Target | Indicator | Result |
---|---|---|
SDG 3
GOOD HEALTH AND WELL-BEING
|
Since December 31, 2019, a new virus has occurred in Wuhan. With a population of more than 11 million people, samples of infected people were analyzed in the laboratory to identify this virus as "Coronavirus" later the World Health Organization announced the official name for respiratory disease caused by the novel coronavirus (COVID-19). People infected with the Coronavirus will have the initial symptoms of a fever followed by a dry cough. Critically ill patients will have pneumonia associated with it. If symptoms are severe, they can lead to internal organ failure. For Thailand on January 13, 2020, Ministry of Public Health Stated that it was the first case infected with the novel coronavirus in Thailand It is a Chinese tourist coming from Wuhan, China (BBC NEW, 2020). Subsequently, there has been a continuous outbreak in Thailand.
The elderly is a group that requires a lot of care and attention. Even a group of people infected with COVID-19 will be a group of working people but most of the COVID-19 deaths are the elderly. Regarding, Thailand is entering the super aged society. This makes the elderly a more vulnerable group where the working age group can lead the infection to the elderly. Especially the elderly who have an unhealthy physical condition, the immune system decreases with age and some may have underlying disease So it can be easily infected.
Faculty of Economics Realizing the importance and concern of the elderly group, we have developed a document on the prevention of COVID-19 transmission. To the elderly Initially, public relations via facebook: PR ECON SWU, through the Line of General Hospital Director of General Hospital and through the community village headman line. In addition, there was also create Youtube and produced 330 publicity boards delivered to the Tambon Health Promoting Hospital. In the district of Pak Phli Nakhon Nayok Province Which has a large number of elderly, number of 3 places by following:
1. Health Promoting Hospital, Ban Phrom Phet Subdistrict, Khok Kruat Subdistrict, Pak Phli District, Nakhon Nayok Province.
2. Health Promoting Hospital, Ban Bung Khae Subdistrict Nong Saeng Sub-district, Pak Phli District, Nakhon Nayok Province.
3. Health Promoting Hospital, Ban Ko Ka Subdistrict, Tha Ruea Subdistrict, Pak Phli District, Nakhon Nayok Province.
Providing this knowledge, it focuses on building knowledge and understanding and giving importance to the health care of the people in the community through encouraging community members and the elderly to realize that "No one will take care of us as well as ourselves." to change the lifestyle of community members become more aware of their own and public health and hygiene. This makes the community stronger because of knowledge and self-reliance. Community members and the elderly are in good physical and mental health. This makes it possible to help reduce public health costs and budgets from the government's treatment of diseases.
นับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ในเมืองอู่ฮั่น ซึ่งมีประชากรกว่า 11 ล้านคน จากการเก็บผลตัวอย่างในผู้ที่ติดเชื้อนำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการได้ระบุชื่อเรียกของไวรัสชนิดนี้ว่าคือ "ไวรัสโคโรนา" ต่อมาองค์การอนามัยโลก ประกาศชื่อที่เป็นทางการสำหรับใช้เรียกโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ว่า "โควิด-ไนน์ทีน" (COVID-19) ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 19 จะมีอาการเริ่มแรกคือ มีไข้ ตามมาด้วยอาการไอแห้ง ๆ หลังจากนั้นราว 1 สัปดาห์จะมีปัญหาหายใจติดขัด ผู้ป่วยอาการหนักจะมีอาการปอดบวมอักเสบร่วมด้วย หากอาการรุนแรงมากอาจทำให้อวัยวะภายในล้มเหลว สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 กระทรวงสาธารณสุข ได้แถลงว่าได้พบผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในประเทศไทยเป็นรายแรก เป็นนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน (BBC NEW, 2563) ต่อจากนั้นได้มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย
ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่ต้องดูแลและใส่ใจมากเป็นพิเศษ แม้กลุ่มผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะเป็นกลุ่มคนวัยทำงาน แต่สำหรับผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งในประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้ผู้สูงอายุกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงอีกกลุ่มหนึ่งที่กลุ่มวัยคนทำงานจะเป็นผู้นำเชื้อมาสู่ผู้สูงอายุได้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุมีสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง ภูมิคุ้มกันลดลงตามวัย และบางรายอาจมีโรคประจำตัว จึงทำให้สามารถติดเชื้อได้ง่าย
