bg

The Academic Service Project To Reduce Inequality And Enhance The Quality Of Education, Activity: Active Learning Through Board Games. (โครงการบริการวิชาการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพการศึกษา กิจกรรม : การจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้วยบอร์ดเกม)

Target Indicator Result
การศึกษาที่เท่าเทียม
SDG 4 QUALITY EDUCATION
ลดความเหลื่อมล้ำ
SDG 10 REDUCED INEQUALITIES
Caveat

การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันมุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้เชิงรุก (active learning) ผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการตื่นตัวทั้งทางกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งการเรียนรู้เชิงรุกจะทำให้การเรียนรู้ของผู้เรียนเกิดขึ้นอย่างมีความหมายผู้เรียนเป็นผู้มีส่วนร่วมหรือบทบาทในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เกิดความรู้สึกสนุก เพลิดเพลินในระหว่างเรียน อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ที่แท้จริง ซึ่งรูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้เชิงรุกมีหลากหลายรูปแบบ โดยการจัดการเรียนรู้โดยการใช้เกม และเกมที่กำลังได้รับความนิยมนำมาประกอบการจัดการเรียนการในขณะนี้คือ บอร์ดเกม (Board game) ซึ่งเป็นเกมประเภทหนึ่งที่ต้องใช้พื้นที่ในการเล่นมักวางไว้หรือเล่นบนโต๊ะ มีอุปกรณ์ประกอบการเล่น เช่น การ์ด ลูกเต๋า แผ่นเกม หรืออุปกรณ์อื่นๆ เช่น หมากรุก เกมบันไดงู เกมการ์ด เป็นต้น โดยบอร์ดเกมสามารถใช้ในการพัฒนาสมองช่วยในการพัฒนาด้านตรรกะและการมีเหตุผลส่งเสริมการคิดวิจารณญาณและความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ นอกจากนี้ บอร์ดเกมสวนใหญ่จะทำให้ผู้เล่นต้องใช้ทักษะทางปัญญา (Cognitive skill) เช่น ทักษะด้านความจำ การเก็บรักษาข้อมูล และการแก้ปัญญา อีกทั้งสามารถช่วยพัฒนาทางด้านจิตใจ เสริมสร้าง IQ และส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ (Field, 2018 และ Tiwari, 2018) และบอร์ดเกมมีการให้เรื่องราวและข้อมูล อีกทั้งยังถูกนำเสนอในรูปแบบที่แปลกใหม่ (Wiggins Memorial Library,2018) ในปัจจุบันได้มีการค้นพบกลศาสตร์การเล่นที่พัฒนาให้มีการสร้างกฎที่จำลองสถานการณ์ได้หลากหลายและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ผู้เล่นเปลี่ยนบทบาทจาก “ผู้เรียน” ที่รับข้อมูลเพียงอย่างเดียว กลายเป็น “ผู้ทดลอง” ที่ต้องบริหารจัดการ ภายใต้กฎที่สามารถเข้าใจได้ โดยผู้เล่นสามารถเห็นผลลัพธ์จากการตัดสินใจ ได้ทัน (การเรียนรู้ด้วยบอร์ดเกม การเรียนแบบผสมผสานได้ความรู้พร้อมความสนุก, 2017) นอกนี้การเล่นบอร์ดเกม มักจะออกแบบให้เล่นเป็นกลุ่ม จึงใช้ในการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อีกทางหนึ่งด้วย
ดังนั้น บอร์ดเกมจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีการจัดการเรียนรู้ที่ครูสามารถนำไปใช้ในการจัดกาเรียนการสอนเพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี และเหมาะสมกับผู้เรียนในทุกวัย จึงควรมีการพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาและการใช้บอร์ดเกมเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพครูในออกแบบและใช้สื่อการสอนในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการเรียนรู้ต่อไป ทางผู้จัดโครงการเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวจึงจัดโครงการการส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุกด้วยบอร์ดเกม เพื่อให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการเลือก ออกแบบ พัฒนา และนำบอร์ดเกมไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน อันจะส่งศักยภาพการสอน รวมถึงพัฒนาผู้เรียนต่อไป

Impact Level
Impact

1. ครูสามารถจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความตื่นตัวในการเรียนรู้
2. นักเรียนที่เรียนผ่านบอร์ดเกมที่ครูพัฒนาขึ้นมีความตื่นตัวในการเรียนรู้ทางด้านใดด้านหนึ่ง ส่งผลให้เกิดประสิทธิผลในการเรียนที่ดีมากยิ่งขึ้น