวลและอื่นๆ เพื่อให้มีการผลิต และการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมทั้งทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจและสังคม สำหรับผู้ใช้ในเมือง และชนบท ซึ่งในการศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาพลังงานทดแทนดังกล่าวยังรวมถึงการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ และอุปกรณ์เพื่อการใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย งานศึกษา และพัฒนาพลังงานทดแทน เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวข้องโดยตรงภายใต้แผนงานนี้คือ โครงการศึกษาวิจัยด้านพลังงาน และมีความเชื่อมโยงกับแผนงานพัฒนาชนบทในโครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า ประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับหมู่บ้านชนบทที่ไม่มีไฟฟ้า
ปัจจุบันเทคโนโลยีได้ถูกนำมาใช้กับศาสตร์เกือบทุกแขนง ไม่เว้นแม้แต่ในภาคการเกษตรที่มีการนำเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้กับการทำเกษตรในเกือบทุกขั้นตอน จึงเป็นที่มาของคำว่า “Smart Farming” หรือ“เกษตรอัจฉริยะ” ที่ถูกใช้อย่างมากมายในหลายบริบท ตั้งแต่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีร่วมกับการเกษตร จนถึงการทำงานของเกษตรกรยุคใหม่ทั้งไทยและสากล ซึ่งในอนาคตการทำเกษตรรูปแบบนี้จะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
นโยบาย Thailand 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล ที่ครอบคลุมระยะเวลาปี พ.ศ. 2561-2580 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดให้มีแผนแม่บทด้านการเกษตร โดย “เกษตรอัจฉริยะ” ดังนั้นการขับเคลื่อนภาคการเกษตรของไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในโลกยุคดิจิทัล ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรจำเป็นต้องก้าวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต ได้ถูกกำหนดไว้ภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม และตามแผนปฏิบัติการ เกษตรอัจฉริยะปี พ.ศ. 2565-2566 จะเป็นการขับเคลื่อนงานด้านเกษตรอัจฉริยะที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร ปรับรูปแบบการเกษตรในปัจจุบันให้มุ่งสู่เกษตร 4.0 โดยนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้พัฒนา เพื่อนำไปสู่การเกษตรอัจฉริยะแห่งอนาคต มีเป้าหมายที่มุ่งเน้นให้เกิดการทำเกษตรแบบทำน้อยได้มาก ใช้ทรัพยากรในการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีการลดต้นทุน ลดการสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากขึ้น นำเอาเครื่องจักรกลหรือเครื่องมือทันสมัย โดยเฉพาะการนำเกษตรดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มการผลิตและการแข่งขันของภาคการเกษตรไทย
จากความสำคัญดังกล่าวทำให้คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งถือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่สำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาของชาติ เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ จึงกำหนดให้มีโครงการบริการวิชาการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพการศึกษา กิจกรรม : การยกระดับคุณภาพการศึกษาเพื่ออาชีพและการมีงานทำ ในสถานศึกษาพื้นที่ห่างไกล เพื่อ ยกระดับคุณภาพการศึกษาเพื่ออาชีพและการมีงานทำ อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาเกิดการยกระดับองค์ความรู้และมีความสามารถ อันจะนำไปสู่กระบวนการจัดการเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทน และภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ ตามแผนปฏิบัติการ เกษตรอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2565-2566 สอดคล้องกับการจัดการศึกษายุคศตวรรษที่ 21 ของรัฐบาลและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอด เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพต่อไป
1. บุคคลที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับพลังงานทดแทน และภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม “เกษตรอัจฉริยะ”
2. บุคคลที่เข้ารับการอบรมเกิดทักษะในเรื่องพลังงานทดแทน และภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม “เกษตรอัจฉริยะ”เพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน
3. บุคคลที่เข้ารับการอบรมเกิดเจตคติที่ดีต่อพลังงานทดแทน และภาคการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม “เกษตรอัจฉริยะ”