bg

โครงการรวมพลังสร้างสรรค์เด็กไทยส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน : การสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของโรงเรียนเพื่อการรวมพลังสร้างสรรค์เด็กไทยส่งเสริมนิสัยรักการอ่านระยะที่ 2

Target Indicator Result
การศึกษาที่เท่าเทียม
SDG 4 QUALITY EDUCATION
4.1 By 2030, ensure that all girls and boys complete free, equitable and quality primary and secondary education leading to relevant and effective learning outcomes 4.1.1 Proportion of children and young people (a) in grades 2/3; (b) at the end of primary; and (c) at the end of lower secondary achieving at least a minimum proficiency level in (i) reading and (ii) mathematics, by sex ผลการดำเนินโครงการทำให้เด็กปฐมวัยที่ร่วมโครงการมีโอกาสได้รับประสบการณ์ “การอ่านให้ฟัง” ผ่านการใช้ “หนังสือภาพ” ที่มีความหลากหลาย จำนวนในการฟังมีความถี่และสม่ำเสมอ ทั้งนี้การอ่านที่มีประสิทธิภาพเป็นพัฒนาการที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นโดยเฉพาะการเริ่มต้นการอ่านในระยะแรกเริ่ม (early literacy) ในเด็กปฐมวัยโดยใช้การอ่านให้ฟังและ หนังสือภาพที่เหมาะสมกับวัยเพื่อให้เด็กมีประสบการณ์การฟังและคลังคำศัพท์ที่มากเพียงพอต่อการอ่านในวัยประถมศึกษาและมัธยมศึกษา การละเลยต่อการอ่านให้ฟังในระยะแรกเริ่มนี้แล้วเร่งรัดให้เด็กเริ่มต้นการอ่านด้วยการอ่านสะกดคำ ในขณะที่เด็กยังขาดทักษะการฟัง การสนใจจดจ่อ คลังคำศัพท์และความสามารถในการตีความหมายของเรื่องราวได้ดีพอ ทำให้การเริ่มต้นการอ่านไม่สนุก เป็นกระบวนการที่ยากและเนิ่นช้าสำหรับเด็ก ส่งผลต่อนิสัยรักการอ่านของเด็กในระยะยาว
The results of the project have given the children participating in the project a chance to gain experience. "Reading to listen" through the use of a variety of "picture books" The number of listening is frequency and consistent. Effective reading is a hierarchical development, especially for early literacy in early childhood using reading-listening and learning. Age-appropriate picture books to provide children with a sufficient listening experience and vocabulary for primary and secondary reading. Neglecting reading, listen at this early stage and expedite the child to begin reading with spelling. While the child lacks sufficient listening skills, attention, vocabulary, and the ability to interpret stories. Makes the beginning of reading not fun. It's a difficult and slow process for kids. Affect the child's love of reading in the long term
4.2 By 2030, ensure that all girls and boys have access to quality early childhood development, care and pre?primary education so that they are ready for primary education 4.2.1 Proportion of children under 5 years of age who are developmentally on track in health, learning and psychosocial well-being, by sex กลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการคือกลุ่มเด็กปฐมวัย (2-6 ปี) ซึ่งมีพัฒนาการการเรียนรู้ในด้านการคิดและสติปัญญา เด็กควรได้รับการส่งเสริมสมรรถนะด้านการจำเบื้องต้น (basic memory skills) และสมรรถนะในด้านการคิด (concept formation) กิจกรรมของโครงการที่มุ่งให้เด็กได้รับประสบการณ์การอ่านให้ฟังผ่านหนังสือนิทานภาพ เป็นการส่งเสริมสมรรถนะทั้งการจำและการคิด ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยคือ การฟังนิทาน การพูดคุยสนทนา กับผู้เล่า (ครู ผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ที่อ่านให้ฟัง) การสังเกตภาพในหนังสือนิทานภาพพร้อมไปกับการฟังคำอ่านของผู้ใหญ่ สมองของเด็กๆเกิดกระบวนการคิดและตีความเรื่องราวต่างๆ ผลของโครงการทำให้เด็กได้มีโอกาสทำกิจกรรมในลักษณะนี้อย่างสม่ำเสมออย่างต่อเนื่องส่งผลพัฒนาการด้านการเรียนรู้
The main target group of the project is the early childhood (2-6 years), which develop cognitive and intellectual learning. Children should be promoted in basic memory skills and cognitive skills (concept formation), project activities aimed at giving children a reading experience through picture story books. It promotes both memory and thinking abilities. Through age-appropriate learning activities: listening to stories, talking with narrators (teachers, parents or adults reading to them), observing pictures in picture storybooks, as well as listening to adults' reading. Children's brains form a process of thinking and interpreting stories. As a result of the program, children have the opportunity to do activities like this on a regular basis, affecting learning development.
4.7 By 2030, ensure that all learners acquire the knowledge and skills needed to promote sustainable development, including, among others, through education for sustainable development and sustainable lifestyles, human rights, gender equality, promotion of a culture of peace and non-violence, global citizenship and appreciation of cultural diversity and of culture's contribution to sustainable development 4.7.1 Extent to which (i) global citizenship education and (ii) education for sustainable development, including gender equality and human rights, are mainstreamed at all levels in (a) national education policies; (b) curricula; (c) teacher education; and (d) student assessment การอ่านเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญในการนำพาบุคคลให้เรียนรู้ตลอดชีวิต หากไม่สร้างนิสัยรักการอ่านขึ้นตั้งแต่ในวัยเด็กก็จะส่งผลให้พลเมืองขาดทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญต่อไป การดำเนินโครงการมีแนวคิดสำคัญ 2 ประการในการดำเนินกิจกรรมคือ 1) การสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นต้องเริ่มต้นจากการอ่านที่นำมาซึ่งความสุขความเพลิดเพลินแก่เด็ก แล้วจึงค่อยๆ ยกระดับความเพลิดเพลินเป็นการพัฒนาปัญญาเพื่อนำสู่สุขภาวะในวิถีชีวิตทั้งในระดับปัจเจกและระดับสังคม และ 2) การสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้กับเด็กต้องอาศัยความร่วมมือรวมพลังทั้งในระดับครอบครัว สถานศึกษา และชุมชน ผ่านกระบวนการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เหมาะสมกับวัยและบริบทของเด็ก
Reading is one of the most important tools in bringing a person to learn throughout their lives. If the habit of reading is not established at a young age, citizens will continue to lack essential learning skills. The project implementation has two important concepts in the implementation of activities: 1) To create a reading culture, it must start from reading that brings happiness and enjoyment to children, and then gradually enhances the enjoyment to develop intelligence to It leads to well being in the way of life at both the individual and the social level, and 2) the building of a reading culture for children requires cooperation and synergy at the family, school and community levels through the process of promoting age-appropriate reading habits. And the context of the child
Caveat

