Target | Indicator | Result |
---|---|---|
SDG 4
QUALITY EDUCATION
|
||
SDG 10
REDUCED INEQUALITIES
|
ปัจจุบันสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล มีบทบาทและเป็นสิ่งจําเป็นต่อคนในสังคมไทยในทุกช่วงวัยเป็นอย่างมาก ทั้งการทํางาน การเรียน พลเมืองในยุคปัจจุบันจึงจะต้องเป็นพลเมืองที่มีความสามารถในการเข้าถึง จัดการความเข้าใจ รวบรวม ประเมิน โดยคํานึงถึงความปลอดภัย รวมทั้งการมีความรับผิดชอบ มีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี และต้องมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือดิจิทัลในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึง การแลกเปลี่ยน การใช้ การประเมินคุณค่าข่าวสารหรือสารสนเทศ รวมถึงความสามารถในการผลิตสื่อดิจิทัลเพื่อประโยชน์ต่อตนเองและสังคม นั่นคือ การมีคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดิจิทัล แต่เมื่อการนําเสนอข้อมูลและข่าวสารนั้นทำได้อย่างรวดเร็ว เหตุการณ์มากมายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ส่งผลกระทบอย่างคาดไม่ถึงจนอาจเกิดความเสียหาย หากทั้งผู้ใช้และผู้สร้างสรรค์สื่อดิจิทัลขาดการการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงทักษะการคิดวิเคราะห์ แยกแยะสื่อต่างๆ ในโลกออนไลน์ ผู้เรียนในยุคใหม่ที่เติบโตมาพร้อมกับอุปกรณ์ดิจิทัลและอินเทอร์เน็ต ใช้ชีวิตอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ปรับเปลี่ยนจากผู้ใช้งานมาเป็นทุกคนสามารถสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล และสามารถเผยแพร่ ซึ่งทำให้ทุกคนต้องใช้ชีวิตอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น การศึกษาจึงควรส่งเสริมให้เยาวชนเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีความรู้ความเข้าใจและทักษะในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้และการผลิตสื่อดิจิทัล ซึ่งการเรียนรู้นี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อครูเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์สื่อดิจิทัลผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ บนออนไลน์ มีความสามารถในการชี้แนะ แนะนำ มีความเข้าใจในกลไกการสื่อสารของสื่อดิจิทัลในด้านต่างๆ และสามารถที่จะประยุกต์ใช้องค์ประกอบของสื่อดิจิทัล ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
ดังนั้น โครงการบริการวิชาการเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและยกระดับคุณภาพการศึกษากิจกรรม : Digital Content Creator สำหรับการเรียนการสอนเป็นการพัฒนาครูในการสร้างสื่อการเรียนรู้สู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่จะทำให้ครูมีความรู้รอบและทักษะครอบคลุมความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้ง 4 มิติ ได้แก่ การใช้ การเข้าใจ การสร้าง และการเข้าถึง สามารถนำมาจัดการเรียนการสอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในยุคที่ถูกกล่าวถึงว่า “โลกไร้พรมแดน” ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566- 2570) กลยุทธ์ที่ 3 ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ผู้เรียนมีคุณลักษณะและทักษะที่จำเป็นเป็นในศตวรรษที่ 21 อย่างครบถ้วน ส่งเสริม พัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายในด้านการศึกษาในยุคดิจิทัลและการเรียนรู้ระหว่างประเทศ โดยการพัฒนาครูให้มีความเข้มแข็ง เพื่อการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้เรียนที่เปลี่ยนไป ซึ่งครูต้องมีความเชี่ยวชาญ เน้นแบ่งปันองค์ความรู้เสริมสร้างประสบการณ์ พัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ทักษะความสามารถ รังสรรค์องค์ความรู้สร้างคุณค่าให้ตนเองส่งต่อให้ผู้เรียน ผ่านรูปแบบจัดการเรียนการสอนแนวใหม่โดยใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อ ส่งเสริมทักษะใหม่ให้กับผู้เรียน ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคมในอนาคต
จากที่กล่าวมาข้างต้น ทางผู้จัดโครงการจึงเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว ในการพัฒนาครูสร้างสื่อการเรียนรู้สู่แพลตฟอร์มออนไลน์ โดยเน้นการสร้างเนื้อหาที่สร้างสรรค์บนแพลตฟอร์มออนไลน์ประเภทต่าง ๆ ด้วยเทคนิคการเล่าเรื่อง (Story Telling) ซึ่งเป็นการใช้องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้ง 4 มิติ ได้แก่ การใช้
การเข้าใจ การสร้าง และการเข้าถึง ให้น่าสนใจและน่าติดตามบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เป็นที่นิยมของผู้เรียนในยุคดิจิทัล ได้แก่ Vlog , Tiktok , Youtube , Facebook เป็นต้น ซึ่งโครงการนี้จะสร้างครูที่เชี่ยวชาญที่สามารถแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในการสอนและการผลิตสื่อการเรียนรู้สมัยใหม่ ไปยังครูคนอื่น ๆ ในระบบการศึกษา ทำให้การพัฒนาการศึกษาในประเทศของเราเป็นไปอย่างมีคุณภาพและทันตามทิศทางการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล
1) มีสื่อการสอนบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มากขึ้น เป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนเข้าถึงองค์ความรู้ในรูปแบบดิจิทัลคอนเทนซึ่งจะทำให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองโดยไม่มีข้อจำกัด โดยมีครูเป็นผู้สนับสนุน
2) ครูสามารถสร้างสื่อการเรียนรู้บนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ตรงกับความต้องการของผู้เรียน และส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
3) ครูมีความรู้รอบและทักษะครอบคลุมความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้ง 4 มิติ ได้แก่ การใช้ การเข้าใจ การสร้าง และการเข้าถึง มากขึ้น สามารถนำมาเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4) จุดประกายความคิดในการเป็นครูต้นแบบด้านดิจิทัลคอนเทนต์ และสร้างครูที่เชี่ยวชาญที่สามารถแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ในการสอนและการผลิตสื่อการเรียนรู้สมัยใหม่ ไปยังครูคนอื่น ๆ ในระบบการศึกษา