Target | Indicator | Result |
---|---|---|
SDG 3
GOOD HEALTH AND WELL-BEING
|
||
SDG 4
QUALITY EDUCATION
|
||
SDG 5
GENDER EQUALITY
|
ข้อมูลจาก Asia Pacific Transgender health blueprint โดยมูลนิธิเอเชียแปซิฟิค ทรานส์เจนเดอร์ เนตเวิร์ค (Asia Pacific Transgender Network, APTN) ได้คาดประมาณการณ์ว่ามีบุคคลข้ามเพศอยู่จำนวน 9 - 9.5 ล้านคน ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณาสุข ได้เปิดเผยตัวเลขว่ามีจำนวนหญิงข้ามเพศในประเทศไทยทั้งหมดอยู่ประมาณ 313,747 คน สำหรับจำนวนของชายข้ามเพศในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดและงานวิจัยเกี่ยวกับชายข้ามเพศยังมีจำกัดเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตามเนื่องจากยังไม่มีการออกกฎหมายรับรองเพศสภาพในประเทศไทย ประชากรคนข้ามเพศ จึงต้องประสบปัญหาการเลือกปฏิบัติในหลายมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการเข้าถึงบริการทางสุขภาพ ซึ่งจากรายงานพบว่าคนข้ามเพศส่วนใหญ่ไม่เคยพบแพทย์เพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพทั่วไปโดยเฉพาะการข้ามเพศอย่างปลอดภัย รวมถึงต้องพบกับประสบการณ์เชิงลบเมื่อเข้ารับบริการสุขภาพเนื่องจากการถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่ให้เกียรติจากผู้ให้บริการ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเข้าถึงการบริการทางสุขภาพของคนข้ามเพศอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดของแหล่งข้อมูลความรู้และงานวิจัยด้านสุขภาพของคนข้ามเพศอีกด้วย
จากสาเหตุดังกล่าว ในช่วงเวลาที่ผ่านมามีศูนย์สุขภาพให้บริการเพื่อบุคคลข้ามเพศมากขึ้น ร่วมกับการสนับสนุนจากโครงการสนับสนุนวิชาการและพัฒนาเครือข่ายการให้บริการทางคลินิกกับบุคคลข้ามเพศ ซึ่งได้รับทุนจากสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ (สำนัก 2) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีเป้าหมายผลักดันศูนย์บริการสุขภาพบุคคลข้ามเพศในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีบทบาทหนุนเสริมในเรื่ององค์ความรู้ และสร้างเครือข่ายบุคลากรทางการแพทย์และคนทำงานเรื่องความหลากหลายทางเพศเชิงนโยบาย จึงเป็นโอกาสดีในการสร้างความร่วมมือเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหลักคิดทฤษฎี กระบวนการจัดการให้บริการของศูนย์สุขภาพของบุคคลข้ามเพศ โดยเกิดความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญและผู้สนใจร่วมกันจัดทำโครงการสนับสนุนวิชาการและพัฒนาเครือข่ายการให้บริการทางคลินิกกับบุคคลข้ามเพศ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เกิดการพัฒนาการให้บริการของศูนย์สุขภาพเพศ เพื่อเป็นพื้นที่ของผู้เชี่ยวชาญและบุคคลข้ามเพศที่สนใจได้มาเรียนรู้ร่วมกัน และเกิดแนวทางใหม่ ในการพัฒนาศูนย์สุขภาพเพื่อบุคคลข้ามเพศต่อไป
วัตถุประสงค์
1. ให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดศูนย์บริการสุขภาพเพื่อบุคคลข้ามเพศ
2. เพื่อพัฒนาศูนย์ให้บริการสุขภาพเพื่อบุคคลข้ามเพศ ให้เกิดการบริการที่เหมาะสมกับบุคคลข้ามเพศ
3. ประชาสัมพันธ์คลินิก Gender Harmony Clinic และบริการของคลินิก
ตัวชี้วัดและเป้าหมายของโครงการ
1. เปิดคลินิกบุคคลข้ามเพศ จำนวน 1 คลินิก
2. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่า 3.51 จาก 5 คะแนน จากผู้เข้าร่วมโครงการ
3. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่า 200 คน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ได้รับความรู้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดศูนย์บริการสุขภาพเพื่อบุคคลข้ามเพศและการเปิดคลินิก Gender Harmony Clinic ในการบริการที่เหมาะสมกับบุคคลข้ามเพศ