Target | Indicator | Result |
---|---|---|
SDG 3
GOOD HEALTH AND WELL-BEING
|
หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้เล็งเห็นความสำคัญของการมีสุขภาวะที่ดีของคนในชุมชนสามารถเกิดขึ้นได้ตามหลักการสร้างเสริมสุขภาพ อาทิเช่น ด้านโภชนาการอาหารนั้น สามารถให้องค์ความรู้ส่งเสริมด้านการบริโภคที่ถูกต้องเหมาะสม อาหารปลอดสาร และเสริมสร้างนวัตกรรมอื่น ๆ ได้ การส่งเสริมสุขภาพ โรคภัยไข้เจ็บ มีการนัดหมายการตรวจสุขภาพในชุมชน การออกกำลังกายสำหรับแต่ละกลุ่มวัยนั้น จะเสริมในส่วนการกระตุ้นการออกกำลังกายอย่างไรได้บ้าง โดยผู้นำเต้นอาจมีการปรับเปลี่ยนท่าในการเต้นเพื่อให้เหมาะสมถูกวิธี และลดการเบื่อหน่ายของผู้เข้าร่วม ส่วนในด้านอารมณ์นั้น ส่งเสริมการรวมกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน ให้ประชาชนมีโอกาสมาพบปะสังสรรค์กัน สามารถเป็นการส่งเสริมด้านอารมณ์ได้ เพื่อเป็นสถานที่ที่ให้บุคคลกลุ่มวัยต่าง ๆ ในชุมชน ได้แก่ วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ ได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน หากยิ่งได้แรงสนับสนุนต่าง ๆ เพิ่มเติม จะยิ่งทำให้เกิดนวัตกรรมอื่นๆอีกเพิ่มขึ้น ทั้งกลุ่มบ้าน (ชุมชน) ประกอบไปด้วยผู้สูงอายุ (เน้นหลัก) และวัยแรงงานที่เตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กลุ่มวัด ประกอบไปด้วยคณะสงฆ์ประจำวัดในชุมชน กลุ่มโรงเรียน ประกอบไปด้วยครูและนักเรียน และเมื่อกลุ่มชุมชนเข้มแข็งมีสุขภาวะองค์รวมที่ดีแล้วนั้น อาจมีส่วนช่วยส่งเสริมไปยังความร่วมมือของชุมชนในการดำเนินกิจกรรมในด้านอื่น ๆ เช่น ด้านวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม หรือ ด้านการท่องเที่ยวในโอกาสต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้การสร้างสุขภาวะองค์รวมขั้นบูรณาการของอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
2. เพื่อสร้างเครือข่ายองค์กรสุขภาวะองค์รวมต้นแบบทั้งภายในและภายนอก
3. เพื่อบูรณาการพันธกิจมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม สู่การดำเนินงานเชิงรูปธรรมร่วมกับองค์กรระดับท้องถิ่น
4. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลทางสุขภาวะองค์รวมของกลุ่มประชากรต้นแบบของอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก