Log In
bg

โครงการโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบพึ่งตนเอง

Target Indicator Result
มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
SDG 3 GOOD HEALTH AND WELL-BEING
การศึกษาที่เท่าเทียม
SDG 4 QUALITY EDUCATION
4.3 By 2030, ensure equal access for all women and men to affordable and quality technical, vocational and tertiary education, including university 4.3.1 Participation rate of youth and adults in formal and non-formal education and training in the previous 12 months, by sex
4.5 By 2030, eliminate gender disparities in education and ensure equal access to all levels of education and vocational training for the vulnerable, including persons with disabilities, indigenous peoples and children in vulnerable situations 4.5.1 Parity indices (female/male, rural/urban, bottom/top wealth quintile and others such as disability status, indigenous peoples and conflict-affected, as data become available) for all education indicators on this list that can be disaggregated
การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
SDG 8 DECENT WORK AND ECONOMIC GROWTH
8.3 Promote development-oriented policies that support productive activities, decent job creation, entrepreneurship, creativity and innovation, and encourage the formalization and growth of micro-, small- and medium-sized enterprises, including through access to financial services 8.3.1 Proportion of informal employment in non?agriculture employment, by sex
ลดความเหลื่อมล้ำ
SDG 10 REDUCED INEQUALITIES
10.1 By 2030, progressively achieve and sustain income growth of the bottom 40 per cent of the population at a rate higher than the national average 10.1.1 Growth rates of household expenditure or income per capita among the bottom 40 per cent of the population and the total population
เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน
SDG 11 SUSTAINABLE CITIES AND COMMUNITIES
11.a Support positive economic, social and environmental links between urban, peri-urban and rural areas by strengthening national and regional development planning 11.a.1 Proportion of population living in cities that implement urban and regional development plans integrating population projections and resource needs, by size of city
Caveat

โครงสร้างสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2561) การพัฒนาศักยภาพหรือการส่งเสริมภาวะพฤฒิพลังของผู้สูงอายุในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปหรือวัยหลังเกษียณ ส่งผลให้มีแนวคิดจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนศักยภาพและทักษะผู้สูงอายุในพื้นที่ของตนเองอย่างครอบคลุมบริบททุกด้าน ทั้งกาย จิต เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการนำแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตมาใช้ในการจัดการศึกษาและจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะชีวิตที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตที่ผู้สูงอายุต้องการและสนใจ ผ่านการสนับสนุนจากวิทยากรจิตอาสาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบันโรงเรียนผู้สูงอายุในประเทศไทยมีลักษณะการจัดการและดำเนินงานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทและบทบาทภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละพื้นที่ เช่น โรงเรียนที่อยู่ภายใต้การดูแลขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ชุมชนจัดการตัวเอง เป็นต้น ส่งผลให้สถานที่ตั้ง การบริหารจัดการ และหลักสูตรมีความแตกต่างกัน จากการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (มิ่งขวัญ คงเจริญ และ กัมปนาท บริบูรณ์, 2563 ทุนสนับสนุนการวิจัย งบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ 2562) พบปัญหาการขาดงบประมาณดำเนินงานที่เพียงพอและต่อเนื่องจากแหล่งทุนภายนอก อาทิเช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ส่งผลให้ประสบปัญหาการขาดแคลนทางด้านสถานที่ อุปกรณ์อำนวยความสะดวก บุคลากร การจัดกิจกรรม การดำเนินงาน จนกระทั่งการยุติสถานะโรงเรียนผู้สูงอายุนอกจากนี้พบปัญหาการขาดความร่วมมือของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนผู้สูงอายุ เนื่องจากโรงเรียนผู้สูงอายุไม่สามารถดำเนินงานเพียงลำพัง