คณะเศรษฐศาสตร์ ตระหนักในความสำคัญและมีความห่วงใยในสมาชิกในชุมชนและกลุ่มของผู้สูงอายุเป็นพิเศษ จึงได้จัดทำ เอกสารให้ความรู้แนวทางในการป้องการแพร่เชื้อโควิท-19 สู่ผู้สูงอายุ ในเบื้องต้นได้ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทาง facebook: PR ECON SWU ผ่านไลน์ผู้อำนวยการโรงพยาบาล รพ.สต. และผ่านไลน์ผู้ใหญ่บ้านชุมชน นอกจากนี้ยังได้จัดทำ Youtube และจัดทำแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 330 แผ่น จัดส่งไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเขตอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ซึ่งมีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก จำนวน 3 แห่ง ดังนี้
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านพรหมเพชร ตำบลโคกกรวด อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านบุ่งเข้ ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านเกาะกา ตำบลท่าเรือ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
การให้องค์ความรู้นี้ เป็นการมุ่งเน้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน ผ่านการกระตุ้นให้สมาชิกในชุมชนและผู้สูงอายุตระหนักว่า “ไม่มีใครจะดูแลเราได้ดีเท่ากับตัวเราดูแลตัวเอง” เพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต สมาชิกในชุมชนตระหนักถึงการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของตนเองและส่วนรวมมากขึ้น ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งเนื่องจากมีความรู้และสามารถพึ่งพาตนเองได้ สมาชิกในชุมชนและผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ ทำให้สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายและงบประมาณทางด้านสาธารณสุขจากการรักษาโรคของภาครัฐได้อีกทางหนึ่ง
1. Ban Phromphet Community, Khok Kruat Sub-district, Pak Phli District, Nakhon Nayok Province
If considering the proportion of the elderly per population in Khok Kruad Subdistrict, Pak Phli District, Nakhon Nayok Province, it was found that the proportion was as high as 30.90 percent. It is considered that this community has already entered the Aged Society level completely because there are more than 20 percent of the elderly per total population.
Place of distribution and public relations for the elderly, the guideline of Ban Phrom Phet District Health Promoting Hospital by following:
1) Promote through Line channels in the volunteer community and village groups in each group.
2) Attached at the public relations sign at Ban Phrom Phet, Subdistrict Health Promoting Hospital.
3) Leave each group for further promotion to achieve a wide distribution.
Social impact
A total of 1,961 residential members of Ban Phromphet community, of which approximately 606 elderly people are awake from information become more aware of personal and public health and hygiene This makes the community stronger because of knowledge and self-reliance.
Health Impact
From the COVID-19 data center on November 23, 2020, it found the proportion of patients 3,913 out of 66.5 million people in Thailand or equivalent to 0.01 percent. However, community members and seniors be careful to protect by themselves, strictly follow their own health and hygiene advice. There is a change in lifestyle behavior. Consequently, Community members and the elderly are in good physical and mental health. As a result, no patients or deaths were found from COVID-19, a residential area in Ban Phrom Phet, Khok Kruad Subdistrict, Pak Phli District, Nakhon Nayok Province.
Economic impact
Regarding, Thailand People can exercise their rights from the National Health Security System (gold card) which covers all expenses for treatment. The information of the Commission, Dr. Thaweesil Wissanuyothin, spokesman for the Coronavirus Disease Management Center 2019, provided information on April 24, 2020 that the state spent about 1 million baht per person on COVID-19 treatment. Therefore, if a total of 1,961 people in Ban Phromphet community are sick with COVID-19 It will cost the state budget of 1,961 million baht. However, there is no patient or death from COVID-19 housing in Ban Phrom Phet community. In other words, members and elders in the community have a strong body of knowledge, know how to care for oneself and whole. This self-care can help reduce public health costs and budgets from the treatment of disease approximately 1,961 million baht or 1 million baht per head.