โครงการมีแนวคิดสำคัญ 2 ประการในการดำเนินกิจกรรม คือ
(1) กุญแจสำคัญของการสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้เกิดขึ้นต้องเริ่มจากการอ่านที่นำมาซึ่งความสุขความเพลิดเพลินแก่เด็ก แล้วจึงค่อยๆ ยกระดับความเพลิดเพลินเป็นการพัฒนาปัญญาเพื่อนำสู่สุขภาวะในวิถีชีวิตทั้งในระดับปัจเจกและระดับสังคม และ
(2) การสร้างวัฒนธรรมการอ่านให้กับเด็กต้องอาศัยความร่วมมือรวมพลังทั้งในระดับโรงเรียน ห้องเรียน ครอบครัว ชุมชน ผู้บริหาร ครู ผู้ปกครอง นักวิชาการและนิสิตครูเป็นผู้ร่วมเรียนรู้ในการจัดกระบวนการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่เหมาะสมกับบริบทของเด็ก ด้วยแนวคิดสำคัญดังกล่าวโครงการจึงได้ดำเนินกิจกรรมที่สำคัญ 4 กิจกรรมเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของโครงการ
The project has two important ideas in conducting activities:
(1) The key to creating a reading culture must begin with reading that brings happiness and enjoyment to children, and then gradually elevates the enjoyment to the development of intelligence to lead to well-being in lifestyles in both Individualism and social level, and
(2) Creating a reading culture for children requires cooperation and energy, including at the school level, classroom, family, community, administrators, teachers, parents, academics and student teachers as participants in organizing a process to promote appropriate reading habits. In context of the child With this in mind, the project has carried out four key activities to achieve its goals.

