Target | Indicator | Result |
---|---|---|
SDG 12
RESPONSIBLE CONSUMPTION & PRODUCTION
|
||
12.7 Promote public procurement practices that are sustainable, in accordance with national policies and priorities | 12.7.1 Number of countries implementing sustainable public procurement policies and action plans | มีการศึกษาในประเทศไทยเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคและผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อการใช้และการกำจัดขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ในพื้นที่บริเวณชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี เพื่อนำไปสู่ความเป็นไปได้และหารูปแบบที่เหมาะสมของการนำบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้มาใช้ในพื้นที่บริเวณชายหาดและการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายในแหล่งท่องเที่ยวประเภทชายหาด ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายการใช้พลาสติกชีวภาพในอนาคต โดยในการทำวิจัยได้มีการบูรณาการร่วมกับเทศบาลบางแสน |
12.8 By 2030, ensure that people everywhere have the relevant information and awareness for sustainable development and lifestyles in harmony with nature | 12.8.1 Extent to which (i) global citizenship education and (ii) education for sustainable development (including climate change education) are mainstreamed in (a) national education policies; (b) curricula; (c) teacher education; and (d) student assessment |
การทำความเข้าใจร่วมกันของชุมชน ภาครัฐ (ท้องถิ่น) ภาควิชาการ และผู้ประกอบการ หรือการสร้างกระบวนการทำงานแบบจตุภาคี (Quadruple helix model) และการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญในการดำเนินงานร่วมกันระหว่างองค์กรและทุกภาคส่วนให้เป็นไปโดยมีความเป็นเอกภาพและมีพลัง แต่ละภาคส่วนจะให้ความสำคัญกับทั้งการส่งต่อผลประโยชน์สู่ชุมชน และการแข่งขันได้ในระดับโลก โดยกระบวนการขับเคลื่อนสามารถทำได้โดยกลไกการทำงาน ผ่านการผสานพลังภาคเอกชน ภาครัฐ มหาวิทยาลัย และชุมชน รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากเป้าหมายและความร่วมมือในระดับชาติและนานาชาติ โดยทีมวิจัยจะช่วยขับเคลื่อนศักยภาพของหน่วยงานต่าง ๆภายใต้บริบทของพื้นที่ ทั้งในมิติของนักวิจัย องค์ความรู้ และโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัย โครงสร้างพื้นฐานด้านมิติทางสังคมและธุรกิจ และการส่งเสริมธุรกิจนวัตกรรม มาใช้เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการทำงานในรูปแบบจตุภาคีระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคการศึกษา และชุมชน ที่จะก่อให้เกิดการขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป ทีมวิจัยทะเลไทยไร้ขยะ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของพลังในการมีส่วนร่วมดังกล่าว จึงได้ร่วมกับทางเทศบาลเมืองแสนสุขและภาคีต่าง ๆในการจัดกิจกรรม “ก้าวที่สำคัญของมหานครบางแสน” ในการขับเคลื่อนกลไกที่สามารถผลักดันการสร้างเครือข่ายธุรกิจสีเขียว ที่สามารถสร้างเป้าหมายร่วมกันไปสู่ชุมชนและสังคมที่มีความยั่งยืน |
12.a Support developing countries to strengthen their scientific and technological capacity to move towards more sustainable patterns of consumption and production | 12.a.1 Amount of support to developing countries on research and development for sustainable consumption and production and environmentally sound technologies | ในโครงการวิจัยมีการศึกษากระบวนการจัดการการย่อยสลายบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพแบบฝังกลบในโรงปุ๋ยหมัก |
12.b Develop and implement tools to monitor sustainable development impacts for sustainable tourism that creates jobs and promotes local culture and products | 12.b.1 Number of sustainable tourism strategies or policies and implemented action plans with agreed monitoring and evaluation tools | มีการศึกษาในประเทศไทยเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภคและผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อการใช้และการกำจัดขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ในพื้นที่บริเวณชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี เพื่อนำไปสู่ความเป็นไปได้และหารูปแบบที่เหมาะสมของการนำบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้มาใช้ในพื้นที่บริเวณชายหาดและการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายในแหล่งท่องเที่ยวประเภทชายหาด ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายการใช้พลาสติกชีวภาพในอนาคต โดยในการทำวิจัยได้มีการบูรณาการร่วมกับเทศบาลบางแสน |