2. Ban Bung Khae Community, Nong Saeng Sub-district, Pak Phli District, Nakhon Nayok Province
If considering the proportion of the elderly per population in Nong Saeng Sub-District, Pak Phi District, Nakhon Nayok Province, it was found that the proportion was as high as 37.10 percent, which is more than 28 percent. It represents the level of entry into the Super-Aged Society and the number of elderly people with chronic illness is up to 230 people, accounting for 28.75 percent of the total elderly.
Place of distribution and public relations for the elderly, the Ban Bung Khae, Subdistrict Health Promoting Hospital by following:
1) Promote through Line channels in the volunteer group, village group and leader.
2) Distribute publicity banners in the household Within the responsibility of Ban Bung Khae Subdistrict Health Promoting Hospital.
3) Distribute publicity banners at the community market.
Social impact
A total of 2,156 residential members of Ban Bung Khae community, of which approximately 800 elderly people are awake from information become more aware of personal and public health and hygiene This makes the community stronger because of knowledge and self-reliance.
Health Impact
From the COVID-19 data center on November 23, 2020, it found the proportion of patients 3,913 out of 66.5 million people in Thailand or equivalent to 0.01 percent. However, community members and seniors be careful to protect by themselves, strictly follow their own health and hygiene advice. There is a change in lifestyle behavior. Consequently, Community members and the elderly are in good physical and mental health. As a result, no patients or deaths were found from COVID-19, a residential area in Nong Saeng Subdistrict, Pak Phli District, Nakhon Nayok Province.
Economic impact
Regarding, Thailand People can exercise their rights from the National Health Security System (gold card) which covers all expenses for treatment. The information of the Commission, Dr. Thaweesil Wissanuyothin, spokesman for the Coronavirus Disease Management Center 2019, provided information on April 24, 2020 that the state spent about 1 million baht per person on COVID-19 treatment. Therefore, if a total of 2,156 people in Ban Bung Khae community are sick with COVID-19 It will cost the state budget of 2,156 million baht. However, there is no patient or death from COVID-19 housing in Ban Bung Khae community. In other words, members and elders in the community have a strong body of knowledge, know how to care for oneself and whole. This self-care can help reduce public health costs and budgets from the treatment of disease approximately 2,156 million baht or 1 million baht per head.
3. Ban Ko Ka Community, Tharee Subdistrict, Pak Phli District, Nakhon Nayok Province
If considering the proportion of the elderly per population in the Tha-rua Subdistrict, Pak Phli District, Nakhon Nayok Province, it was found that the proportion was 17.07 percent, which is more than 10 percent. It represents the level of entry into the aging society and the number of elderly people with chronic illness is up to 71 people, accounting for 23.35 percent of the total elderly.
Place of distribution and public relations for the elderly, Ban Koh Ka, Sub-District Health Promoting Hospital by following:
1) Public relations announcement of COVIT-19 prevention guidelines through the voice of the village.
2) Close the bulletin board at the temple board and the headman's office.
3) A meeting between the Director of the General Hospital, Village Headman and the volunteer group bring publicity signs to give advice to the elderly in order to the group of villagers that they take care and responsibility.
Social impact
A total of 1,780 residential members of Ban Koh Ka community, of which approximately 304 elderly people are awake from information become more aware of personal and public health and hygiene This makes the community stronger because of knowledge and self-reliance.