ส่งผลให้การดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุไม่ยั่งยืน รวมถึง ขาดองค์ความรู้ ที่ผู้สูงอายุพึงจะมี จากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ อีกทั้งยังพบปัญหาการขาดแคลนบุคลากรการดำเนินงานเกี่ยวกับโรงเรียนผู้สูงอายุ ในโรงเรียนผู้สูงอายุที่ขาดความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย ส่งผลให้ขาดบุคลากรดำเนินงาน และการถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนผู้สูงอายุ ดังนั้นการพึ่งตนเองในการบริหารจัดการเป็นสิ่งสำคัญ จึงต้องมีกลไกที่สำคัญกล่าวคือ ควรเปิดโรงเรียนผู้สูงอายุให้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย อาทิเช่น การให้ความรู้ด้านสุขภาพจากหน่วยงานสาธารณสุข การสนับสนุนด้านการศึกษาขั้นพื้นฐานจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) การสนับสนุนด้านงบประมาณจากหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การให้ความร่วมมือด้านการมีส่วนร่วมในโรงเรียนผู้สูงอายุของคนในชุมชน และควรผลักดันผู้สูงอายุหรือคนในชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ
ในปี พ.ศ. 2562 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้รับทุนวิจัยจากแผนบูรณาการพัฒนาศักยภาพ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ได้ศึกษาวิจัยถึงการพัฒนารูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนเป็นฐานได้ข้อค้นพบว่าโรงเรียนผู้สูงอายุในประเทศไทยมีพื้นฐานมาจากการยกระดับชมรมผู้สูงอายุให้มีการจัดกิจกรรมลักษณะเป็นแบบแผนมากยิ่งขึ้นและมีความต่อเนื่องของกิจกรรม มีการรวมกลุ่มจัดกิจกรรมในพื้นที่ส่วนรวมเป็นประจำจนเกิดการรวมตัวจัดตั้งเป็นโรงเรียนผู้สูงอายุในวัด อนามัย โรงพยาบาลชุมชน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น จากการสำรวจพบว่า โรงเรียนผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีหน่วยงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในแต่ละพื้นที่เข้ามาเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ทั้งการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การให้งบประมาณสนับสนุนในการทำกิจกรรมรวมถึงให้ใช้พื้นที่ของหน่วยงานของตนสำหรับก่อตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุขึ้นมา โรงเรียนผู้สูงอายุส่วนใหญ่จึงก่อตั้งในสถานที่ราชการ ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวมีห้องเรียน/ห้องกิจกรรม ห้องน้ำ และลานเอนกประสงค์ที่ใช้สำหรับทำกิจกรรมของคนจำนวนมาก เพื่อความสะดวกในการทำกิจกรรมและความปลอดภัยของผู้สูงอายุ แต่ในการบริหารจัดการในการจัดบริการและแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุและตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ และไม่เพียงพอต่อความต้องการของกลุ่มผู้สูงอายุในพื้น จากข้อมูลของกรมกิจการผู้สูงอายุปี 2561 ตั้งเป้าหมายให้มีโรงเรียนผู้สูงอายุ 2,600 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ และยังพบปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่ซ้ำซาก ไม่มีการเรียนการสอนวิชาใหม่ ๆ การทำกิจกรรมในแต่ละครั้งมักใช้กิจกรรมเดิม เนื่องด้วยใช้วิทยากรจิตอาสาจากนักเรียนผู้สูงอายุคนเดิมสอน ไม่มีวิทยากรต่างแหล่งอื่นมาสอน และอุปสรรคที่พบในการจัดการศึกษาเพื่อผู้สูงอายุ ได้แก่ การขาดแคลนบุคลากร ขาดแคลนเจ้าหน้าที่ประสานงาน ขาดองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหาทั้งทางร่างกาย การชำระหนี้สิน การสร้างรายได้ การพัฒนาอาชีพ และจากการศึกษาพบว่าองค์ประกอบของโรงเรียนผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ มีดังนี้
(1) ความเข้มแข็งของกลุ่ม/แกนนำและสมาชิก กล่าวคือ การเริ่มต้นของการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ จำเป็นต้องมีผู้นำหรือแกนนำที่มีความรู้และได้รับการยอมรับในชุมชน ตัวอย่างเช่น ข้าราชการครูเกษียณเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอน ผู้นำท้องถิ่นเป็นผู้ที่มีสามารถรวมกลุ่มผู้สูงอายุมาทำกิจกรรมร่วมกันได้ รวมถึงชมรมผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่มีความพร้อมในการทำกิจกรรม เป็นต้น
(2) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย กล่าวคือ หน่วยงานในพื้นที่เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุ ตัวอย่างเช่น การเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ การเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการดำเนินงาน และการเป็นผู้สนับสนุนด้านงบประมาณ