ในปัจจุบันปัญหาขยะในมหาสมุทรที่พบมากได้สะท้อนให้เห็นถึงวิกฤตปัญหาขยะมูลฝอยที่มาจากบนบกสู่ท้องมหาสมุทร อันเนื่องมาจากหลายประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกไหลลงสู่มหาสมุทรซึ่งประเทศไทย ติดอันดับ 6 ของประเทศที่ปล่อยขยะลงสู่ทะเลมากที่สุดในโลก ถึง 2.83 ล้านตัน โดยทั่วโลกในแต่ละปีมีขยะพลาสติกไหลลงมหาสมุทรกว่า 8 ล้านตัน ซึ่งแพขยะในมหาสมุทรมีขนาดใหญ่กว่านครนิวยอร์กถึง 34 เท่า ชิ้นส่วนของพลาสติกเหล่านี้มีความคมเปราะบาง เป็นพิษ และพบได้บ่อยในกระเพาะอาหารของซากปลา เต่าทะเล และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล เมื่อเศษพลาสติกเข้าสู่ร่างกายของสัตว์ทะเลแล้วจะส่งผลให้กระเพาะอาหารและลำไส้อุดตัน เนื่องจากกระบวนการย่อยอาหารไม่สามารถย่อยเศษพลาสติกเหล่านี้ได้ ทำให้ร่างกายของสัตว์ทะเลอ่อนแอลงและตายในที่สุด นอกจากนี้แล้วพลาสติกดังกล่าวยังสามารถแตกตัวเป็นชิ้นเล็กๆ หรือไมโครพลาสติก ซึ่งสามารถสะสมอยู่ในกล้ามเนื้อของสัตว์ทะเลซึ่งจะถูกบริโภคโดยมนุษย์ และมีรายงานการก่อมะเร็งของไมโคร พลาสติกที่สะสมอยู่ในสัตว์ทะเลอีกด้วย
บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ตามแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลไม่ว่าจะเพื่อการอุปโภคบริโภค หรือ กิจกรรมต่างๆ ในบริเวณชายหาดและท้องทะเล ส่วนใหญ่เป็นบรรจุภัณฑ์พลาสติก อาทิเช่น ถ้วย ถาด ช้อน ส้อม และถุง ซึ่งเป็นการใช้ครั้งเดียวทิ้ง ไม่มีการใช้ซ้ำ จึงทำให้มีขยะพลาสติกเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน ซึ่งมีโอกาสสูงมากที่ขยะพลาสติกจะตกค้างในทะเล ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และภาพลักษณ์ของประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยมีรายได้ที่สำคัญจากการท่องเที่ยวทางทะเลมากกว่า 1 ล้านล้านบาท ดังนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และยกระดับการท่องเที่ยวประเทศไทยอย่างยั่งยืน การจัดการขยะพลาสติกจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นที่ต้องบริหารจัดการตั้งแต่ขยะบนฝั่งก่อนลงสู่การเกิดขยะในทะเล แนวทางหนึ่งในการบรรเทาปัญหาดังกล่าวก็คือการใช้พลาสติกจากบรรจุภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพทั้งบนบกและในทะเล ซึ่งเป็นทั้งการลดขยะจากแหล่งกำเนิดและการกั้นขยะก่อนลงสู่ทะเล ควบคู่ไปกับการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคและผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อการใช้และการกำจัดขยะที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ในพื้นที่บริเวณชายหาดเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการหารูปแบบที่เหมาะสมของการนำบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้มาใช้ในพื้นที่บริเวณชายหาด
1. จากการดำเนินการกิจกรรมดังกล่าว ได้ทำให้เห็นถึงศักยภาพของชุมชนและภาคีในการมีส่วนร่วมตลอดจนความตั้งใจที่จะขับเคลื่อนโมเดล “บางแสนมหานคร” ที่สามารถพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนได้ต่อไป โดยในมิติของขยะที่เกิดขึ้นนั้นมีเป้าหมายที่จะนำมาสู่การออกแบบหรือสร้างคุณค่าใหม่ (Circular economy) โดยผ่านกิจกรรมการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคี นอกจากนี้การนำมาสร้างคุณค่าใหม่นั้นจะอยู่ในรูปแบบของธุรกิจซึ่งจะสร้างรายได้และผลตอบแทน ตลอดจนมีการจ้างงาน และการใช้ของต่าง ๆในพื้นที่ ทำให้เกิดการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่
2. การดำเนินการดังกล่าวผ่านเครือข่ายภาคีทั้ง 5 ภาคส่วนสามารถนำมาสรุปเป็นแนวทางในการบริหารจัดการขยะอย่างเป็นรูปธรรม และจะนำไปสู่การออกแบบระบบ กลไก และโมเดลทางธุรกิจที่สามารถนำไปสร้างรายได้ และต่อยอดเป็นองค์กรธุรกิจต้นแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชุนได้อีกด้วย
3. ข้อมูลวงจรขยะพลาสติกที่ ประเภทและปริมาณขยะพลาสติกตกค้างบนบกและในทะเลในพื้นที่ศึกษาที่ จำแนก single use plastic จากขยะพลาสติกทั้งหมด
4. นวัตกรรมการจัดการและการลดขยะทะเลในเชิงสังคมและในเชิงเทคโนโลยี
ในเชิงพฤติกรรม/สังคม
4.1 สร้างค่านิยมในการมาใช้พลาสติกย่อยสลายได้
4.2 สร้างจิตสำนึกในการทิ้งขยะให้ถูกที่
5. เชิงเทคโนโลยี : กระบวนการย่อยสลายที่มีประสิทธิภาพ
ผลิตภัณฑ์เพื่อทดแทนการใช้ single use plastic โดยเป็นบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพ
และแบบจำลองเชิงแนวคิดในการควบคุมขยะกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ศึกษา