Health Impact
From the COVID-19 data center on November 23, 2020, it found the proportion of patients 3,913 out of 66.5 million people in Thailand or equivalent to 0.01 percent. However, community members and seniors be careful to protect by themselves, strictly follow their own health and hygiene advice. There is a change in lifestyle behavior. Consequently, Community members and the elderly are in good physical and mental health. As a result, no patients or deaths were found from COVID-19, a residential area in Ban Koh Ka, Tha-rua Subdistrict, Pak Phli District, Nakhon Nayok Province
Economic impact
Regarding, Thailand People can exercise their rights from the National Health Security System (gold card) which covers all expenses for treatment. The information of the Commission, Dr. Thaweesil Wissanuyothin, spokesman for the Coronavirus Disease Management Center 2019, provided information on April 24, 2020 that the state spent about 1 million baht per person on COVID-19 treatment. Therefore, if a total of 1,780 people in Ban Koh Ka community are sick with COVID-19 It will cost the state budget of 1,780 million baht. However, there is no patient or death from COVID-19 housing in Ban Koh Ka community. In other words, members and elders in the community have a strong body of knowledge, know how to care for oneself and whole. This self-care can help reduce public health costs and budgets from the treatment of disease approximately 1,780 million baht or 1 million baht per head.
Conclude
Providing knowledge on prevention of COVIT-19 transmission for community members and the elderly in the district of Pak Phli, Nakhon Nayok Province. There are 3 locations: 1) Ban Phrom Phet, Subdistrict Health Promoting Hospital, Khok Kruat Subdistrict, Pak Phli District, Nakhon Nayok Province, 2) Ban Bung Khae, Subdistrict Health Promoting Hospital, Nong Saeng Subdistrict, Pak Phli District, Nakhon Nayok Province and 3) Ban Koh Ka, Subdistrict Health Promoting Hospital, Tha-rua Subdistrict, Pak Phli District, Nakhon Nayok Province
Providing knowledge in this project, It focuses on building knowledge and understanding and giving importance to health care of the people of the community through encouraging members of the community and the elderly to realize that "No one will take care of us as well as ourselves." In order to enable community members and the elderly to modify their lifestyle become more aware of self and public health and hygiene. Because of community members are knowledgeable and able to rely on themselves causing strength in the community. Community members and the elderly are in good physical and mental health. This makes it possible to help reduce public health costs and budgets from the government's treatment of diseases. The impacts from the implementation of the project can be summarized in 3 areas: 1) Social impact, 2) Health impact, and 3) Economic impact as follows:
Social impact
The number of residential members in Ban Phromphet, Ban Bung Khae and Ban Ko Ka communities totaled 5,897 people, of which approximately 1,710 elderly people were alerted from the news. The community member become more aware of personal and public health and hygiene This makes the community stronger because of knowledge and self-reliance.
Health impact
Community members and seniors be careful to protect themselves by strictly follow their own health and hygiene advice. There is a change in lifestyle behavior. Community members and the elderly are in good physical and mental health. This causes no patients or deaths from COVID-19 residences in Ban Phromphet, Ban Bung Khae and Ban Ko Ka communities.
Economic impact
Thai people can exercise their rights in the National Health Security System (gold card) which covers all expenses for treatment. If 5,897 people in Ban Phromphet, Ban Bung Khae, and Ban Ko Ka communities are sick with COVID-19. It will cost the state the budget of 5,897 million baht. However, due to the absence of COVID-19 patients or deaths in the community housing, that is, it can help reduce public health costs and budgets from treatment of diseases approximately 5,897 million baht or 1 million baht per head.