(3) การมีเป้าหมายร่วมกัน กล่าวคือ โรงเรียนผู้สูงอายุมีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจน ส่งผลให้มีวางแบบแผนโครงสร้างการทำงานและรูปแบบกิจกรรมที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงและมีความต่อเนื่อง
(4) การมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย กล่าวคือ โรงเรียนผู้สูงอายุจะดำเนินงานได้จะต้องมีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยหลักสูตรและกิจกรรมที่จัดขึ้นจะต้องสามารถตอบสนองความต้องการ พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ และนำไปปฏิบัติใช้ได้จริง ตามความหลากหลายของผู้สูงอายุที่มีความถนัดและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน
(5) การมีกองทุนและงบประมาณสนับสนุน กล่าวคือ โรงเรียนจะดำเนินการได้ต้องมีงบประมาณในการทำงาน ซึ่งแหล่งงบประมาณมีทั้งการขอรับการจัดสรรจากภาครัฐ การเขียนโครงการเพื่อขอทุนสนับสนุนจากกองทุนต่าง ๆ การขอรับบริจาค และการหารายได้จากผลิตภัณฑ์
(6) การบริหารจัดการที่ดีและการจัดการตนเอง กล่าวคือ การบริหารหรือการจัดการทรัพยากรอย่างเป็นระบบ ทั้งในด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ การจัดการ มีการวางแผนที่ดี กระบวนการดำเนินงาน การติดตามประเมินผล ทบทวน ปรับปรุง และพัฒนาจนเกิดกระบวนการเรียนรู้ ทักษะ ประสบการณ์ ในการพัฒนาหรือจัดการกับสิ่งต้องการหรือแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง เพื่อให้การดำเนินงานหรือกิจกรรมบรรลุเป้าหมายที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
(7) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กล่าวคือ โรงเรียนผู้สูงอายุเป็นพื้นที่ในมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันทำให้เกิดความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จนกระทั่งส่งผลต่อความคิด ทัศนคติ และการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของคน ๆ นั้น
(8) ความเกื้อกูล สามัคคี และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กล่าวคือ กลุ่มของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียนมีความผูกพันและมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมจนทำให้เกิดความรู้สึก เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และไม่ทอดทิ้งกัน
(9) การมีคุณค่า ได้รับการยกย่อง และมีส่วนร่วมทำประโยชน์ต่อชุมชน กล่าวคือ ผู้สูงอายุที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนผู้สูงอายุ เห็นคุณค่าในตัวเอง มีความรู้ มีสติปัญญา มีความสามารถ รวมถึงมีประสบการณ์ ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการสร้างคุณประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมจนเป็นที่ยอมรับ
(10) การถ่ายทอดประสบการณ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น กล่าวคือ การนำความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุ ที่ผ่านการปฏิบัติและพัฒนาให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสืบสานจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง
จากแนวคิดกิจการเพื่อสังคมที่มีกระแสทางสังคมค่อนข้างเป็นที่ยอมรับ เพราะเป็นการทําธุรกิจที่มีจุดประสงค์เพื่อความอยู่รอดทางธุรกิจและเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ซึ่งอาจเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกําไร หรือมีผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมส่วนที่ใหญ่มาจากองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกําไร ดังนั้นแนวคิด“ผู้ประกอบการเพื่อสังคม” จึงเป็นทางเลือกใหม่ในการแก้ปัญหาสังคมปัจจุบันที่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น การคาดหวังให้ภาครัฐเพียงฝายเดียวเป็นตัวหลักในการแก้ปัญหาสังคมคงทําได้ไม่ง่าย และที่ผ่านมายังไม่ประสบความสําเร็จเท่าที่ควรจึงต้องอาศัยความร่วมมือจาก หลายภาคส่วนในสังคมไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน (None Government Organization) องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกําไร (None Profit Organization) และภาคประชาสังคมหรือ กลุ่ม ชุมชนเองเป็นตัวขับเคลื่อนในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาตนเอง โดยเฉพาะการเข้าสู่สังคมสูงวัยเต็มรูปแบบในไม่ช้านี้ กิจการเพื่อสังคมจึงเป็นกิจการที่มีการดําเนินงานเหมือนกับธุรกิจทั่ว ๆ ไป แต่มีเป้าหมายทางสังคม (Social Mission) เป็นเป้าหมาย หลักในการดําเนินธุรกิจ ผลกําไรที่ได้จากการดําเนินธุรกิจจะถูกแยกออกเป็นสองส่วน ส่วนที่หนึ่งจะถูกนํากลับคืนสู่ธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจสามารถดํารงอยู่ต่อไปได้ ขณะที่กําไรส่วนที่สองจะถูกนํากลับคืนสู่สังคมในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้ปัญหาสังคมที่ดีขึ้น ทําให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ซึ่งเป็นเป้าหมายในยุทธศาสตร์ชาติ ที่เป็นพื้นฐานที่จะทําให้เกิด ความมั่งคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เพราะการเป็นผู้ประกอบการทางสังคม เป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นกลุ่มเป้าหมายที่จะอยู่ในภาวะพึ่งพิงในอนาคต จะต้องพัฒนาศักยภาพในด้านความรู้ ทักษะ ให้เกิดการพึ่งพาตนเองในทุกมิติ