Impact Level
Impact

จากกิจกรรมถอดบทเรียนร่วมกับครู ผู้ปกครองและชุมชนของโครงการฯ ผู้ปกครองส่วนหนึ่งสะท้อนว่าตนสามารถมีส่วนในการส่งเสริมการอ่านให้กับลูกหลานได้มากขึ้น การลงพื้นที่ไปจัดกิจกรรมการอ่านในชุมชนทำให้ผู้ปกครองและชุมชนเห็นถึงความสำคัญของการสร้างบรรยากาศการอ่าน เห็นประโยชน์ของการใช้หนังสือและเวลาของการอ่านในการลดปัจจัยเสี่ยงในการเข้าถึงสื่อที่ไม่เหมาะกับวัยโดยขาดผู้ใหญ่ดูแล อย่างเช่น สื่อในโทรศัพท์มือถือ และสื่อออนไลน์อื่นๆ การสนับสนุนหนังสือนิทานภาพจำนวนหนึ่งให้กับชุมชนใช้ในการสลับเปลี่ยนกันอ่านในแต่ละจุดอ่านนิทานในชุมชนเดียวกัน ทำให้เด็กมีโอกาสได้สัมผัสนิทานจำนวนมากและหลากหลาย เป็นการลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในการต้องซื้อหนังสือนิทานให้กับเด็กได้อย่างมาก
การดำเนินโครงการฯ ในระยะต่อไป (ปี 2562) เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดการสร้างบรรยากาศการอ่านในชุมชนที่มีลักษณะการมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น ทางโครงการฯ ได้ทำความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละตำบลของพื้นที่ที่โครงการฯ ให้บริการเพื่อสร้างความเข้าใจกับผู้บริหารระดับท้องถิ่นเกี่ยวกับการสร้างบรรยากาศและพื้นที่การอ่านขึ้นในชุมชน โดยยังคงความร่วมมือกับทางโรงเรียนในการสร้างพี่อาสานักอ่านซึ่งเป็นนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมไปกับการขยายฐานนักอ่านหน้าใหม่ไปยังกลุ่มเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่ โดยใช้รูปแบบของกิจกรรมเช่นที่เคยได้รับผลสำเร็จมาแล้วในระดับโรงเรียน ได้แก่ “การสร้างบรรยากาศการอ่าน – เพิ่มประสบการณ์การฟัง” เปิดโอกาสให้เด็ก ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองได้สัมผัสกับหนังสือนิทานภาพสำหรับเด็กให้มาก มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ “การอ่านให้ฟัง” ในระหว่างกลุ่มครูและครูผู้ดูแลเด็ก และระหว่างผู้ปกครองกันเองให้มากขึ้นเพื่อได้รับรู้เทคนิควิธีการในการอ่านให้ฟังซึ่งเป็นขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญยิ่งของการสร้างนิสัยรักการอ่าน และเพื่อเป็นการเสริมพลัง (empowerment) ให้กับผู้ใหญ่ที่แวดล้อมเด็กในพื้นที่ว่าตนสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับลูกหลานของตนเองได้ต่อไป
From the lesson transcript with the teacher Parents and communities of the project Part of the parents reflected that they could be more involved in promoting reading for their children. By undertaking a reading activity in the community, parents and the community realize the importance of creating a reading environment. See the benefits of book use and reading time to reduce the risk of having access to age-appropriate media without adult supervision, such as mobile media. And other online media Supporting a number of picture storybooks to the community is used to switch between reading at each reading point in the same community. Giving children the opportunity to experience many and varied stories This greatly reduces the parents' expense in having to buy storybooks for their children.
The implementation of the project in the next phase (2019) to create further development, creating a reading environment in the community with a more participatory nature, the project has cooperated with local government organizations in each district of Area that the project Serves to build understanding with local administrators about creating an atmosphere and reading space in the community. By continuing to cooperate with the school to create a volunteer reader who is a student at the basic education level. Along with expanding the base of new readers to the early childhood groups in the local child development center. It uses a pattern of activities such as those that have already been achieved at the school level, such as "Creating Reading Ambience - Enhancing Listening Experience". Teachers, carers and parents experience a lot of picture story books for kids. There is an exchange of experience. "Reading to listen" among teachers and child care teachers And between parents to gain knowledge of techniques and methods for reading to listen, which is a very fundamental step in building a reading habit And to empower (empowerment) to adults who surround children in the area that they can continue to play a part in building their children's reading habits.

Faculty of Education
Ms. Rachaya Matewat
3 Dec 20 14:15