1. ชุมชนบ้านพรหมเพชร ตำบลโคกกรวด อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
หากพิจารณาสัดส่วนจำนวนผู้สูงอายุต่อประชากรในพื้นที่ ตำบลโคกกรวด อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก พบว่า มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 30.90 นับว่าชุมชนแห่งนี้เข้าสู่ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากมีจำนวนผู้สูงอายุต่อจำนวนประชากรทั้งหมดมากกว่า ร้อยละ 20
จำนวนประชากร ตำบลโคกกรวด อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก พ.ศ. 2561
จำนวนประชากรที่พักอาศัยอยู่จริงทุกช่วงอายุ 1,961 คน
จำนวนประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป 1,188 คน
จำนวนประชากรที่มีอายุ 40 - 60 ปีขึ้นไป 622 คน
จำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 606 คน
จำนวนประชากรที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน 3,117 คน
สัดส่วนจำนวนประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปต่อประชากรที่อาศัยจริง ร้อยละ 60.58
สัดส่วนจำนวนประชากรที่มีอายุ 40-60 ปี ต่อประชากรที่อาศัยจริง ร้อยละ 31.71
สัดส่วนจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปต่อประชากรที่อาศัยจริง ร้อยละ 30.90
ที่มา : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรหมเพชร, 2561
สถานที่แจกและประชาสัมพันธ์ผู้สูงอายุ ตามแนวทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรหมเพชร คือ
1) ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางไลน์ ในกลุ่มอสม. และกลุ่มหมู่บ้านในแต่ละหมู่
2) ติดที่ป้ายประชาสัมพันธ์ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรหมเพชร
3) ฝากแต่ละหมู่ไปประชาสัมพันธ์ต่อ ๆ กันไป เพื่อให้เกิดการกระจายในวงกว้าง
ผลกระทบทางสังคม
สมาชิกที่พักอาศัยในชุมชนบ้านพรหมเพชร ทั้งสิ้น 1,961 คน ในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุ ประมาณ 606 คน เกิดการตื่นตัวจากการรับรู้ข่าวสาร ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของตนเองและส่วนรวมมากขึ้น ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งเนื่องจากมีความรู้และสามารถพึ่งพาตนเองได้
ผลกระทบทางสุขภาพ
จากศูนย์ข้อมูล COVID-19 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 พบสัดส่วนผู้ป่วย 3,913 คน จากประชากรในประเทศไทย 66.5 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.01 แต่เนื่องด้วยสมาชิกในชุมชนและผู้สูงอายุ มีความระมัดระวังในการป้องกันตนเอง ปฏิบัติตนตามคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและอนามัยของตนเองอย่างเคร่งครัด มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต สมาชิกในชุมชนและผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ ทำให้ปัจจุบันไม่พบผู้ป่วยหรือเสียชีวิตจาก COVID-19 ที่พักอาศัยในชุมชนบ้านพรหมเพชร ตำบลโคกกรวด อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก แม้แต่เพียงรายเดียว
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
เนื่องด้วยประเทศไทย ประชาชนสามารถใช้สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ซึ่งครอบคลุมดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษาให้หมด จากข้อมูลของศบค. โดยนพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ให้ข้อมูลไว้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2563 ว่า รัฐได้ใช้งบประมาณในการรักษาโรคโควิด-19 ประมาณ 1 ล้านบาทต่อคน ดังนั้น หากคนในชุมชนบ้านพรหมเพชร ทั้งสิ้น 1,961 คน ในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุ ประมาณ 606 คน ป่วยด้วยโรคโควิด-19 จะทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณในการรักษา แต่เนื่องด้วยไม่พบผู้ป่วยหรือเสียชีวิตจาก COVID-19 ที่พักอาศัยในชุมชนบ้านพรหมเพชร กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การที่สมาชิกและผู้สูงอายุในชุมชนมีองค์ความรู้ที่เข็มแข็ง รู้จักการดูแลตนเองและส่วนรวม ทำให้สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายและงบประมาณทางด้านสาธารณสุขจากการรักษาโรคของภาครัฐลงได้ 1,961 ล้านบาท หรือ 1 ล้านบาทต่อคน