โรงเรียนผู้สูงอายุ วิทยาลัยผู้สูงอายุ มหาวิชชาลัย มหาวิทยาลัยวัยที่สาม ชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ(ศพอศ.) ที่มีอยู่ในประเทศไทยมีความหลากหลายทั้งรูปแบบ โครงสร้าง หลักสูตร วิธีการ ระเบียบข้อบังคับ ผู้ดูแล ผู้มีส่วนรับผิดชอบหลัก อีกทั้งผู้สนับสนุนงบประมาณ แหล่งงบประมาณ มีความหลากหลาย จึงควรมีโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบ ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีความเชื่อมั่นในความสามารถที่จะกระทำการใด ๆ ให้สำเร็จได้ด้วยตัวเองโดยไม่เป็นภาระแก่ผู้อื่น ซึ่งเป็นรูปแบบของการพัฒนาศักยภาพผู้สูงวัยอย่างมีคุณค่า ที่นอกจากมีการบูรณาการของหน่วยงานในระดับนโยบายที่ให้ความสําคัญกับการเตรียม ความพร้อมในการเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ รัฐบาลมีแผนบูรณาการและให้ความสําคัญเป็นประเด็นเร่งด่วน มีการบูรณาการหลายหน่วยงานทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ตลอดจนในระดับพื้นที่ ซึ่งมีแผนงานโครงการรองรับมากมาย แต่ในความเป็นจริงยังไม่สามารถรองรับกับความต้องการที่หลากหลายและซับซ้อนของผู้สูงอายุทั้ง 4 มิติได้ทั้งในด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสภาพแวดล้อม อีกทั้งงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ขาดความต่อเนื่องของแผนงาน ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ดังนั้นการมีหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงวัยได้พัฒนาตนเองและเสริมสร้างศักยภาพให้เป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมและยกระดับโรงเรียนผู้สูงอายุให้เป็นกิจการเพื่อสังคม จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุ ให้สามารถดํารงชีวิตอย่างมีคุณค่า ไม่เป็นภาระแก่ลูกหลาน สร้างเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งเป็นการพัฒนาที่สร้างความยั่งยืนอย่างแท้จริง อีกทั้งจะลดภาระภาครัฐในการจัดสวัสดิการทางสังคมด้วย
ในการพัฒนาผู้สูงอายุ ให้เป็นผู้ประกอบการทางสังคมน่าจะเป็นแนวทางที่จะทำให้ผู้สูงอายุได้พัฒนาศักยภาพและสร้างโอกาสผู้สูงวัยอย่างยั่งยืน อีกทั้งได้ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติที่ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาประเทศในการนำพาประเทศไทยก้าวสู่ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นการสร้างนวัตกรรมในการลดความเหลื่อมล้ำในสังคมสูงอายุที่ขยายตัวมากยิ่งขึ้นด้วย เมื่อโรงเรียนผู้สูงอายุต่างๆ สามารถพึ่งตนเองได้จะส่งผลเชิงบวกต่อการพัฒนา ประเทศในทุกๆ ด้าน
ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาตลอดชีวิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร- วิโรฒ ได้มีบทบาทในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ One Day Learning ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพคนไทย แผนงานบูรณาการการพัฒนาศักยภาพคนตามช่วงวัย ประจำปีงบประมาณ 2560 และได้รับทุนวิจัยจากแผนบูรณาการพัฒนาศักยภาพ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ในเรื่อง การพัฒนารูปแบบโรงเรียนผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ซึ่งมีความพร้อมในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ พัฒนากลไก และ พัฒนาหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุต้นแบบพึ่งตนเอง เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน และมีเจตคติในการอยู่ร่วมกันที่ดีในสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ เป็นการสร้างองค์ความรู้ในการส่งเสริมศักยภาพของผู้สูงอายุและพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่การเป็นผู้ประกอบการทางสังคม อีกทั้งยังเตรียมพัฒนาระบบการบริหารจัดการโรงเรียนผู้สูงอายุ สู่การเป็นกิจการเพื่อสังคม เพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างแกนนำในพื้นที่ให้สามารถพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมและสามารถพึ่งพาตนเองได้

เพิ่มรายละเอียดกิจกรรมที่ทำให้แก่ชุมชน และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม

Impact Level
Impact