2. ชุมชนบ้านบุ่งเข้ ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
หากพิจารณาสัดส่วนจำนวนผู้สูงอายุต่อประชากรในพื้นที่ ตำบลหนองแสง อำเภอปากพี จังหวัดนครนายก พบว่า มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 37.10 ซึ่งมากกว่าร้อยละ 28 แสดงถึงระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society) อีกทั้ง จำนวนผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังสูงถึง 230 คน คิดเป็นร้อยละ 28.75 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด
จำนวนประชากร ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก พ.ศ. 2561
จำนวนประชากร 2,156 คน
จำนวนผู้สูงอายุ 800 คน
จำนวนหลังคาเรือน 910 หลังคาเรือน
สัดส่วนจำนวนผู้สูงอายุต่อประชากร ร้อยละ 37.10
จำนวนเด็กแรกเกิด ถึง 6 ปี 123 คน
จำนวนผู้สูงอายุ ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง 230 คน
จำนวนสตรีตั้งครรภ์ 14 คน
จำนวนผู้สูงอายุ ที่ช่วยตนเองไม่ได้ 12 คน
จำนวนประชากรอายุ 40 ปีขึ้นไป 1,407 คน
จำนวนผู้พิการ 168 คน
ที่มา : ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย, 2561
สถานที่แจกและประชาสัมพันธ์ผู้สูงอายุ ตามแนวทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุ่งเข้ คือ
1) ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางไลน์ ในกลุ่มอสม. กลุ่มหมู่บ้านและผู้นำ
2) แจกป้ายประชาสัมพันธ์ในครัวเรือน ภายในเขตรับผิดชอบของรพ.สต. บ้านบุ่งเข้
3) แจกป้ายประชาสัมพันธ์ในตลาดนัดชุมชน
ผลกระทบทางสังคม
สมาชิกที่พักอาศัยในชุมชนบ้านบุ่งเข้ ทั้งสิ้น 2,156 คน ในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุ ประมาณ 800 คน เกิดการตื่นตัวจากการรับรู้ข่าวสาร ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของตนเองและส่วนรวมมากขึ้น ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งเนื่องจากมีความรู้และสามารถพึ่งพาตนเองได้
ผลกระทบทางสุขภาพ
จากศูนย์ข้อมูล COVID-19 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 พบสัดส่วนผู้ป่วย 3,913 คน จากประชากรในประเทศไทย 66.5 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.01 แต่เนื่องด้วยสมาชิกในชุมชนและผู้สูงอายุ มีความระมัดระวังในการป้องกันตนเอง ปฏิบัติตนตามคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและอนามัยของตนเองอย่างเคร่งครัด มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต สมาชิกในชุมชนและผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ ทำให้ปัจจุบันไม่พบผู้ป่วยหรือเสียชีวิตจาก COVID-19 ที่พักอาศัยในชุมชนบ้านบุ่งเข้ ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก แม้แต่เพียงรายเดียว
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
เนื่องด้วยประเทศไทย ประชาชนสามารถใช้สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ซึ่งครอบคลุมดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษาให้หมด จากข้อมูลของศบค. โดยนพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ให้ข้อมูลไว้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2563 ว่า รัฐได้ใช้งบประมาณในการรักษาโรคโควิด-19 ประมาณ 1 ล้านบาทต่อคน ดังนั้น หากคนในชุมชนบ้านบุ่งเข้ ทั้งสิ้น 2,156 คน ในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุ ประมาณ 800 คน ป่วยด้วยโรคโควิด-19 จะทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณในการรักษา แต่เนื่องด้วยไม่พบผู้ป่วยหรือเสียชีวิตจาก COVID-19 ที่พักอาศัยในชุมชนบ้านบุ่งเข้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การที่สมาชิกและผู้สูงอายุในชุมชนมีองค์ความรู้ที่เข็มแข็ง รู้จักการดูแลตนเองและส่วนรวม ทำให้สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายและงบประมาณทางด้านสาธารณสุขจากการรักษาโรคของภาครัฐลงได้ 2,156 ล้านบาท หรือ 1 ล้านบาทต่อคน
3. ชุมชนบ้านเกาะกา ตำบลท่าเรือ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
หากพิจารณาสัดส่วนจำนวนผู้สูงอายุต่อประชากรในพื้นที่ ตำบลท่าเรือ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก พบว่า มีสัดส่วนร้อยละ 17.07 ซึ่งมากกว่าร้อยละ 10 แสดงถึงระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) อีกทั้ง จำนวนผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังสูงถึง 71 คน คิดเป็นร้อยละ 23.35 ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด
จำนวนประชากร ตำบลท่าเรือ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก พ.ศ. 2559
จำนวนประชากร 1,780 คน
จำนวนผู้สูงอายุ 304 คน
จำนวนหลังคาเรือน 402 หลังคาเรือน
สัดส่วนจำนวนผู้สูงอายุต่อประชากร ร้อยละ 17.07
จำนวนเด็กแรกเกิด ถึง 6 ปี 86 คน
จำนวนผู้สูงอายุ ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง 71 คน
จำนวนสตรีตั้งครรภ์ 4 คน
จำนวนผู้สูงอายุ ที่ช่วยตนเองไม่ได้ 6 คน
จำนวนสตรีอายุ 35 ปี ขึ้นไป 599 คน
จำนวนผู้พิการ 35 คน
ที่มา : ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย, 2559
สถานที่แจกและประชาสัมพันธ์ผู้สูงอายุ ตามแนวทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกาะกา คือ
1) ประชาสัมพันธ์โดยการประกาศแนวทางการป้องกันโควิท-19 ผ่านเสียงตามสายของหมู่บ้าน
2) ปิดป้ายประกาศที่บอร์ด ที่วัด และที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน
3) ประชุมร่วมกันระหว่างผู้อำนวยการ รพ.สต. ผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มอสม. เพื่อให้กลุ่มอสม. นำแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ไปให้คำแนะนำแก่ผู้สูงอายุ ตามกลุ่มลูกบ้านที่ตนเองดูแลและรับผิดชอบ
ผลกระทบทางสังคม
สมาชิกที่พักอาศัยในชุมชนบ้านเกาะกา ทั้งสิ้น 1,780 คน ในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุ ประมาณ 304 คน เกิดการตื่นตัวจากการรับรู้ข่าวสาร ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของตนเองและส่วนรวมมากขึ้น ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งเนื่องจากมีความรู้และสามารถพึ่งพาตนเองได้
ผลกระทบทางสุขภาพ
จากศูนย์ข้อมูล COVID-19 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 พบสัดส่วนผู้ป่วย 3,913 คน จากประชากรในประเทศไทย 66.5 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.01 แต่เนื่องด้วยสมาชิกในชุมชนและผู้สูงอายุ มีความระมัดระวังในการป้องกันตนเอง ปฏิบัติตนตามคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและอนามัยของตนเองอย่างเคร่งครัด มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต สมาชิกในชุมชนและผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ ทำให้ปัจจุบันไม่พบผู้ป่วยหรือเสียชีวิตจาก COVID-19 ที่พักอาศัยในชุมชนบ้านบุ่งเข้ ตำบลท่าเรือ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก แม้แต่เพียงรายเดียว
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
เนื่องด้วยประเทศไทย ประชาชนสามารถใช้สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ซึ่งครอบคลุมดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษาให้หมด จากข้อมูลของศบค. โดยนพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ให้ข้อมูลไว้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2563 ว่า รัฐได้ใช้งบประมาณในการรักษาโรคโควิด-19 ประมาณ 1 ล้านบาทต่อคน ดังนั้น หากคนในชุมชนบ้านเกาะกา ทั้งสิ้น 1,780 คน ในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุ ประมาณ 304 คน ป่วยด้วยโรคโควิด-19 จะทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณในการรักษา แต่เนื่องด้วยไม่พบผู้ป่วยหรือเสียชีวิตจาก COVID-19 ที่พักอาศัยในชุมชนบ้านเกาะกา กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การที่สมาชิกและผู้สูงอายุในชุมชนมีองค์ความรู้ที่เข็มแข็ง รู้จักการดูแลตนเองและส่วนรวม ทำให้สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายและงบประมาณทางด้านสาธารณสุขจากการรักษาโรคของภาครัฐลงได้ 1,780 ล้านบาท หรือ 1 ล้านบาทต่อคน
สรุป
จากการให้ความรู้แนวทางในการป้องการแพร่เชื้อโควิท-19 ให้แก่สมาชิกในชุมชนและผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก จำนวน 3 แห่ง คือ 1) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านพรหมเพชร ตำบลโคกกรวด อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก 2) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านบุ่งเข้ ตำบลหนองแสง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก และ 3) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านเกาะกา ตำบลท่าเรือ อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก
การให้องค์ความรู้ในครั้งนี้ เป็นการมุ่งเน้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนผ่านการกระตุ้นให้สมาชิกในชุมชนและผู้สูงอายุตระหนักว่า “ไม่มีใครจะดูแลเราได้ดีเท่ากับตัวเราดูแลตัวเอง” เพื่อให้สมาชิกในชุมชนและผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของตนเองและส่วนรวมมากขึ้น เนื่องจากสมาชิกชุมชนมีความรู้และสามารถพึ่งพาตนเองได้ ก่อให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชน สมาชิกในชุมชนและผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ ทำให้สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายและงบประมาณทางด้านสาธารณสุขจากการรักษาโรคของภาครัฐได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งสามารถสรุปผลกระทบจากการดำเนินการโครงการฯ ได้ 3 ด้าน คือ 1) ผลกระทบทางสังคม 2) ผลกระทบทางสุขภาพ และ 3) ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ดังนี้
ผลกระทบทางสังคม
สมาชิกที่พักอาศัยในชุมชนบ้านพรหมเพชร บ้านบุ่งเข้ และบ้านเกาะกา ทั้งสิ้น 5,897 คน ในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุ ประมาณ 1,710 คน เกิดการตื่นตัวจากการรับรู้ข่าวสาร ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยของตนเองและส่วนรวมมากขึ้น ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งเนื่องจากมีความรู้และสามารถพึ่งพาตนเองได้
ผลกระทบทางสุขภาพ
จากศูนย์ข้อมูล COVID-19 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 พบสัดส่วนผู้ป่วย 3,913 คน จากประชากรในประเทศไทย 66.5 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.01 แต่เนื่องด้วยสมาชิกในชุมชนและผู้สูงอายุ มีความระมัดระวังในการป้องกันตนเอง ปฏิบัติตนตามคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและอนามัยของตนเองอย่างเคร่งครัด มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต สมาชิกในชุมชนและผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ ทำให้ปัจจุบันไม่พบผู้ป่วยหรือเสียชีวิตจาก COVID-19 ที่พักอาศัยในชุมชนบ้านพรหมเพชร บ้านบุ่งเข้ และบ้านเกาะกา แม้แต่เพียงรายเดียว
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
เนื่องด้วยประเทศไทย ประชาชนสามารถใช้สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ซึ่งครอบคลุมดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษาให้หมด หากคนในชุมชนบ้านพรหมเพชร บ้านบุ่งเข้ และบ้านเกาะกา ทั้งสิ้น 5,897 คน ในจำนวนนี้มีผู้สูงอายุ ประมาณ 1,710 คน ป่วยด้วยโรคโควิด-19 จะทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณในการรักษา แต่เนื่องด้วยไม่พบผู้ป่วยหรือเสียชีวิตจาก COVID-19 ที่พักอาศัยในชุมชน กล่าวคือ ทำให้สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายและงบประมาณทางด้านสาธารณสุขจากการรักษาโรคของภาครัฐลงได้ ประมาณ 5,897 ล้านบาท หรือ 1 ล้านบาทต่อคน